Advertisement
วิศนุ ทรัพย์สุวรรณ เล่าไว้ใน ต่วย'ตูนพิเศษ ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า
ประเทศไทยนำครุฑมาใช้เป็นตราประจำแผ่นดินหรือพระราชลัญจกรมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากครุฑจะปรากฏอยู่ตามสถานที่ราชการ เอกสารราชการ ธนบัตร แล้วที่อาคารบริษัทห้างร้านใหญ่ ๆ บางแห่งก็มีรูปครุฑและข้อความว่า “โดยได้รับพระบรมราชานุญาต” ประดับอยู่ เรียกกันว่า “พระครุฑพ่าห์”
หรือเครื่องหมายตราตั้ง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเกียรติภูมิอันสูงสุดที่น้อยรายจะได้รับ
การขอพระราชทานตราตั้งนี้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในสมัยนั้นใช้ตราแผ่นดินชนิดที่เป็นตราอาร์มหรือตรารูปโล่แต่ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๖
พระองค์ทรงเปลี่ยนมาใช้ตราครุฑแทน เครื่องหมายตราตั้งในยุคนั้นจึงแปรเปลี่ยนเป็นรูปครุฑด้วยเช่นกัน
สำหรับระเบียบการขอพระราชทานตราตั้งนี้ มีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๖
ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งระบุว่า
“ผู้ที่จะได้รับพระราชทานตราตั้งนั้น จะต้องอยู่ในฐานะนิติบุคคล หรือได้จดทะเบียนแล้วโดยชอบด้วยกฎหมาย
มีฐานะการเงินดี เป็นที่น่าเชื่อถือแก่มหาชนมาช้านาน ประกอบการค้าขายโดยสุจริต ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม
ไม่มีหนี้สินรุงรัง นอกจากนี้ยังต้องเคยติดต่อกับกรมกองต่าง ๆ ในราชสำนักมาก่อน"
เมื่อทำเรื่องขอพระราชทานแล้ว ก็สุดแล้วแต่จะมีพระราชดำริเช่นไร หากได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ออกหนังสือตราตั้งให้
จนถึงวันนี้ (ข้อมูลปี พ.ศ. ๒๕๔๑) มีบริษัทห้างร้านเอกชนที่ได้รับพระราชทานตราตั้งแล้วทั้งสิ้น ๖๔ แห่ง
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
http://www.sarakadee.com/feature/2000/01/108.htm
Advertisement
เปิดอ่าน 13,793 ครั้ง เปิดอ่าน 58,468 ครั้ง เปิดอ่าน 11,089 ครั้ง เปิดอ่าน 25,743 ครั้ง เปิดอ่าน 9,566 ครั้ง เปิดอ่าน 16,020 ครั้ง เปิดอ่าน 9,680 ครั้ง เปิดอ่าน 15,565 ครั้ง เปิดอ่าน 1,675 ครั้ง เปิดอ่าน 36,367 ครั้ง เปิดอ่าน 22,077 ครั้ง เปิดอ่าน 12,804 ครั้ง เปิดอ่าน 3,182 ครั้ง เปิดอ่าน 16,627 ครั้ง เปิดอ่าน 9,161 ครั้ง เปิดอ่าน 8,642 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 44,896 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,380 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,007 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,984 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,705 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 675 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 26,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,201 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,091 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,326 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,939 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,406 ครั้ง |
|
|