Advertisement
❝ ด้วยใจรักที่จะเป็นครู ผมจึงได้อาสาไปสอนหลายที่ เพื่อจะนำมาใช้เมื่อได้เป็นครูจริงๆ และขอขอบคุณทุกที่ที่ผมเอ่ยถึง ที่เปิดโอกาสให้ผมได้เข้าไปมีส่วนในการสอน ❞
ชีวิตครูของผม ตอน ประสบการณ์การสอนที่หลากหลาย
ตอนแรกที่จะเขียนก็คิดว่าจะแยกเรื่อง แต่ดูแล้วมันเป็นเรื่องสั้น ๆ ก็เลยมารวมเรื่องกันจะได้ไม่เสียเวลา หลังจากที่ผมลงเรียน มสธ. ก็คิดว่าควรจะหาประสบการณ์เพิ่มเติม โดยจริงๆ แล้ว มสธ. จะรับผู้ที่ทำการสอนหรือเป็นบุคคลากรทางการศึกษา เพื่อศึกษาต่อในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ โดยไม่มีการฝึกสอน เหมือนผุ้ที่เรียนครู ในสถาบันศึกษาอื่น ดังนั้นผมเองซึ่งก็สอนอยู่ที่ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อยู่แล้ว คิดว่ายังไม่พอ จึงทำเรื่องไปยังวิทยาลัยอาชีวศึกษา เพื่อขอฝึกสอน 1 เทอม ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี โดยทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย และพระพุทธศาสนา โดยทางวิทยาลัยจัดครูพี่เลี้ยงมาเพื่อแนะนำวิธีการ การเขียนแผน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ และการออกข้อสอบตามจุดประสงค์ เป็นอย่างไร ซึ่งได้เห็นของจริงว่าทำอย่างไร เพราะการที่สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ผมสอนในวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งรูปแบบจะเป็นแบบการสอนเสริมมากกว่า วิชาที่เน้นคือพุทธประวัติ ธรรม และศาสนพิธี ส่วนวิชาที่เหลือจะเน้นในสิ่งที่นำเรียนไม่เข้าใจ สำหรับการฝึกสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาทำให้ผมเข้าใจการจัดทำแผนการสอน การสอนต่าง ๆ ได้มากขึ้น การสอนก็ไม่มีอะไรที่เป็นพิเศษ เพราะมีครูพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา และนักศึกษาก็ให้ความเคารพในฐานะครูฝึกสอน หลังจากครบ 1 เทอมแล้ว ก็มีโอกาสที่ได้ไปเป็นอาจารย์พิเศษในวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ ที่ตรงนี้ก็ทำให้ได้รับประสบการณ์การสอนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เราจะต้องรู้จริงในเรื่องที่บรรยาย การสอนก็เรียนแบบผู้ใหญ่ ไม่เข้มงวดเหมือนการเรียนการสอนที่ผ่านมา แต่ก็มีมาตราฐานในการเรียนการสอน ผมได้รับมอบหมายให้สอนทั้งภาคปกติ และ กศ.บป. ก็ได้รับประสบการณ์การสอนในระดับผู้ใหญ่(ที่ทำงานแล้ว) และกลุ่มเด็กวัยรุ่น หลายคนบอกว่าเรียนเพียงเอาวุฒิ แต่จริง ๆ แล้ว การสอนก็เข้มข้นเหมือนกัน สำหรับผมก็ถือเอามาตรฐาน เพื่อจะไม่ให้ใครมาว่าภายหลังว่าจบแล้วไม่มีคุณภาพ ผมจึงสอนและประเมินตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด บางครั้งก็มีนักศึกษา กศ.บป. มาพูดแนว ๆ เรื่องเกรด ผมก็อธิบายให้ฟังถึงความจำเป็นที่ผู้ที่จบออกไปควรที่จะมีคุณภาพ และเป็นที่เชื่อถือในสถาบันว่ามีมาตรฐาน คนที่จบไปมีความรู้จริง ๆ ผมเองก็เคยได้ยินคนพูดแบบผู้ไม่รู้ อันนี้ขอเน้นนะครับว่าได้ยินจริง ๆ ว่าคนเรียนที่นี่ ถ้ามีเงินก็จบได้ เหมือนดูถูกว่าซื้อเอา แต่จริงๆ แล้ว ไม่เป็นดังนั้น เพราะผมได้มาสัมผัส และได้เห็นระบบของมหาวิทยาลัยราชภัฎ เค้ามีมาตรฐานจริงๆ แถมวิชาครูเนี่ยเข้มข้น เพราะจากที่เคยได้ร่วมงานกับนักศึกษาคุรุศาสตร์แล้ว ยอมรับว่าเก่งทุกคน และถูกสอนให้วางตัวเป็นครูได้อย่างเหมาะสมทีเดียว หลังจากที่สอนได้ 1 ปี ก็ถือว่าเสร็จสิ้นภารกิจ ถึงตอนนี้ก็มีโอกาสได้ร่วมสอนภาษาอังกฤษให้กับ กศน. ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อสอบยาก ก็ถือเป็นประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะการสอน กศน. จะพบนักศึกษาประจำกลุ่มเพียงแค่ 1 ครั้ง ผมก็อาสาเข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาประจำกลุ่มของศูนย์ประจำตำบลใกล้บ้าน ก็ต้องยอมรับว่าตำราของ กศน. เนื้อหาละเอียดมาก บางวิชาจะเน้นใน นักศึกษาค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเอง จะมีบางวิชาที่ต้องมีการอธิบายบทเรียน เช่นคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นต้น นักศึกษาที่มาเรียนก็มีทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่คือ ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ พอมาทำงานก็มาเรียนเพิ่มเติม น้อยคนที่เรียนในระบบไม่ไหว(อันนี้เคยถามบอกว่า เคย หนีเรียน มีครอบครัว ติดเที่ยว เป็นส่วนใหญ่) แล้วมาเรียน เพราะเริ่มเห็นว่า ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการประกอบอาชีพ แต่ก็ใช่ว่าจะจบกันหมดทุกคน บางคนก็ล้มเหลวในการเรียนใน ระบบ กศน.ก็มี สำหรับข้อสอบจะใช้ข้อสอบจากส่วนกลาง ทำให้เกิดปัญหาว่า นักศึกษาหลายศูนย์ สอบตกกันมาก เพราะมาตรฐานการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน แม้จะใช้ตำราเดียวกันก็ตาม บางศูนย์ก็มีการเรียนอย่างจริงจัง บางศูนย์ก็เน้นให้ทำแบบฝึกหัดส่ง เก็บคะแนน และบางศูนย์ครูต้องสอนทุกวิชา แต่ครูที่สอนก็ไม่ได้ถนัดในทุกวิชา วิชาไหนไม่ถนัดและมีนักศึกษาลงเรียน ก็ต้องสอน โดยเน้นให้ค้นคว้าด้วยตนเอง ทำให้เกิดปัญหาในการสอบ แต่จริง ๆ เคยเห็นนะว่า ครู กศน.เนี่ย เยี่ยมจริง ๆ ทำงานทุกชนิด ทุกอย่าง ท่าทางจะงานหนักจริง ๆ ถ้า กศน.จัดระบบใหม่ ทำมาตรฐานให้เหมือนกัน ผมว่าการเรียน กศน.ก็คงจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ชื่อเสียง กศน.ที่ผมได้ยิน จะไปเด่นในเรื่องวิชาชีพมากกว่า เช่น ทำขนม ฯลฯ ด้านวิชาสามัญ ยังมีความโดดเด่นในเรื่องข้อสอบที่ยากมาก ๆ ไม่แน่ถ้าผมลองสอบยังนึกไม่ออกจะได้คะแนนเท่าไหร่ แต่เท่าที่เคยทำก็เกือบเต็ม แต่ก็ยังมีที่ผมสอนเป็นที่สุดท้ายก่อนที่จำทำเรื่องโอนย้ายมาเป็นครู อันหลังนี้ประสบการณ์แยะ แล้วจะนำมาเล่าให้ท่านได้อ่าน
วันที่ 28 ต.ค. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,326 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,214 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 3,833 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,506 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,178 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,218 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,400 ครั้ง |
|
|