เกริ่นนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทยไปจากเดิมมาก พณฯ ปองพล อดิรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้สรุปรวมการเปลี่ยนแปลงได้ 5 ด้าน หรือเรียกว่า “ปัญจปฏิรูป” คือ
1. การปฏิรูประบบการศึกษา
2. การปฏิรูปการเรียนรู้
3. การปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษา
4. การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
5. การปฏิรูปทรัพยากร
จะ เห็นได้ชัดเจนว่า การปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นหน้าที่ของโรงเรียนโดยตรง ครูทุกคนสามารถปฏิบัติการได้ทันทีโดยยึดหลักการสำคัญที่กำหนดไว้ในพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 คือ
การยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ(ม.22)
ให้สอดคล้องกับกับหลักสูตรแกนกลางและความต้องการของท้องถิ่น(ม.27)
การบูรณาการการเรียนรู้(ม.23)
การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ม.27)
ข้าพเจ้า ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และเป็นครูผู้สอน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ช่วงชั้นที่ 1) และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ช่วงชั้นที่ 2) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โรงเรียนชุมชนวัดปากตรังในปีการศึกษา 2546 (เริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษา) จึง ได้นำแนวทาง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลายๆวิธีที่เคยปฏิบัติ มาบูรณาการ ให้เหมาะสมกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2546 ธรรมชาติลักษณะวิชาวิทยาศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางสังคมของโรงเรียนชุมชนวัดปากตรัง โดยใช้รูปแบบงานวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผสมผสานกับการบูรณาการ (Integration) การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบ CIPPA Model หรือ การใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Centered) ซึ่งมีพ่อแม่ผู้ปกครอง (Parent) เป็นผู้สอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองถนัดให้แก่นักเรียน ในรูปแบบของ บ้านเรียน (Home School) นั่นเอง ซึ่งผู้เรียนซึ่งเป็นบุตรหลานต้องใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง ในแต่ละกระบวนการเรียนรู้หนึ่งๆ
เกริ่นนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทยไปจากเดิมมาก พณฯ ปองพล อดิรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้สรุปรวมการเปลี่ยนแปลงได้ 5 ด้าน หรือเรียกว่า “ปัญจปฏิรูป” คือ
1. การปฏิรูประบบการศึกษา
2. การปฏิรูปการเรียนรู้
3. การปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษา
4. การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
5. การปฏิรูปทรัพยากร
จะ เห็นได้ชัดเจนว่า การปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นหน้าที่ของโรงเรียนโดยตรง ครูทุกคนสามารถปฏิบัติการได้ทันทีโดยยึดหลักการสำคัญที่กำหนดไว้ในพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 คือ
การยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ(ม.22)
ให้สอดคล้องกับกับหลักสูตรแกนกลางและความต้องการของท้องถิ่น(ม.27)
การบูรณาการการเรียนรู้(ม.23)
การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ม.27)
ข้าพเจ้า ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และเป็นครูผู้สอน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ช่วงชั้นที่ 1) และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ช่วงชั้นที่ 2) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โรงเรียนชุมชนวัดปากตรังในปีการศึกษา 2546 (เริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษา) จึง ได้นำแนวทาง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลายๆวิธีที่เคยปฏิบัติ มาบูรณาการ ให้เหมาะสมกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2546 ธรรมชาติลักษณะวิชาวิทยาศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางสังคมของโรงเรียนชุมชนวัดปากตรัง โดยใช้รูปแบบงานวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผสมผสานกับการบูรณาการ (Integration) การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบ CIPPA Model หรือ การใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Centered) ซึ่งมีพ่อแม่ผู้ปกครอง (Parent) เป็นผู้สอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองถนัดให้แก่นักเรียน ในรูปแบบของ บ้านเรียน (Home School) นั่นเอง ซึ่งผู้เรียนซึ่งเป็นบุตรหลานต้องใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง ในแต่ละกระบวนการเรียนรู้หนึ่งๆ