ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นี่ล่ะ..สังคมแรกของหนู


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 9,202 ครั้ง
นี่ล่ะ..สังคมแรกของหนู

Advertisement

❝ ลูกน้อยของเราเรียนรู้เกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างไร เด็กน้อยเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับการมีเพื่อนได้อย่างไร คำตอบทั้งหมดนี้อยู่ที่เรา..คนเป็นพ่อแม่นี่เองค่ะ ❞           เพราะเมื่อเป็นพ่อแม่ เราคือเพื่อนเล่นคนแรกของลูก เราจะกลายเป็นคนที่ลูกชื่นชอบมากที่สุด ลูกน้อยจะรู้สึกพอใจเมื่อได้ยินเสียงของเรา ได้เห็นหน้าของเรา ได้รับสัมผัสอันนุ่มนวลอบอุ่นจากมือของเรา และด้วยความช่วยเหลือของเรา ลูกน้อยจะสามารถทำความคุ้นเคยกับผู้อื่น และเริ่มสนุกในการคบหาสมาคมกับผู้อื่นต่อไปได้

          ทั้งหมดนี้เองคือจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านทักษะทางสังคมของลูกน้อย

เรียนรู้ในการตอบสนอง

          มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และแม้กระทั่งเด็กแรกเกิดก็เป็นสัตว์สังคมด้วยเช่นกัน ตั้งแต่ช่วงที่เกิดมาแรกๆ เด็กก็เรียนรู้ในการปรับตัวและตอบสนองต่อผู้คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้แล้ว

          ระหว่างขวบปีแรกของชีวิต นอกจากลูกน้อยจะพุ่งความสนใจไปที่การค้นหาว่าตัวเองทำอะไรได้บ้าง เช่น คว้าจับสิ่งของ คลาน นั่ง เดิน หรือทักษะอื่นๆ แล้ว ความสนใจอีกอย่างหนึ่งที่เด็กน้อยพุ่งเป้าไปสู่ก็คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ โดยเด็กสามารถที่จะเล่นสนุกกับคนอื่น ๆ ได้บ้าง แต่คนที่พวกเขาต้องการเห็นหน้าและชื่นชอบเป็นอันดับแรกคือพ่อแม่

          เด็ก ๆ ชอบให้พ่อแม่สัมผัส อุ้ม ส่งเสียงพูดคุย และยิ้มให้ และสังเกตดูสิคะว่าลูกจะเริ่มทดลองทำหน้าตาแบบต่าง ๆ ให้พ่อแม่เห็นอยู่เสมอ และสนุกสนานในการมองหน้าเราค่ะ ทั้งยิ่งสนุกมากกว่านั้นด้วยการเลียนแบบหน้าตาท่าทางของพ่อแม่ได้อีกด้วย ไม่เชื่อลองแลบลิ้นใส่ลูกดูสิคะ และคอยดูหน้าลูกให้ดี บางทีลูกจะแลบลิ้นตอบเราด้วยล่ะ

พ่อแม่คือเพื่อนเล่นที่ดีที่สุด

          สำหรับทารก จะใช้เวลาช่วงที่ตื่นเพื่อมองดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวของเขาบ้าง และเมื่อเริ่มยิ้มให้พ่อแม่ครั้งแรกได้ จากนั้นลูกก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสื่อสารด้วยการยิ้ม หรือจะเรียกว่า "พูดคุยด้วยรอยยิ้ม" แล้วลูกก็จะเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์กับเราด้วยการส่งยิ้มกรุยทางมาก่อนเสมอ พร้อมกับส่งเสียงอ้อแอ้มากับรอยยิ้มด้วย

          เมื่อโตขึ้นอายุสัก 4-5 เดือน ลูกน้อยจะเปิดตัวเองกับคนอื่น ๆ มากขึ้น เมื่อเห็นคนแปลกหน้าก็จะทักทายด้วยการส่งเสียงอ้อแอ้ หรือทำเสียงคิกคัก ๆ แต่อย่างไรก็ตามพ่อแม่ยังเป็นคนที่เด็กรู้สึกใกล้ชิดมากที่สุด และคนที่ลูกกระตือรือร้นในการมีปฏิสัมพันธ์ด้วยมากที่สุดก็ยังเป็นพ่อแม่ อยู่นั่นเอง ซึ่งนี่แสดงถึงสายสัมพันธ์อันแนบแน่นที่พ่อแม่ลูกมีต่อกันค่ะ

