เชาวน์ปัญญาคืออะไร
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
คำว่าเชาว์นปัญญามีผู้เรียกแตกต่างกันไปเช่น ภูมิปัญญา สติปัญญาหรือไอคิว (I.Q.) ในปัจจุบันเรื่องนี้เป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวาง เรามาดูกันซิว่าคืออะไร
เชาวน์ปัญญา
หมายถึงความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะสมและความสามารถในอันที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและมีคุณค่าทางสังคม สามารถคิดอย่างมีเหตุผลสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการของเชาวน์ปัญญา
เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่บุคคลแต่ละคนมีติดตัวมาแต่กำเนิดและพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามระดับอายุและสิ่งแวดล้อมเชาวน์ปัญญาของแต่ละคนจะมีลักษณะที่สูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หลายอย่าง เช่น
- พันธุ์กรรมที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อมาจากพ่อแม่ คนเราจะมีเชาวน์ปัญญาดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับพันธุ์กรรม 80% สิ่งแวดล้อม 20%
- ความสมบูรณ์ของสมองและระบบประสาท
- สิ่งแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้น และส่งเสริมให้บุคคลได้มี โอกาสเรียนรู้เช่น
o พ่อแม่ที่เอาใจใส่พูดคุยกับลูก ลูกจะเรียนได้ดีและช่วยให้มีเชาวน์ปัญญาดี
o การให้ความรักและความอบอุ่น การยอมรับ การเลี้ยงดูอย่างมีเหตุผล ที่เหมาะสม มีผลต่อสุขภาพจิตดีและมีอิทธิพลต่อเชาวน์ปัญญา เมื่อเด็กได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นมูลฐานดังกล่าวแล้วเขาก็พร้อมที่จะพัฒนาความสามารถของเขาอย่างเต็มที่
o ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูลูกแบบทนุถนอมปกป้องเหมือนไข่ในหิน จะทำให้พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กช้าลง
o การมีหนังสือดีๆให้อ่านตามความเหมาะสมของแต่ละวัยจะช่วยในการพัฒนาเชาวน์ปัญญา
o การท่องเที่ยว ชมสถานที่น่าสนใจ จะเป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ในด้านต่างๆ ช่วยให้เด็กรู้จักคิด สังเกต และแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- อายุ ระดับอายุที่พัฒนาการของเชาวน์ปัญญาถึงขั้นสูงสุดคือระหว่างอายุ 15-25 ปี เชาวน์ปัญญาเมื่อพัฒนาถึงขั้นสูงสุดจะค่อยๆเสื่อมลงตามวัย แต่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แทบสังเกตไม่ได้ การเสื่อมของเชาวน์ปัญญา ในแต่ละด้านอาจเสื่อมเร็วและช้าไม่เท่ากัน
- เพศ เพศชายมักมีความสามารถทางด้านการคำนวณ ถนัดทางกลไก การกระทำที่ใช้ไหวพริบ และความรวดเร็วดีกว่าหญิง ส่วนเพศหญิงมักมีความคล่องแคล่วในการใช้มือ งานที่ต้องใช้ฝีมือ ลายละเอียด การใช้ภาษาความสามารถทางภาษา ความจำ
- เชื้อชาติ เด็กลูกผสมมักจะมีเชาวน์ปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ใช่ลูกผสมความผิดปกติ ทางสมอง อาจมีผลต่อการเสื่อมลงของเชาวน์ปัญญา ก่อนเวลาอันสมควร เช่นเนื้องอกในสมอง ลมชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
ระดับเชาวน์ปัญญา
การจัดระดับเชาวน์ปัญญาเป็นเพียงการแสดงการเปรียบเทียบให้ทราบว่าบุคคลหนึ่ง มีความสามารถอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยสูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับอายุ เมื่อเทียบกับบุคคลที่อยู่ในระดับอายุเดียวกัน
ระดับเชาวน์ปัญญาได้จากคะแนนที่มาจากการทดสอบเชาวน์ปัญญาด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา ซึ่งมีอยู่หลายชนิดเพื่อให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับผู้รับการทดสอบ มีทั้งแบบทดสอบเพื่อดูความสามารถพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง และความสามารถทั่วไปหลายๆด้านรวมกัน
ผลการทดสอบอาจให้คะแนนเป็นตัวเลข เช่น ไอคิวหรือ คะแนนที่มีความหมายบอกระดับความสามารถ เช่น เกรด และอายุสมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีคำนวณหาค่าที่แสดงถึงระดับเชาวน์ปัญญา ซึ่งแตกต่างกันไปในทางทดสอบแต่ละแบบ
ไอคิว
เป็นตัวเลขที่ได้จากการทดสอบเชาวน์ปัญญากับคะแนน เฉลี่ยที่คาดว่าผู้ถูกทดสอบสมควรจะทำได้ ตามระดับอายุที่แท้จริง วิธีคำนวณค่าไอคิวในการทดสอบเชาวน์ปัญญา แต่ละแบบขึ้นอยู่กับลักษณะแบบทดสอบและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ฉะนั้น ไอคิวจะเป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าบุคคลนั้นมีระดับเชาวน์ปัญญาอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นในระดับอายุเดียวกัน
เชาวน์ปัญญาของคนเราจะเพิ่มขึ้นตามวัยในเรื่องของคุณภาพทั้งนี้ เนื่องจากเรามีโอกาสได้เรียนรู้กิจกรรมและแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น แต่เมื่อทดสอบเชาวน์ปัญญาคะแนนที่ได้เพิ่มขึ้นจะต้องนำไปเปรียบเทียบกับอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย
