กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม
เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
กิจกรรม มีความสนุกสนานร่าเริง ( ด้านสุข )
ชื่อกิจกรรม ของเล่นเด็กไทย
จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม
1. เพื่อให้นักเรียนพัฒนาความสามารถและความคิดสร้างสรรค์
2. เพื่อให้นักเรียนพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก
3. ฝึกการปรับตัวร่วมเล่นกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สนุกสนานในการเล่น
4. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้คุณค่าของวัสดุในครัวเรือน
5. ฝึกหัดการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
6. นักเรียนรู้จักหาของเล่นเล่นได้อย่างปลอดภัย
7. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น
8. เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร
9. เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้สึกพึงพอใจ และมีความสุข
10. นักเรียนเกิดความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการสร้างความสมดุล
ของสมองซีกซ้ายและขวา
วิธีดำเนินการจัดกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียม
1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำกิจกรรมให้พร้อม
2. ครูจัดฐานกิจกรรม โดยแบ่งเป็น 4 ฐาน คือ เดินกะลา ม้าก้านกล้วย
หมากเก็บ ปืนก้านกล้วย
3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ๆ ละเท่า ๆ กัน
4. ครูจัดให้นักเรียนเข้าฐานทีละฐานทีละกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนร่วมทำกิจกรรม
ตามฐาน
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติ
ฐานเดินกะลา
1. ครูแนะนำนักเรียนดูภาพการเล่นเดินกะลา พร้อมทั้งสาธิตให้นักเรียนดู
วิธีเล่น เริ่มจากขึ้นไปยืนบนกะลาโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ใช้มือดึงตรงกลางเชือกเอาไว้ และเริ่มเดินได้
2. นักเรียนทดลองเล่น
3. ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเล่น และจดบันทึกข้อมูล
ฐานม้าก้านกล้วย
1. ครูแนะนำนักเรียนดูภาพการเล่นม้าก้านกล้วย พร้อมทั้งสาธิต นักเรียนดู
วิธีเล่น เริ่มจากขี่คร่อมม้าก้านกล้วย กำหนดจุดเริ่มต้น และเส้นชัยใครถึงเส้นชัยก่อนชนะ
2. นักเรียนลองเล่นวิ่งควบม้าแข่งกับเพื่อนๆ ใครจะถึงเส้นชัยก่อนกัน
3. ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเล่น และจดบันทึกข้อมูล
ฐานหมากเก็บ
1. ครูแนะนำนักเรียนดูภาพการเล่นหมากเก็บ พร้อมทั้งสาธิต นักเรียนดู วิธีเล่น
ขึ้นร้านเสี่ยงทายว่าใครเป็นผู้เริ่ม ขึ้นร้านคือการนำก้อนหินทั้ง 5 ก้อน โยนขึ้นแล้วใช้หลังมือรับแล้วโยนอีกครั้งแต่ใช้ฝ่ามือรับ ใครได้มากสุดจะเป็นผู้เล่นคนแรก
หมากที่ 1 หว่านหินลงพื้น แล้วหยิบขึ้นมา 1 ก้อนโยนขึ้น และหยิบก้อนหินทั้ง 4 ขึ้นทีละก้อนพร้อมทั้งรับก้อนหินที่โยนขึ้นให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่าตาย ถ้าขณะที่หยิบแล้วมือไปโดนหินก้อนอื่นก็ถือว่าตาย ต้องให้คนอื่นเล่นต่อ
หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 ก้อน
หมากที่ 3 เก็บ 3 ก้อน และ 1 ก้อน
หมากที่ 4 เก็บ 4 ก้อนแล้วขึ้นร้านนับคะแนน
2. นักเรียนทดลองเล่นหมากเก็บ
3. ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเล่น และจดบันทึกข้อมูล
ฐานปืนก้านกล้วย
1. ครูแนะนำนักเรียนดูภาพการเล่นปืนก้านกล้วย พร้อมทั้งสาธิต นักเรียนดู
วิธีเล่น นำปืนก้านกล้วย จับด้ามหักส่วนกรีดไว้นั้น หักขึ้นด้านบน แล้วใช้มือปัดให้หักลงแรง ๆ จะเกิดเสียงดัง
2. นักเรียนทดลองเล่นปืนก้านกล้วย
3. ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเล่น และจดบันทึกข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 สรุป
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปถึงการเล่นหรือการร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ ทุกคนต้องเล่นด้วยความระมัดระวังไม่เล่นของที่ทำให้เกิดอันตราย ต้องรู้จักแบ่งปันกัน ต้องรู้จักอดทน รอคอย รู้จักสามัคคีกันและเล่นตามกฎ กติกา จึงจะเล่นได้ด้วยความสุขสนุกสนาน
2. ครูกล่าวคำชมเชยทุกครั้งที่นักเรียนร่วมกิจกรรม
แบบสังเกตความฉลาดทางอารมณ์
กิจกรรม ( ด้านสุข ) สนุกสนานร่าเริง
คำแนะนำ ข้อความต่อไปนี้เป็นการอธิบายถึงอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมของนักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 โปรดใส่เครื่องหมาย “ P ” ในช่องที่ท่านคิดว่าตรงกับตัวนักเรียน
เกณฑ์การให้คะแนน
ระดับ 4 = เป็นประจำ หมายถึง ทำทุกครั้งเมื่อเกิดสถานการณ์นั้น
ระดับ 3 = เป็นบ่อยครั้ง หมายถึง ทำบ่อย ๆ หรือเกือบทุกครั้ง
ระดับ 2 = เป็นบางครั้ง หมายถึง นานๆ ครั้ง หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง
ระดับ 1 = ไม่เป็นเลย หมายถึง ไม่เคยปรากฏ
สังเกตอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรม ด.ช. / ด.ญ......................................................
ผู้สังเกต...................................................……………… วันที่…………………………
ข้อที่
|
รายการความรู้สึกและพฤติกรรม
|
ระดับคะแนน
|
4
|
3
|
2
|
1
|
1
|
ร่วมเล่นสนุกสนานกับคนอื่นๆ ได้
|
|
|
|
|
2
|
รู้จักค้นหาของมาเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน
|
|
|
|
|
3
|
ถึงแม้ไม่ได้เล่นก็สนุกกับการดูคนอื่นเล่นได้
|
|
|
|
|
4
|
เมื่อเห็นคนอื่นเล่นสนุกก็อยากเข้าไปเล่นสนุกด้วย
|
|
|
|
|
5
|
แสดงอารมณ์สนุกร่วมตามไปกับสิ่งที่เห็น เช่น ร้องเพลงกระโดดโลดเต้น หัวเราะเฮฮา
|
|
|
|
|
6
|
เก็บตัว ไม่เล่นสนุกสนานกับเด็กคนอื่นๆ
|
|
|
|
|
|
คะแนน
|
|
|
|
|
|
รวม
|
|