Advertisement
การนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ หรือเนื้อหาเรื่องราวที่เป็นสาระสำคัญต่าง ๆ ให้ผู้อื่นที่เป็นผู้ฟังหรือผู้ชมรับรู้และเข้าใจรวมทั้งมีความสุขกับการรับ ฟังด้วยแล้วนับว่าเป็นความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งของผู้นำเสนอหรือเป็นความดี งามของกระบวนการนำเสนอโดยรวมที่สร้างความนิยมและความชื่นชมให้กับผู้ฟังได้ มาก ทำให้ผู้นำเสนอกลายเป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ขึ้นได้ชั่วพริบตา
ปัญหา อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้แก่ การนำเสนอที่สร้างความเบื่อหน่ายและกลายเป็นการสร้างความไม่พอใจให้ผู้ฟัง เป็นอย่างมาก ซึ่งจะสามารถพบเห็นได้จากการนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นช่องทางของการนำเสนอเช่น ทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ในเวทีที่มีการอภิปราย ปาฐกถา แม้แต่ในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งในชั้นเรียนที่มีครู/อาจารย์เป็นผู้นำเสนอและผู้เรียนเป็นผู้ฟังก็ ยังเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เช่นกัน
การนำเสนอที่สร้างความเบื่อหน่ายทำให้ โอกาสเป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ที่มีผู้คนชื่นชอบชื่นชมจำนวนมากหายไป หรือ ผู้ที่เป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ที่มีผู้คนชื่นชอบจำนวนมากอยู่เป็นทุนแล้วเพราะมีฐานะทางสังคมที่ดี มีตำแหน่งหน้าที่การงานอันมีเกียรติก็ตาม อาจกลายเป็นดาวดับที่อับแสง และเต็มไปด้วยความไม่พอใจของผู้คน ถ้าเป็นในชั้นเรียนครู/อาจารย์ที่มีการสอนและนำเสนออย่างเบื่อหน่ายจะทำให้ นักเรียน/นักศึกษาไม่ชอบและไม่เคารพรักได้เช่นกัน
วิทยาการที่ใช้ เป็นหลักการและแนวทางของการนำเสนอที่ช่วยลดความเบื่อหน่ายและชวนให้น่า ติดตามนั้น นอกจากเทคนิควิธีและกระบวนการอื่น ๆ ที่มีนักวิชาการเขียนไว้เป็นตำราและเอกสารเกี่ยวกับเรื่อง "เทคนิคการนำเสนอ" จำนวนมากแล้ว ยังมีวิทยาการอีกสาขาวิชาหนึ่งที่มีนักวิชาการเขียนไว้เป็นตำราหรือเอกสาร น้อยมากคือ เรื่องของการออกแบบสาร (Message Design) ที่ดีและมีประสิทธิภาพสำหรับการนำเสนอ
การเตรียมการเพื่อ "การออกแบบสาร"
การออกแบบสารหมายถึง การจัดกระทำความรู้ ความคิด หรือเรื่องราวที่เป็นเนื้อหาสาระต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู หรือรับรู้ได้ด้วยสัมผัสต่าง ๆ และรวมทั้งที่เป็นรูปธรรม ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้สำหรับการนำเสนอผ่านสื่อให้ผู้อื่นรับรู้ รับทราบ หรือเรียนรู้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการออกแบบสารเพื่อการนำเสนอจึงมีความสัมพันธ์กับช่องทางของการนำเสนอ ซึ่งหมายถึง "สื่อ" ต่าง ๆ นั่นเอง สื่อแต่ละประเภท แต่ละชนิดมีหลักการและกระบวนการออกแบบสารที่ต้องการนำเสนอแตกต่างกัน
แต่ อย่างไรก็ตาม "การออกแบบสาร" มีหลักการพื้นฐานร่วมกันที่เป็นประเด็นสำคัญ และเป็นคำถามเบื้องต้นที่ผู้นำเสนอควรนำมาใช้สำหรับพิจารณาการออกแบบสารก่อน ทำการนำเสนอผ่านสื่อดังนี้
1. เมื่อท่านจะทำการนำเสนอ ท่านต้องการนำเสนอ สาระอะไร ให้กับผู้ฟัง หรือผู้ชมของท่าน ?
2. ผู้ฟัง หรือ ผู้ชม ของท่าน ต้องการรู้เรื่องอะไร จากการนำเสนอของ ท่าน ?
3. อะไรบ้างที่ท่านคาดว่าผู้ฟัง จะได้รับผิดพลาดไป จาก ความต้องการของพวกเขาในการนำเสนอของท่าน ?