ตัวแปรบางอย่างมีอิทธิพลทำให้ผลการทดสอบเชาวน์ปัญญาหรือค่าของไอคิวในการทดสอบเชาวน์ปัญญาแต่ละครั้ง คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลงหรือไม่คงที่ ตัวแปรดังกล่าวอาจมีได้หลายประการเช่นในระหว่างการทดสอบ มีสาเหตุที่ทำให้ผู้ถูกทดสอบใช้ความสามารถได้ไม่เต็มที่จากการ ที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิต อารมณ์เครียด ขาดแรงจูงใจและไม่มีสมาธิในการทดสอบขาดความชำนาญในการทดสอบหรือใช้แบบทดสอบไม่ถูกต้อง เป็นต้น
เชาวน์ปัญญา เป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้น ส่งเสริมให้พัฒนาได้ ถ้าพ่อแม่มีความเข้าใจเด็กและช่วยกระตุ้น ส่งเสริมพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาเชาวน์ปัญญาของเขาเท่าที่มีอยู่อย่างเต็มที่
ระดับเชาวน์ปัญญากับความสามารถรับการศึกษา ประกอบอาชีพและการปรับตัว
130 ขึ้นไป
|
ฉลาดมาก
|
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาเอก
|
120-129
|
ฉลาด
|
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาโท
|
110-119
|
สูงกว่าปกติหรือค่อนข้างฉลาด
|
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาตรี หรือมีโอกาส จบมหาวิทยาลัยได้
|
90-109
|
ปกติหรือปานกลาง
|
เป็นไอคิวเฉลี่ยของประชากรปกติ ส่วนใหญ่มีความสามารถปานกลางเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายได้
|
80-89
|
ต่ำกว่าปกติหรือปัญญาทึบ
|
เชาวน์ปัญญาต่ำที่สามารถรับการ ศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเรียนช้าๆ
|
70-79
|
ระดับเชาวน์ปัญญาก้ำกึ่ง ระหว่างปัญญาทึบกับปัญญาอ่อน
|
และประกอบอาชีพประเภทช่างฝีมือได้
|
50-69
|
ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
|
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-10 ปี อาจพอรับรู้การศึกษาได้ ในระดับประถมต้น ป.1-ป.4 โดยเรียนอยู่ในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียน การศึกษาพิเศษเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องความรับผิดชอบสูง หรืองาน ประเภทช่างฝีมือง่ายๆ
|
35-49
|
ปัญญาอ่อนปานกลาง
|
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก อายุ 4-7 อาจอ่านเขียนได้เล็กน้อย แต่เรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถเรียน ในโรงเรียนปกติได้ ควรเรียน ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสมอาจพอดูแลตนเองในชีวิต ประจำวันได้ และทำงานง่ายๆภายใต้การควบคุมดูแล
|
20-34
|
ปัญญาอ่อนมาก
|
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 3 ปี เรียนหนังสือไม่ได้ มีความบกพร่องเห็นได้ชัดในพฤติกรรม การปรับตัวและอาจมีพัฒนาการบกพร่องในด้านภาษาการรับรู้ การดำรงชีวิต ต้องอยู่ภายใต้การดูแล เช่นเดียวกับเด็กเล็ก
|
ต่ำกว่า 20
ลงไป
|
ปัญญาอ่อน มากที่สุด
|
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 1-2 ปี ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องมีผู้ให้การดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
|
เชาว์ปัญญากับความสำเร็จ
การที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียน การประกอบอาชีพต่างๆ นอกจากจะต้องมีเชาว์ปัญญาดีแล้วจะต้องอาศัย องค์ประกอบอื่นๆด้วยเช่น
o ความมุมานะพยายาม มีความอดทน
o มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั่วไป และมีคุณธรรม
o มีสุขภาพจิตดี และมีพื้นฐานทางบุคลิกภาพที่มั่นคง
o สภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมอย่างเหมาะสม ฯลฯ
ดังนั้นจะเห็นว่าบางคนมีเชาวน์ปัญญาดีแต่อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตหรือมีปัญหาการเรียน เนื่องจากขาดองค์ประกอบที่เหมาะสมดังกล่าว ข้างต้น เพราะฉะนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรมุ่งเน้น ส่งเสริมแต่เฉพาะในเรื่องการเรียนหรือเชาวน์ปัญญาของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่ควรควบคุมไปกับการ ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางสังคม การปรับตัว ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ตลอดจนการอบรมเลี้ยงดู ให้มีพื้นฐานทางบุคลิกภาพที่มั่นคงร่วมด้วยก็จะช่วยให้เขาประสบความสำเร็จตามความสามารถของเชาวน์ปัญญาที่เขามีอยู่
จะเห็นว่าการเติบโตของเชาวน์ปัญญาไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่ สิ่งแวดล้อม วิธีการอบรมเลี้ยงดูโอกาสในการเรียนรู้ตลอดจนภาวะสุขภาพ
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,405 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,193 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง