ควรดื่มวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 1,200 ซีซี
นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุข 9 กรมอนามัย ในฐานะโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 ถูกรุ่นพี่ทำโทษโดยให้ดื่มน้ำจนจุกแน่นหมดสติ ต่อมาเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ว่า
ร่างกายประกอบด้วยน้ำร้อยละ 70
ถือว่าน้ำเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับร่างกายร่วมกับอาหารทั้ง 5 หมู่ ร่างกายควรได้รับน้ำสะอาดวันละ 1,200 ซีซี หรือ 8-10 แก้ว หากดื่มน้ำน้อยกว่านี้ อาจเกิดภาวะสูญเสียน้ำถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น ร่างกายต้องได้รับน้ำอย่างเหมาะสม โดยน้ำต้มสุกมีความสะอาดที่สุด ส่วนน้ำดื่มบรรจุขวดควรเลือกที่มีตรา อย.
ด้าน รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ร่างกายได้รับน้ำปริมาณมากในเวลารวดเร็วทำให้เกิดภาวะน้ำเกินหรือน้ำเป็นพิษ เนื่องจากทำให้น้ำในเซลล์และนอกเซลล์ขาดความสมดุลกัน ส่งผลให้น้ำในเลือดสูง ความเข้มข้นของเลือดลดลง
ทำให้ร่างกายต้องปรับระบบให้สมดุล
โดยขับแร่ธาตุโปแตสเซียมออกจากเซลล์เพื่อปรับความสมดุลระหว่างน้ำในเซลล์และนอกเซลล์ อาการเตือนเมื่อเกิดภาวะแร่ธาตุโปแตสเซียมไม่สมดุลคือ เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง อ่อนหมดแรง ถ้าเกิดการเกร็งในสมอง ปอด หัวใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจ
รศ.ดร.ประไพศรี กล่าว
“ปริมาณน้ำมาก ๆ ที่ร่างกายรับเข้าไปจนเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ บอกชัดเจนไม่ได้ ถ้าคนดื่มน้ำเองสมองจะบอกว่า อิ่มแล้ว เริ่มจุก แต่การบังคับให้ดื่มน้ำ ถ้าเริ่มอ่อนเพลีย เกร็ง ถ้าหยุดรับน้ำเพิ่ม ร่างกายจะขับน้ำออก การดื่มมาก ๆ แต่ช้า ๆ ไม่เป็นอันตราย ไตขับน้ำออกทางปัสสาวะได้
ถ้าโหมใส่เข้าไปมาก ๆ เกินร้อยละ 10
ของปริมาณที่ร่างกายได้รับปกติมีโอกาสเกิดได้ แต่ว่าพบได้น้อยมากที่ดื่มน้ำมาก ๆ เร็ว ๆ แล้วเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ” รศ.ดร.ประไพศรี กล่าวและว่า ภาวะน้ำเป็นพิษ มีอาการเตือนคือ กล้ามเนื้อเกร็ง ตะคริว ส่วนภาวะแห้งน้ำหรือร่างกายขาดน้ำนั้น เป็นภาวะที่โปแตสเซี่ยมออกจากเซลล์พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยดื่มน้ำ
ขอบคุณที่มา สนุก.คอม