Advertisement
อ.ดวงรัตน์ ริยอง
มีการระบาดทั่วโลก พบมากในเขตร้อนซึ่งมีฝนตกชุกเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของพยาธิที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับพยาธิปากขอ จึงพบการแพร่กระจายโรคพยาธิปากขอและพยาธิเส้นด้ายอยู่ในบริเวณเดียวกัน คนที่เป็นโรคพยาธิปากขอเมื่อออกจากพื้นที่ที่มีโรคแล้วก็จะหายจากโรคในเวลาไม่กี่ปี แต่คนที่เป็นพยาธิเส้นด้ายมีการติดเชื้อนานกว่าเพราะเกิดการติดเชื้อในตัวเอง คนเป็นโฮสต์ที่สำคัญในวงจรชีวิตพยาธิตัวเต็มวัยฝังอยู่ในเยื่อบุผนังลำไส้เล็กและตอนบนของลำไส้เล็กส่วนกลาง นอกจากนี้อาจพบได้ตั้งแต่บริเวณท้ายกระเพาะอาหารและไส้ติ่ง
พยาธิเส้นด้ายมีลักษณะอย่างไร?
เป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เนื่องจากพยาธิสามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและแพร่พันธุ์ได้ทั้งในโฮสต์ และอยู่เป็นอิสระนอกร่างกายโฮสต์ พยาธิตัวเมียมีลำตัวเรียวเล็ก ปลายหางแหลม พยาธิตัวผู้ปกติไม่พบในอุจจาระ พยาธิตัวเต็มวัยอยู่ในลำไส้เล็กเมื่อตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กันตัวเมียออกไข่และไข่ฟักเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ทันทีในลำไส้ และปะปนออกมาพร้อมกับอุจจาระอยู่ในดิน เมื่อ ตัวอ่อนระยะที่ 1 ลงสู่พื้นดินจะเจริญเติบโตมีการลอกคราบเป็น ตัวอ่อนระยะที่ 2 และตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ จะติดต่อเข้าสู่คนโดยการไชผ่านผิวหนังเป็นส่วนใหญ่หรืออาจปนเปื้อนไปกับอาหารและน้ำดื่มเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเข้าสู่กระแสโลหิตไปยังหัวใจ และปอด บางส่วนจะเจริญเติบโต และลอกคราบไปเป็นตัวเต็มวัยระยะอ่อนในปอด บางส่วนไปยังลำไส้มีการลอกคราบครั้งสุดท้าย เจริญเป็นพยาธิตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์ และออกไข่ต่อไป
การติดเชื้อจากภายในร่างกาย
เกิดจากตัวอ่อนระยะที่ 1 ทั้งหมดหรือบางส่วนที่อยู่ในลำไล้ลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ได้ในลำไส้ และสามารถไชผ่านผนังลำไส้เล็กส่วนปลาย และสำไส้ใหญ่เข้าสู่กระแสเลือดทำให้พยาธิเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ โดยที่ไม่ได้รับเชื้อใหม่เพิ่มเข้ามาอีก
การติดเชื้อจากภายนอกร่างกาย
เกิดจากพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 1 ที่ออกมาในอุจจาระและมีพยาธิบางส่วนติดค้างอยู่ที่ผิวหนังบริเวณรอบๆ ทวารหนัก ตัวอ่อนระยะที่ 1 มีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 และไชผ่านผิวหนังบริเวณนั้นเข้าสู่กระแสเลือดทำให้พยาธิเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้โดยไม่ต้องลงไปฟักตัวเป็นระยะติดต่อในดินแต่พยาธิได้ออกมาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกแล้วโดยพยาธิออกมาอยู่บนร่างกายแล้วนั่นเอง
มีอาการสำคัญอย่างไร
ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไชผ่านผิวหนังเข้าไปทำให้เกิดอาการคันและมีผื่นแดง บางครั้งตัวอ่อนไม่สามารถเดินทางไปยังปอดได้สำเร็จ จึงเดินทางอยู่บริเวณผิวหนังทำให้เกิดรอยนูนคดเคี้ยว เรียกอาการเช่นนี้ว่า creeping eruption เมื่อตัวอ่อนเดินทางมาถึงปอด ทำให้เกิดแผลในปอดมีจุดเลือดออก และมีอาการอักเสบ (pneumonitis) ร่วมกับอาการไอและมีไข้ อาการในผู้ป่วยทั่วไปมีได้ตั้งแต่ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง จนกระทั่งการย่อยและการดูดซึมของอาหารผิดปกติ ถ้ามีพยาธิจำนวนมากผนังลำไส้อาจถูกไชจนพรุนคล้ายรังผึ้ง ทำให้ลำไส้เกิดเน่าเป็นขุยหลุดออกไปเป็นแผลใหญ่ได้ ทำให้เลือดออกในลำไส้ ลำไส้ทะลุ ผู้ป่วยที่สุขภาพอ่อนแอมาก เช่น ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาพวกสเตียรอยด์ ทำให้เกิดการติดเชื้อในตนเอง มีพยาธิเพิ่มจำนวนมากมายในร่างกาย พยาธิไชผนังลำไส้เข้าอวัยวะภายในทั่วร่างกายเกิดการแพร่กระจายไปยังตับ ตับอ่อน หัวใจ ไต หรือระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคพยาธิเส้นด้าย
การตรวจอุจจาระเพื่อหาตัวอ่อนระยะที่ 1 และ 2 โดยวิธี direct smear แต่ถ้ามีพยาธิจำนวนน้อยการตรวจแบบเข้มข้น (concentration method) จะได้ผลดีกว่า การตรวจน้ำย่อยหรือเสมหะอาจพบตัวอ่อนได้
เป็นแล้วจะทำการรักษาได้อย่างไร
กินยา Thiabendazole หรือ Albendazole
จะมีวิธีป้องกันอย่างไร
สวมรองเท้าที่ปกปิดเพื่อป้องกันตัวอ่อนติดต่อไชเข้าผิวหนัง ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะและมีอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการกระจายของไข่พยาธิ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธินี้แก่ประชาชนในชุมชนใน ผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิต้องรักษาให้หายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพยาธิ
ข้อมูลจาก ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Advertisement
เปิดอ่าน 14,901 ครั้ง เปิดอ่าน 19,408 ครั้ง เปิดอ่าน 24,755 ครั้ง เปิดอ่าน 308,999 ครั้ง เปิดอ่าน 22,151 ครั้ง เปิดอ่าน 26,021 ครั้ง เปิดอ่าน 34,139 ครั้ง เปิดอ่าน 13,572 ครั้ง เปิดอ่าน 22,562 ครั้ง เปิดอ่าน 28,510 ครั้ง เปิดอ่าน 18,252 ครั้ง เปิดอ่าน 17,836 ครั้ง เปิดอ่าน 16,711 ครั้ง เปิดอ่าน 19,201 ครั้ง เปิดอ่าน 18,469 ครั้ง เปิดอ่าน 26,897 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,673 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 28,369 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 51,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,313 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,133 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,771 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,474 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 33,851 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,761 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,055 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,274 ครั้ง |
เปิดอ่าน 107,768 ครั้ง |
|
|