ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 11,988 ครั้ง
ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ

Advertisement

❝ การนอนหลับในอุดมคติคือ สามารถหลับได้ในเวลาอันรวดเร็ว หลับลึกต่อเนื่องเป็นเวลานาน และตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น แต่ความจริงมีน้อยคนที่จะโชคดีแบบนี้ เพราะคนส่วนใหญ่มีอัตราการตื่นเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อคืน ❞    การนอนหลับของคนเรานั้นมี 2 ช่วง คือ ช่วงหลับธรรมดา (Non-rapid eye movement sleep: NREM) ที่แบ่งย่อยได้ถึง 4 ระยะ และช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep: REM) รายละเอียดแต่ละช่วงมีดังนี้ค่ะ

ช่วงหลับธรรมดา

•ระยะที่ 1 หรือระยะหลับตื้น เป็นระยะที่ยังหลับไม่สนิท ครึ่งหลับครึ่งตื่น
•ระยะที่ 2 หรือระยะหลับจริง มักเกิดขึ้นภายใน 10 นาทีของการหลับตื้น ช่วงนี้อุณหภูมิร่างกายจะลดลง ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
•ระยะที่ 3 และ 4 หรือระยะหลับลึก เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ร่างกายจะฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สภาพทั่วไปขณะหลับจะมีแรงดันเลือดลดลง หายใจช้าลง รวมทั้งกล้ามเนื้อทำงานน้อยลงด้วย ผู้ที่หลับในระยะนี้มักจะตื่นยาก


ช่วงหลับฝัน

   การนอนหลับในระยะนี้จัดเป็นอีกช่วงเวลาสำคัญที่ร่างกายยังคงฟื้นฟูตัวเองต่อเนื่องจากช่วงที่แล้ว และเป็นระยะที่เราจะเกิดความฝัน สภาพทั่วไปขณะนี้จะมีการหายใจค่อนข้างไม่สม่ำเสมอ

   การนอนหลับ จะเป็นไปตามจังหวะสลับกันไปมา 4 รอบ ระหว่างหลับตื้นและหลับลึก กินเวลาเฉลี่ยรอบละราว 90-110 นาที โดยแบ่งเป็นหลับตื้น 75 เปอร์เซ็นต์และหลับลึกอีก 25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนช่วงหลับธรรมดากับหลับฝันนั้นจะสลับกันไปมาตลอดคืนเช่นกัน โดยคิดเป็นหลับธรรมดา 75 เปอร์เซ็นต์และหลับฝันเพียง 25 เปอร์เซ็นต์

นอนกรน VS หยุดหายใจขณะหลับ

   ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นผลต่อเนื่องจากการนอนกรน เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากอวัยวะในคอใหญ่เกินไป ไม่ว่าจะเป็นลิ้นใหญ่ ลิ้นไก่โต ต่อมทอนซิลโต หรือกล้ามเนื้อในลำคอผ่อนคลายมากเกินไป จากอายุที่เพิ่มขึ้นและจากไลฟ์สไตล์ที่ไม่ถูกต้อง เมื่อกล้ามเนื้อดังกล่าวตกลงไปไปปิดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ร่างกายต้องพยายามหายใจเข้าออกแรงกว่าปกติ โครงสร้างต่างๆ ในลำคอจึงสั่นสะเทือนกลายเป็นเสียงกรน ในรายที่ช่องทางเดินหายใจแคบมากๆ จะทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นช่วงๆ ได้

   มีหลายปัจจัยที่ทำให้คนเรานอนกรนและเผชิญภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ชาย เพราะแต่ละวันผู้ชายใช้พลังงานมากกว่าผู้หญิง จึงมีโอกาสหลับและกรนได้ง่ายกว่า รวมทั้งผู้ชายมักปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนเกิดโรคอ้วน มีไขมันสะสมจนทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบได้ รวมทั้งการสูบบุหรี่ที่ทำให้การพัดโบกของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจไม่ปกติ การดื่มเหล้าทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจบวม นอกจากนี้การใช้ยาบางตัวก็ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจได้ เช่น ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยารักษาภูมิแพ้ รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพของสรีระใบหน้าก็มีส่วนทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีกรามสั้น ลิ้นใหญ่คับปาก ต่อมทอนซิลโต ฝาปิดกล่องเสียงอยู่ผิดที่หรือโน้มเอียงไปข้างหน้า หรือคนที่มีโรคประจำตัวอย่างภูมิแพ้

   เมื่อมีภาวะนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ นั่นหมายความว่าหัวใจคุณต้องทำงานหนักในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองและส่วนต่างๆมากขึ้น จนอาจทำให้หัวใจโต เส้นเลือดทำงานหนักขึ้นเสี่ยงต่อการปริแตก ความดันโลหิตสูง เลือดข้นขึ้นเพราะออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ สมองขาดออกซิเจนทำให้ความจำเริ่มเสื่อม และที่คาดไม่ถึงคือ ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมตามไปด้วย แต่ที่มีผลกระทบให้เห็นมากที่สุด คือ ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน คงไม่สนุกแน่ ถ้าคุณต้องง่วงเหงาหาวนอนจนควบคุมตัวเองไม่ได้ตลอดวัน บางคนฟุบหลับขณะขับรถ บางคนหลับคาจานข้าว บางคนสมองเบลอจำอะไรไม่ได้ไปชั่วขณะ

   ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ หากคุณหยุดหายใจขณะหลับไม่เกิน 5 ครั้งต่อชั่วโมงจัดว่าเป็นน้อย ถ้าตัวเลขพุ่งสูงขึ้นไปถึง 15 ครั้งต่อชั่วโมงถือว่าเริ่มผิดปกติ และหากเกิดขึ้น 25 ครั้งต่อชั่วโมงขึ้นไปจัดว่าอยู่ในขั้นรุนแรง ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณอยู่ในระดับไหนนั้น ต้องไปทำ sleep test เพื่อหาความผิดปกติของการนอนหลับเบื้องต้น สำหรับคนที่มีแนวโน้มเกิดภาวะนี้อาจต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือทันสมัยล่าสุดที่เรียกว่า Polysomnography ซึ่งจะบอกประสิทธิภาพการนอนหลับว่าหลับได้ดีหรือหลับสนิทแค่ไหน มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นขณะนอนหลับบ้าง ใช้เวลาในการตรวจวัด 6-8 ชั่วโมง หรือตลอดการนอนหลับ 1 คืน

   ส่วนการรักษาโรคนี้มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุว่ากรนหรือหยุดหายใจขณะหลับเพราะอะไร บางคนเป็นเพราะสรีระในช่องปากผิดปกติ ก็อาจต้องผ่าตัด จี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงหรือใส่เครื่องมือเพื่อปรับสภาพโครงสร้างในช่องปากให้ปกติ หากสาเหตุเกิดจากความอ้วน คนไข้ต้องลดน้ำหนักและควบคุมอาหาร หากสาเหตุเกิดจากการใช้ยารักษาโรคบางตัว เช่น ยาแก้ภูมิแพ้ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการรักษา ส่วนคนที่เป็นไม่มาก ก็อาจดูแลตัวเองด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และเปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคง เป็นต้น

   อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ผู้ป่วยหลับสบายไร้เสียงกรน นั่นคือ การใช้เครื่องช่วยหายใจ (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) ลักษณะเป็นหน้ากากออกซิเจนครอบจมูก ที่จะช่วยปล่อยแรงดันลมเบาๆ เข้าสู่จมูกผู้ป่วยเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ เมื่อช่องหายใจไม่ถูกอุดกั้นจะทำให้ผู้ป่วยหลับสนิท ไม่กรนและไม่หยุดหายใจเป็นช่วงๆ เครื่องนี้มีหลายแบบหลายราคาและสามารถพกพาไปที่ต่างๆ ได้ ผู้ป่วยที่สนใจควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกเครื่องที่เหมาะสมกับคุณค่ะ
 

ขอบคุณข้อมูล : health&cuisine


ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับระวัง!หยุดหายใจขณะหลับ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

อะโวคาโด

อะโวคาโด


เปิดอ่าน 10,363 ครั้ง
ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ

ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ


เปิดอ่าน 50,908 ครั้ง
สมุนไพรช่วยลดความดัน

สมุนไพรช่วยลดความดัน


เปิดอ่าน 11,922 ครั้ง
ทำงานเกินกำลัง...ทำให้ป่วย

ทำงานเกินกำลัง...ทำให้ป่วย


เปิดอ่าน 9,454 ครั้ง
ผิวหน้าสวยด้วยแอปเปิ้ล

ผิวหน้าสวยด้วยแอปเปิ้ล


เปิดอ่าน 21,521 ครั้ง
วิธีใช้ "เขียง" ให้ปลอดภัย

วิธีใช้ "เขียง" ให้ปลอดภัย


เปิดอ่าน 4,052 ครั้ง
ทำไมเวลาเกา จึงหายคัน

ทำไมเวลาเกา จึงหายคัน


เปิดอ่าน 16,014 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เพลง "วันแม่"

เพลง "วันแม่"

เปิดอ่าน 54,368 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ระวัง! ท่านอาจจะทำร้ายสมองลูกโดยไม่รู้ตัว
ระวัง! ท่านอาจจะทำร้ายสมองลูกโดยไม่รู้ตัว
เปิดอ่าน 15,919 ☕ คลิกอ่านเลย

เชิญเข้าร่วมกิจกรรมอบรม "สิทธิผู้ใช้อินเทอร์เน็ตฯ..."
เชิญเข้าร่วมกิจกรรมอบรม "สิทธิผู้ใช้อินเทอร์เน็ตฯ..."
เปิดอ่าน 7,788 ☕ คลิกอ่านเลย

เปิดเลคเชอร์ของ น้องปราง ศิรดา เด็กเก่งคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุด ปี 2558
เปิดเลคเชอร์ของ น้องปราง ศิรดา เด็กเก่งคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุด ปี 2558
เปิดอ่าน 13,977 ☕ คลิกอ่านเลย

17 วิธี Refresh สุขภาพแบบฮอต ฮอต
17 วิธี Refresh สุขภาพแบบฮอต ฮอต
เปิดอ่าน 8,512 ☕ คลิกอ่านเลย

กินผลไม้พื้นบ้านต้านโรค
กินผลไม้พื้นบ้านต้านโรค
เปิดอ่าน 13,520 ☕ คลิกอ่านเลย

ชีวิตยิ่งใช้ ยิ่งได้กำไรกลับคืน
ชีวิตยิ่งใช้ ยิ่งได้กำไรกลับคืน
เปิดอ่าน 12,755 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
เปิดอ่าน 74,682 ครั้ง

ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 7 ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่ 3
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 7 ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่ 3
เปิดอ่าน 37,536 ครั้ง

มนัส บุญจำนงค์
มนัส บุญจำนงค์
เปิดอ่าน 14,896 ครั้ง

อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย "อ่านน้อย" จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้
อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย "อ่านน้อย" จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้
เปิดอ่าน 21,560 ครั้ง

"ย่านาง" ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
"ย่านาง" ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
เปิดอ่าน 22,481 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