พยาธิใบไม้ในตับที่สำคัญมียู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ
- Clomorchis sinensis พบมากในจีน อินโดจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี
- Opisthorchis felineus พบมากใน ยุโรป ไซบีเรีย อินเดีย เวียตนาม เกาหลี
- Opisthorchis viverini
สำหรับประเทศไทย Opisthorchis viverini เป็นพยาธิใบไม้ที่สำคัญและทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับโดยตัวแก่อาศัยอยู่ในท่อน้ำดี พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยพบว่าคนเป็นโรคนี้สูงถึง 72-87%
วงจรชีวิต
พยาธิตัวแก่จะอาศัยในท่อน้ำดีของ คน แมวและสุนัขซึ่งเป็นโอสท์เฉพาะ พยาธิอาจจะอาศัยในถุงน้ำดี หรือท่อของตับอ่อน ไข่จะปนออกมากับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กและออกมาพร้อมกับอุจาระ . ถ้าถ่ายอุจาระลงในน้ำพวกหอยซึ่งเป็นโฮสท์กลางที่หนึ่ง (first intermediate host) จะกินไข่พยาธิ ภายในตัวหอยไข่จะฟักตัวเป็นตัวอ่อน miracidia , ซึ่งจะเจริญอีกหลายขั้นตอน (sporocysts , rediae , cercariae )ตามลำดับ Cercariae จะออกจากหอย และเข้าสู่ปลาน้ำจืดได้แกปลา แม่สะเด้ง ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาสูตร และปลากะมัง(second intermediate host), และเจริญเป็น metacercariae ในเนื้อปลา ซึ่งเป็นระยะติดต่อ เมื่อคนหรืสัตว์ที่เป็นโฮสท์เฉพาะรับประทานปลาดิบๆสุกๆ เช่น ก้อยปลา metacercariae จะออกจาก cyst เข้าสู่ลำไส้เล็ก และเคลื่อนที่เข้า ampulla of Vater สู่ท่อนน้ำดี และจะเจริญเป็นตัวแก่ และออกไข่ใน 3-4 สัปดาห์ .
ปลาผิวใบไผ่
|
ปลาสร้อยขวา
|
ปลากะมัง
|
ปลาตะเพียนขาว
|
กระสูบจุด
|
อาการ
ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกันได้ 4 แบบ
- ไม่มีอาการเลย เรารู้โดยการตรวจอุจาระพบไข่พยาธิในอุจาระ
- มีอาการอย่างอ่อน ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง จุกเสียด รู้สึกไม่ค่อยสบาย โดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา
- มีอาการแรงปายกลาง ผู้ป่วยมีการอักเสบของท่อน้ำดีร่วมด้วย อาจจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นติดต่อกันเรื่อยๆ ผู้ป่วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน แน่บริเวณลิ่มปี่ ท้องเดิน ตับโต
- มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยพวกนี้จะมรอาการรุนแรง มีโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นท่อน้ำดีอักเสบเป็นๆหายๆ ไข้สูง เบื่ออาหาร มีอาการเหลืองปานกลาง ตับโตกดเจ็บ ถ้ามีตับแข็งอาจจะมีม้ามโต
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคจะต้องอาศัยประวัติถิ่นที่อยู่ ลักษณะการรับประทานอาหาร และอาการเจ็บป่วย หากภูมิลำเนามาจากอีสาน และชอบรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ ก็ให้สงสัยไว้ก่อน
ภาพแสดงตัวแก่
|
ภาพแสดงตัวแก่ย้อมสี
|
การตรวจอุจาระก็จะตรวจพบไข่ของพยาธิ หากมีโรคแทรกซ้อนที่ตับอาจจะต้องตรวจโดยการส่องกล้องเข้าช่องท้องหรือการฉีดสีเข้าท่อน้ำดี
ภาพแสดงไข่ของพยาธิที่ตรวจจากอุจาระ
|
ระยะ cercaria ที่ออกจากหอย
|
metacercaria ที่อยู่ในเนื้อปลา
|
การรักษา
ใช้ยา ขนาด 50 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์
การป้องกัน
- ไม่รับประทานปลาดิบๆหรือสุกๆดิบๆ
- ถ่ายอุจาระให้ใช้ส้วม ไม่ถ่ายเรี่ยราดหรือถ่ายลงน้ำ
- ทำลายหอยที่เป็นโฮสท์กึ่งกลาง
ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/parasite/0pis/opis.htm