ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ยาปฏิชีวนะ


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 17,388 ครั้ง
Advertisement

ยาปฏิชีวนะ

Advertisement

ยาปฏิชีวนะ เป็นยาซึ่งสกัดได้จากราพันธุ์ต่าง ๆ มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะมีหลายกลุ่ม ตัวอย่างเช่น กลุ่มเพนิซิลลิน อีรีโทรมัยซิน เตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล สเตรปโตมัยซิน นอกจากนี้ยาปฏิชีวนะยังรวมถึงยาที่สังเคราะห์ขึ้นตามกระบวนการทางเคมี เช่น ยาประเภทซัลโฟนาไมด์ เป็นต้น

 

ยากลุ่มเพนิซิลลิน เป็นยาปฏิชีวนะที่ได้จากเชื้อราชนิดหนึ่ง ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ เพนิซิลลิน จี เพนิซิลลิน วี และแอมพิซิลลิน อันตรายที่เกิดจากการใช้ยากลุ่มเพนิซิลลินจะเป็นไปในรูปของการแพ้ยา ซึ่งอาการแพ้ยาจะพบในการใช้ยาแบบฉีดและแบบทามากกว่าแบบรับประทาน
เพนิซิลลิน จี ใช้ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคเจ็บคอ หนองใน ปอดบวม บากทะยัก ฯลฯ อาการแก้ที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นลมพิษ ผื่นคันตามตัว แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หอบ ใจสั่น หน้ามืด บางคนอาจเกิดอาการช็อคได้
เพนิซิลลิน วี ใช้รักษาโรคติดเชื้อเช่นเดียวกับเพนิซิลลิน จี และอาการแพ้ก็เช่นเดียวกับเพนิซิลลิน จี คือ อาการลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หอบ ใจสั่น หน้ามืด เป็นต้น การกินเพนิซิลลิน วี ต้องรับประทานตอนท้องว่างคือ ก่อนรับประทานอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง
แอมพิซิลลิน ใช้รักษาโรคไข้รากสาดหรือไข้ทัยฟอยด์ คนไข้ที่มีประวัติแพ้เพนิซิลลินมาก่อน ห้ามใช้แอมพิซิลลินโดยเด็ดขาด อาการไม่พึงประสงค์เมื่อใช้แอมพิซิลลินคือ จะเกิดผื่นแดงตามตัวแต่ไม่คัน ไม่ต้องตกใจเพราะไม่ใช่อาการแพ้ยา
ยาอีริโทรมัยซิน อีริโทรมัยซินสเตียเรต อีริโทรมัยซินเอสโตเลต เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคคอตีบ ไอกรนและใช้แทนเพนิซิลลิน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาเพนิซิลลิน เมื่อกินยากลุ่มนี้อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องเดิน ถ้าฉีดเข้ากล้ามเนื้อในรูปของอีริโทรมัยซินเอสเตเลต โดยใช้ติดต่อกันนานประมาณ 10-20 วัน อาจทำให้ตับอักเสบได้
ยาในกลุ่มเตตราซัยคลิน เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคปอดบวมในผู้ใหญ่ อหิวาต์ บาดแผลหรือฝีที่ผิวหนัง ริดสีดวงตา ฯลฯ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล ตอกซีซัยคลิน ไมโนซัยคลิน

ข้อแนะนำและข้อห้ามการใช้ยาในกลุ่มเตตราซัยคลิน

1. ต้องรับประทานหลังอาหาร อย่ารับประทานช่วงท้องว่างหรือก่อนอาหาร เพราะยามีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน
2. ห้ามรับประทานยานี้ร่วมกับนมหรือยาลดกรด เพราะจะทำให้ลดการดูดซึมของยา
3. ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะจะทำให้กระดูกและฟันไม่เจริญและแข็งแรงเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังทำให้ฟันเป็นคราบสีเหลืองด่างดำไปตลอดชีวิต
4. หญิงมีครรภ์ไม่ควรใช้ยานี้ เพราะยาสามารถผ่านเข้าไปสู่เด็กทำให้ความเจริญทางสมองลดลง อาจพิการ หรือสติปัญญาเสื่อม และยังไปยับยั้งการเจริญเติบโตของกระดูกและฟันได้
5. หากยาหมดอายุห้ามใช้โดยเด็ดขาด เพราะจะมีพิษต่อไป ยาหมดอายุสังเกตได้จากสีของยา หากหมดอายุจะเปลี่ยนจากสีเหลืองนวลเป็นสีน้ำตาลเข้ม

 

เตตราซัยคลิน ใช้รักษาโรคปอดบวมในผู้ใหญ่อหิวาต์ บาดแผลหรือฝีที่ผิวหนัง ริดสีดวงตา เป็นต้น เตตราซัยคลินอาจทำให้เกิดอาการแพ้ยาคือ เป็นผื่นคันและทำให้เกิดอาการทางผิวหนังได้ง่ายเวลาถูกแสงแดด นอกจากนี้หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ยานี้ห้ามใช้กับเด็กในอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงมีครรภ์ และคนที่เป็นโรคตับ ข้อควรระมัดระวังอีกประการหนึ่งคือ ยาหมดอายุห้ามใช้เด็ดขาดเพราะเป็นอันตรายต่อไต

 

คลอแรมเฟนิคอล เป็นยาปฏิชีวนะประเภทหนึ่ง ใช้รักษาโรคไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย อาการแพ้ยาจะเกิดผื่นคันหรือมีไข้ได้ ข้อควรระวังห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ ห้ามใช้ในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งตับยังไม่เจริญเต็มที่และห้ามใช้พร่ำเพรื่อ เพราะอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางอะพลาสติก ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้