          ครั้นอวัยวะต่าง ๆ ของลูกทำงานได้ดีขึ้น เช่น เริ่มใช้มือคว้าจับได้ หันซ้าย หันขวาได้ หากช่วงนี้ลูกน้อยมีโอกาสได้พบกับเด็กคนอื่น ๆ เขาจะเริ่มให้ความสนใจ แต่เป็นความสนใจที่จำกัดมาก อาจจะเพียงแค่ชำเลืองมอง หรือพยายามจะคว้าจับเด็กอีกคน หรืออย่างมากก็แค่ส่งยิ้มให้ แล้วก็ส่งเสียงทักทายกัน แต่ที่น่ารักคือเด็ก ๆ จะส่งเสียงโต้ตอบกัน และพยายามเลียนแบบเสียงของอีกฝ่ายหนึ่งโต้ตอบกันค่ะ แต่ถึงอย่างไรเด็ก ๆ ในวัยนี้ก็ยังสนใจอยู่กับของเล่นตรงหน้ามากกว่าจะสนใจเพื่อนเล่นที่เป็นเด็ก ด้วยกัน

          ลองสังเกตดูสิคะ ถ้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ มาเล่นอยู่ใกล้ ๆ กัน เด็กทั้งสองจะง่วนอยู่กับของเล่นของตัวเอง แต่จะไม่เล่นด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพราะลูกช่วงวัยนี้ยังทุ่มเทความสนใจให้กับการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของตัวเองให้สมบูรณ์มากกว่าจะรู้สึกเอาใจใส่กับเพื่อนเล่นค่ะ

          แต่ถึงแม้เด็กวัยนี้จะยังไม่สนใจเพื่อนเล่นเป็นเด็กวัยเดียวกัน แต่พวกเขาก็ยังชอบเล่นกับคนในครอบครัว พ่อแม่ หรือคนที่เขาคุ้นเคย สรุปก็คืออย่างไรเสียพ่อแม่ก็ยังเป็นเพื่อนเล่นที่หนูชอบที่สุด เพราะหนูยังไม่สนใจอยากเล่นกับเด็กอื่นมากนักนั่นเอง

หนูกลัวคนแปลกหน้า

          ช่วงใกล้ ๆ จะครบขวบสิคะที่จะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับลูกของเรา เพราะเด็กน้อยจะเริ่มแสดงอาการเหมือนกับต่อต้านสังคมอยู่กลายๆ เช่น ลูกจะร้องไห้ทันทีเมื่อเราหายไปจากสายตา หรือไม่ก็จะรู้สึกวิตกกังวล ตื่นกลัวเมื่อพ่อแม่ส่งให้คนอื่นอุ้ม

          การที่ลูกมีอาการแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะกำลังเข้าสู่ช่วงกลัวการพรากจากพ่อแม่ ในราวอายุ 10-18 เดือน วัย นี้ลูกจะกีดกันทุกคนออกไปให้ห่างด้วยการแสดงความต้องการพ่อแม่อยู่เสมอ และจะรู้สึกทุกข์ใจมากถ้าพ่อแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ ร้องไห้จ้าเมื่อเราหายไปจากสายตา โดยสิ่งที่จะทำให้ลูกสงบลงได้ก็มีแต่การปรากฏตัวให้เห็นของพ่อแม่เท่านั้น

ช่วยลูกเรียนรู้ทักษะสังคม

          คำตอบของเรื่องนี้อยู่ที่ให้เวลาในการพูดคุยกับลูกให้มากที่สุด วิธีการคุยกับลูกก็คือให้ยื่นหน้าของเราเข้าไปมองหน้าลูกให้ใกล้ชิดมาก ๆ ระยะห่างประมาณ 7-8 นิ้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนแรกๆ ลูกจะชื่นชอบการไดัรับความใส่ใจเป็นพิเศษ และจะสนุกสนานในการทำหน้าตาต่าง ๆ โต้ตอบกับเรา

          นอกจากนี้อย่าลืมชวนให้ญาติ ๆ หรือเพื่อน ๆ มาเยี่ยมลูกและยื่นหน้าเข้าไปคุยกับลูกของเราอย่างใกล้ชิดแบบที่เราทำด้วยนะ คะ เด็กวัยนี้ชอบให้คนมาเยี่ยมค่ะ ไม่ว่าเด็กไม่ว่าผู้ใหญ่ หนูน้อยชอบหมด โดยเฉพาะถ้าคนที่มาเยี่ยมเข้าไปพูดคุยส่งเสียงทักทายกับเขาอย่างใกล้ชิด ลูกน้อยจะชอบมากทีเดียว

          แต่เมื่อถึงเวลาที่ลูกพัฒนาความรู้สึกกลัวคนแปลกหน้าขึ้นมาก็ไม่ต้องตกใจหรือ รู้สึกอับอายนะคะ เพราะพออายุประมาณ 7 เดือน ลูกจะรู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางคนแปลกหน้า ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดามาก

