Advertisement
❝ ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านปลั๊กไฟตามบ้าน ❞
ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านปลั๊กไฟตามบ้าน
ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านปลั๊กไฟตามบ้าน
นายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวระหว่างพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ “ความร่วมมือการทดลองเชิงพาณิชย์เพื่อให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า” ว่า เบื้องต้นการทดลองให้บริการบรอด แบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าจะมุ่งนำร่องกลุ่มอาคารสำนักงาน, คอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์ หอพัก และโรงแรม ในกรุงเทพฯ ก่อน เนื่องจากมีความพร้อมเรื่องของการต่อท่ออินเทอร์เน็ตเข้าตัวอาคาร
ความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. 2550-31 ต.ค. 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณภาพการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า (Broadband over Power Line : BPL) โดยใช้อินเทอร์เน็ตในบริการ HiNet ของ กสท ซึ่ง กสท มีหน้าที่จัดหา และติดตั้งอุปกรณ์ Head end เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนบริษัท อีคอมเมิซฯ รับผิดชอบในส่วนจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เพื่อนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตกระจายไปยังจุดต่าง ๆ ของอาคาร โดยผ่านทางสายไฟฟ้า 220 โวลต์
นายพิศาล กล่าวว่า ขณะนี้ได้ทดลองให้บริการที่อาคารพาร์คแลนด์ เรสิเด้นซ์ รองเมือง ซึ่งมีทั้งหมด 208 ห้อง ของบริษัท นารายณ์ พร็อพเพอตี้ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2550 ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั้งหมด 21 ราย และมีผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ หลังจากนี้ กสท จะเดินหน้าตั้งบริษัทลูกร่วมกับบริษัท อีคอมเมิซฯ เพื่อดำเนินธุรกิจการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า โดย กสท จะถือหุ้น 49% เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
นายวินิจ คำสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีคอมเมิซ บีสเน็ซ จำกัด (ECB) กล่าวว่า เทคโนโลยีสำหรับให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้ามีมานานราว 20-30 ปีที่แล้ว ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในอเมริกาและยุโรป โดยเกิดจากความพยายามที่จะให้สายไฟฟ้าในบ้านมี ประโยชน์มากกว่าให้ไฟฟ้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วงแรกเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตในความเร็วที่ต่ำ แต่ปัจจุบันพัฒนาให้สามารถใช้งานกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้
“ก่อนหน้านี้บริษัท อีคอมเมิซฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ทางด้านการสื่อสารฯ และการเงินการธนาคาร โดยหันมาทำธุรกิจเกี่ยวกับพาวเวอร์ไลน์ หรือบริการบรอดแบนด์อิน เทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าได้ประมาณ 4-5 ปี เพราะเห็นว่าเป็นแนวโน้มการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ “ปลั๊ก แอนด์ เพลย์” หรือเพียงเสียบก็เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งขณะนี้นอกจากร่วมกับ กสท แล้ว อีคอมเมิซฯร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ทดลองให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, ภูเก็ต, ขอนแก่น, ปทุมธานี และพัทยา” นายวินิจ กล่าว
สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า ผู้ใช้ไม่ต้องมีคู่สายโทรศัพท์พื้นฐาน และไม่ต้องขอคู่สายโทรศัพท์พื้นฐานเพื่อการใช้งานเทคโนโลยีนี้ เพียงแค่เสียบสายโมเด็ม เข้ากับปลั๊กไฟฟ้า และต่อสาย แลนเข้ากับพอร์ตแลนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายไฟฟ้าได้ โดยช่วงแรก กสท เปิดให้บริการ 2 ความเร็ว คือ 1 เมกะบิต/จุด ราคา 580 บาท และ 2 เมกะบิต/จุด ราคา 900 บาท
ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 17 ล้านครัวเรือน มีโทรศัพท์บ้านใช้ 3 ล้านครัวเรือน ซึ่งการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าจะช่วยให้การสื่อสารทั่วถึง เพราะไฟฟ้าเข้าถึงประชากร 14 ล้านครัวเรือน
ส่วนความกังวลใจที่ว่าถ้าให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านปลั๊กไฟฟ้าจะทำให้ความเร็วในการใช้งานน้อยลงเหมือนการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ผ่านสายโทรศัพท์หรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของ กสท อธิบายว่า ความเร็วของบรอดแบนด์ผ่านสายไฟฟ้าเป็นความเร็วเฉพาะผู้ใช้งานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตภายในอาคารนั้น ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนแบนด์วิธที่ติดตั้งเพื่อให้บริการบรอด แบนด์ในอาคาร รวมทั้งการให้บริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) แต่ละรายด้วย
อ่านถึงตรงนี้แล้ว คนที่สนใจกระโดดเข้าร่วมใช้บรอดแบนด์อย่าเพิ่งดีใจ เพราะบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้ายังไม่เปิดให้บริการตามบ้าน ขอย้ำ! ว่าจะเริ่มนำร่องเฉพาะอาคารสำนักงาน, คอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์ หอพัก และโรงแรม ในกรุงเทพฯ ก่อนขยายการให้บริการไปยังต่างจังหวัด โดยอนาคตมีโครงการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าไปตามบ้านด้วย แต่นับนิ้วรอไปก่อน
ส่วนเจ้าของคอนโดฯ, หอพัก และ อพาร์ตเมนต์ ที่กำลังสร้างใหม่ หากสนใจติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า สามารถติดต่อมาที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ โดย กสท จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติของตัวอาคารอีกครั้ง
สำหรับคอนโดฯ, หอพัก และอพาร์ต เมนต์เก่าที่สนใจให้บริการดังกล่าว กสท ระบุคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้ คือ ต้องมีระบบไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน และมีห้องพักอย่างน้อย 30 ห้อง ประมาณ 3 ชั้น เพื่อความคุ้มทุน โดย กสท จะเป็นผู้พิจารณาและตรวจสอบ
เจ้าของอาคารที่พักคนไหนสนใจต้อง รีบหน่อย แว่วว่าเจ้าของอาคารไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการให้บริการครั้งนี้ แถมยังได้ส่วนแบ่งจากการให้บริการอีก 15% โดย กสท จะเป็นผู้ลงทุนทุกอย่าง เพียงแต่เจ้าของอาคารต้องเจียดพื้นที่เป็นห้องควบคุมระบบบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าเท่านั้นเอง
ต่อไปนี้ไม่ต้องง้อโทรศัพท์บ้านก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้แล้ว.
ข่าว : เดลินิวส์
วันที่ 22 ต.ค. 2551
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 8,224 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,446 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 67,384 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,204 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,144 ครั้ง |
เปิดอ่าน 49,813 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,332 ครั้ง |
|
|