ทั้ง 3 คำถามนี้ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่ย้อนไปย้อนมาเพื่อต้องการความมั่นใจว่าผู้นำ เสนอสารได้ตระหนักถึงประเด็นที่เป็นสาระสำหรับการนำเสนอ และสาระที่เป็นความต้องการของผู้ฟัง รวมทั้งความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นได้กับการนำเสนอของผู้นำเสนอและความคาด หวังที่ต้องการได้รับของผู้ฟัง
สาระอะไร เป็นการกำหนดจุด ประสงค์และเนื้อหาสำหรับการออกแบบสารที่จะนำเสนอ
ต้องการรู้ เรื่องอะไร เป็นการทราบว่าผู้ฟังต้องการรู้เรื่องอะไร การที่จะทราบความต้องการได้นั้นอาจต้องมีการสอบถามหรือสำรวจให้ทราบเป็นที่ แน่ชัดด้วย กระบวนการดังกล่าวมีขั้นตอน และวิธีการหลากหลาย แต่สุดท้ายต้องได้คำตอบว่า ผู้ฟังต้องการรู้เรื่องอะไรบ้างเพื่อนำไปตรวจสอบกับเนื้อหาและกำหนดจุด ประสงค์เพื่อการประเมินในประเด็นแรก
จะได้รับผิดพลาดไป การ ทบทวนและสอบทานคำตอบทั้ง 2 คำถามก่อนหน้านี้เพื่อสร้างความมั่นใจ และระมัดระวังประเด็นข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น จากการออกแบบสารในการนำเสนอ
แนวทาง การปฏิบัติ
การนำเสนอจำนวนไม่น้อยที่ผู้นำเสนอไม่ได้สนใจ หรือให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ฟัง และบ่อยครั้งที่ผู้นำเสนอได้นำเสนอสาระที่ไม่ตรงกับความคาดหวังและความ ต้องการของผู้ฟัง ชอบที่จะเสนอในสิ่งที่ตนเองต้องการนำเสนอเท่านั้นอาจเป็นเพราะยึดมั่นกับ ความถนัด ความสามารถหรือความรู้ที่ตนเองมีอยู่เป็นสำคัญ
ดังนั้นความ สำคัญของการนำเสนอจึงอยู่ที่ “ความสามารถนำเสนอให้ตรงกับความต้องการของ ผู้ฟัง” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของหลักการออกแบบสาร คือ การนำสารที่ตรงตามความต้องการของผู้ฟัง หรือ ผู้ชมมานำเสนอให้ได้ โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ค้นหาสาระที่เป็นความต้องการที่ผู้ฟังต้องการให้ได้ สิ่งที่ท่านคิดว่าสำคัญอาจไม่ตรงกับความคิดว่าสำคัญของผู้ฟัง
2. ยอมรับความแตกต่าง และความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในเนื้อหา สาระ และประเด็นที่จะนำเสนอในแต่ละครั้ง
3. จัดกระทำสาระที่จะนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถรับรู้ได้ เข้าใจได้อย่างชัดเจน และนำเสนอให้ครอบคลุมรอบด้าน
4. ให้ความสำคัญกับหลักการและกระบวนการใช้สื่อ การผลิตสื่อ การออกแบบสื่อที่เป็นภาพ กราฟิก ตัวอักษร สี รวมทั้งเสียงที่ใช้ ทั้งที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของส่วนประกอบที่นำเสนอในสื่อแต่ละ ประเภท และแต่ละชนิด
5. การอธิบายและขยายความในเรื่องที่ยากต่อการเข้าใจให้เป็นเรื่องที่ง่ายต่อการ เข้าใจ รวมทั้งการสร้างให้เกิดความสมดุล ถูกต้อง กับสาระที่มีความซับซ้อนหรือยากต่อการเข้าใจ กับ สาระที่ไม่ซับซ้อนหรือง่ายต่อความเข้าใจ
วิทยาการที่เกี่ยวกับการนำ เสนอนั้นเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายศาสตร์ มีความซับซ้อนทั้งในเชิงของหลักการและทฤษฎีการรับรู้ การเรียนรู้ ทฤษฎีการสื่อสาร และกระบวนการออกแบบสื่อ การออกแบบสาร และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการสร้างสื่อต่าง ๆ มีการศึกษาวิจัยในระดับสูงถึงระดับปริญญาเอก และหลังปริญญาเอกอีกด้วย
แต่ สำหรับการทำงานนำเสนอโดยทั่วไปแล้ว "การออกแบบสาร" น่าจะเป็นประเด็นที่ยังขาดการให้ความสำคัญและความเข้าใจในหลักการ ซึ่งข้อมูลในบทความเพียงเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการออกแบบสารเพื่อการนำเสนอ ได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ถ้าผู้นำเสนอได้ตระหนักและยินดีที่จะใช้หลักการออกแบบสารและวิธีการในบทความ นี้เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการนำเสนอ ท่านก็จะมั่นใจว่าผู้ฟัง หรือ ผู้ชมจะไม่เบื่อหน่ายกับการนำเสนอของท่านอีกต่อไป และนอกจากนั้น ท่านยังมีโอกาสเป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ที่มีผู้คนชื่นชอบและชื่นชมจำนวนมากอีกด้วย
ขอบคุณข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 11,701 ครั้ง เปิดอ่าน 6,230 ครั้ง เปิดอ่าน 39,603 ครั้ง เปิดอ่าน 10,831 ครั้ง เปิดอ่าน 817 ครั้ง เปิดอ่าน 12,247 ครั้ง เปิดอ่าน 8,646 ครั้ง เปิดอ่าน 17,584 ครั้ง เปิดอ่าน 2,874 ครั้ง เปิดอ่าน 14,617 ครั้ง เปิดอ่าน 12,258 ครั้ง เปิดอ่าน 13,134 ครั้ง เปิดอ่าน 19,434 ครั้ง เปิดอ่าน 13,777 ครั้ง เปิดอ่าน 16,066 ครั้ง เปิดอ่าน 22,849 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 5,516 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,590 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,083 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,073 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,225 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,389 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,809 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,266 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,202 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,070 ครั้ง |
|
|