 

โรคโลหิตจางอะพลาสติก (Aplastic anemin) เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง อาจเกิดได้จากการที่ไขกระดูกถูกทำลายโดยยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ยาคลอแรมเฟนิคอล หรืออาจเกิดได้เองโดยธรรมชาติก็ได้ เมื่อไขกระดูกถูกกดทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ผู้ป่วยจึงมีอาการทำให้การสร้างเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และทำให้เกล็ดเลือดน้อยลง ผู้ป่วยมีโอกาสเลือดออกได้ง่าย อาจรุนแรงถึงตายได้ในที่สุด

 

อาการ เกรย์ ซินโดรม (Gray syndrome) เป็นอาการที่เกิดในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งตับยังไม่เจริญเต็มที่แล้วได้รับยาคลอแรมเฟนิคอลเข้าไป ยานี้โดยมากจะถูกทำลายในตับ เมื่อตับเด็กทารกยังไม่เจริญจะเป็นผลให้มียาคับคั่งในเลือดจนเกิดเป็นพิษได้ เด็กจะมีอาการอาเจียน ตัวเขียวหรือซีดเป็นสีเทา ร่างกายอ่อนปวกเปียก ความดันต่ำและหมดสติอาจถึงตายได้

 

สเตรปโนมัยซิน เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้รักษาเชื้อวัณโรค และใช้ทำลายแบคทีเรียในลำไส้ ปัจจุบันนี้ความนิยมในการใช้ยาตัวนี้ลดน้อยลง เพราะปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยา และเนื่องจากยาพวกนี้อาจทำให้เกิดอาการทางหูคือ เวียนหัว มึนงง และหูหนวกได้ (เนื่องจากยาไปทำลายเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8) และยังอาจเป็นพิษต่อไตได้ด้วย สำหรับอาการแพ้ยานั้น ผู้ใช้จะมีผื่นขึ้นตามผิวหนังและมีไข้

 

กานามัยซิน เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้รักษาเชื้อวัณโรคและหนองในและอาจใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหารได้ มีฤทธิ์และอาการไม่พึงปรารถนาคล้ายกับสเตรปโตมัยซินและกานามัยซินคืออาจทำให้หูหนวกซึ่งโดยมากเป็นแล้วไม่หาย มีพิษต่อไตและอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานได้

 

หลักการใช้ยาปฏิชีวนะทั่วไป
1. ควรใช้ยาที่แพทย์หรือเภสัชกรเป็นผู้สั่งเท่านั้น อย่าซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เองโดยเด็ดขาด
2. ผู้ป่วยต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เช่น ให้รับประทานเวลาใดเป็นเวลากี่วันก็ต้องปฏิบัติตามนั้น แม้ว่าโรคที่เป็นนั้นจะทุเลาแล้วก็ต้องใช้ยาให้หมดชุด
3. หากเกิดอาการแพ้ยา หรือมีอาการไม่พึงประสงค์อย่างใดให้ปรึกษาแพทย์อย่าทำตัวเป็นหมอเสียเอง

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


ยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน คืออะไรยาเพนิซิลลิน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การรักษาโรคตาแห้ง

การรักษาโรคตาแห้ง


เปิดอ่าน 16,324 ครั้ง
ขิงแก้ผมร่วง

ขิงแก้ผมร่วง


เปิดอ่าน 35,023 ครั้ง
ยิมนาสติก

ยิมนาสติก


เปิดอ่าน 38,452 ครั้ง
วิธีแก้อาการปวดหลัง

วิธีแก้อาการปวดหลัง


เปิดอ่าน 18,291 ครั้ง
กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?

กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?


เปิดอ่าน 35,483 ครั้ง
ประเภทของลูกเสือ

ประเภทของลูกเสือ


เปิดอ่าน 108,974 ครั้ง
ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะ


เปิดอ่าน 17,388 ครั้ง
วัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีด

วัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีด


เปิดอ่าน 23,258 ครั้ง
โปรตีนสำหรับนักกีฬา

โปรตีนสำหรับนักกีฬา


เปิดอ่าน 18,809 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?

กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?

เปิดอ่าน 35,483 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 17 การเล่นลูกจากประตู
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 17 การเล่นลูกจากประตู
เปิดอ่าน 115,334 ☕ คลิกอ่านเลย

การวิ่งเพื่อสุขภาพ (สุขศึกษา)
การวิ่งเพื่อสุขภาพ (สุขศึกษา)
เปิดอ่าน 38,167 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
เปิดอ่าน 146,874 ☕ คลิกอ่านเลย

โรคพยาธิตัวจี๊ด
โรคพยาธิตัวจี๊ด
เปิดอ่าน 33,085 ☕ คลิกอ่านเลย

ใบชะมวง ต้านมะเร็งและแบคทีเรีย
ใบชะมวง ต้านมะเร็งและแบคทีเรีย
เปิดอ่าน 15,586 ☕ คลิกอ่านเลย

สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
เปิดอ่าน 33,644 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไร
เปิดอ่าน 52,806 ครั้ง

ที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เปิดอ่าน 24,192 ครั้ง

Verb Tenses Continuous/Non-continuous Verbs
Verb Tenses Continuous/Non-continuous Verbs
เปิดอ่าน 39,548 ครั้ง

โลกออนไลน์แชร์ สุดยอดคุณครู! ตรวจการบ้านลูกศิษย์ละเอียดยิบ
โลกออนไลน์แชร์ สุดยอดคุณครู! ตรวจการบ้านลูกศิษย์ละเอียดยิบ
เปิดอ่าน 26,528 ครั้ง

ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?
ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?
เปิดอ่าน 24,768 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