          ดังนั้นถ้าลูกร้องไห้มาก เมื่อเราส่งให้ญาติอุ้ม ควรเอาลูกคืนมาก่อน ในขั้นแรกควรอุ้มลูกเพื่อให้ลูกรู้สึกถึงความปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมแขน ให้ญาติพูดคุยและเล่นกับลูกในขณะที่เราอุ้มลูกอยู่ ให้ลูกรู้สึกคุ้นเคยก่อนแล้วจึงค่อย ๆ ส่งลูกให้กับญาติ โดยที่เรายังอยู่ใกล้ชิดลูกให้มาก

          และขั้นสุดท้ายพยายามหาทางออกไปจากห้องนั้นสัก 2-3 นาที และแอบดูว่าลูกเป็นอย่างไรบ้าง หากเพียงเราออกไปจากห้อง ลูกก็ร้องไห้แล้ว ให้ลองพยายามต่อไป โดยเข้า ๆ ออก ๆ จากห้องหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งในที่สุดลูกน้อยจะพัฒนาความรู้สึกปลอดภัยขึ้นมาได้ เพราะเขารู้ว่าถึงแม้เราจะไม่อยู่ในห้องในช่วงเวลานั้น แต่ไม่นานเราก็จะกลับเข้าไปหาเขา

          ควรใช้วิธีนี้ค่อย ๆ ทำให้ลูกคุ้นเคยกับญาติ ๆ หรือเพื่อน ๆ ของเราเป็นราย ๆ ไปนะคะ ซึ่งในที่สุดจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าคนแปลกหน้าไม่ได้น่ากลัว และพ่อแม่จะไม่หายไปไหน แต่จะกลับมาหาเขาเสมอค่ะ

          ด้วยความใกล้ชิดเอาใจใส่จากพ่อแม่ ซึ่งถือเป็นสังคมแรกของเด็ก ๆ นี้เอง ที่จะทำให้เด็กน้อยรู้สึกมีความสุข รู้สึกมั่นคงปลอดภัย ในที่สุดเด็ก ๆ จะค่อย ๆ เรียนรู้วิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อไหร่ก็ตามที่เด็ก ๆ เรียนรู้ว่า จะให้ความเห็นอกเห็นใจเด็กคนอื่นได้อย่างไร และรู้สึกสนุกสนานมากเพียงใดที่ได้มีเพื่อนเล่น ในตอนนั้นล่ะที่เขาจะพัฒนาความสามารถในการสร้างมิตรภาพที่แท้จริงและยั่งยืน กับคนอื่น ๆ ต่อไปค่ะ

ขอบคุณที่มา :: รักลูก


นี่ล่ะ..สังคมแรกของหนู

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หนอนไหม

หนอนไหม


เปิดอ่าน 15,270 ครั้ง
15 นาทีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

15 นาทีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น


เปิดอ่าน 8,865 ครั้ง
กินอย่างไรไม่ให้อ้วน

กินอย่างไรไม่ให้อ้วน


เปิดอ่าน 1,812 ครั้ง
รวมเมนูอาหารเจ

รวมเมนูอาหารเจ


เปิดอ่าน 13,540 ครั้ง
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม


เปิดอ่าน 14,187 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อาหารดีที่ควรมีติดบ้าน-ทานประจำทำสมองแล่น

อาหารดีที่ควรมีติดบ้าน-ทานประจำทำสมองแล่น

เปิดอ่าน 24,043 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
บั้งไฟพญานาค
บั้งไฟพญานาค
เปิดอ่าน 11,466 ☕ คลิกอ่านเลย

กูเกิลเจ๋งทดลอง"รถแห่งอนาคต Google Car "วิ่งได้เองบนท้องถนน
กูเกิลเจ๋งทดลอง"รถแห่งอนาคต Google Car "วิ่งได้เองบนท้องถนน
เปิดอ่าน 11,720 ☕ คลิกอ่านเลย

ประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มเกลือแร่
ประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มเกลือแร่
เปิดอ่าน 19,714 ☕ คลิกอ่านเลย

หาที่ฝึกงานยังไงให้โดนและมีโอกาสได้ทำงานต่อ
หาที่ฝึกงานยังไงให้โดนและมีโอกาสได้ทำงานต่อ
เปิดอ่าน 27,140 ☕ คลิกอ่านเลย

อยู่อย่างไรให้ห่างไกล มะเร็งเต้านม
อยู่อย่างไรให้ห่างไกล มะเร็งเต้านม
เปิดอ่าน 10,605 ☕ คลิกอ่านเลย

สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด
สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด
เปิดอ่าน 18,576 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำอย่างไรดี...คอเคล็ดพราะตกหมอน
ทำอย่างไรดี...คอเคล็ดพราะตกหมอน
เปิดอ่าน 19,505 ครั้ง

กำเนิดดวงดาว
กำเนิดดวงดาว
เปิดอ่าน 24,702 ครั้ง

แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 12,757 ครั้ง

"เพลงอีแซว" การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
"เพลงอีแซว" การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
เปิดอ่าน 20,364 ครั้ง

จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
เปิดอ่าน 14,312 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