ชื่อนวัตกรรม รายงานการใช้หนังสือสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบง
ชื่อผู้ศึกษา นางสุกัญญา สุขเส็ง
ความสำคัญ
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางทางภาษาของเด็กปฐมวัย จากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยการใช้หนังสือสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จากตัวละครในนิทานที่เป็นตัวแบบพฤติกรรมและบุคลิกภาพของเด็กให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมที่หลากหลาย เด็กได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จากแผนการจัดประสบการณ์ ของโรงเรียนบ้านห้วยบง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา การฟังเรื่องราว การสนทนาโต้ตอบ
2. เพื่อส่งเสริมทักษะการพูด การกล้าแสดงออก
3. เพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้นำ – ผู้ตาม
4. เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์หาเหตุผล แก้ปัญหา
5. เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
6. เพื่อให้เด็กได้ศึกษา ค้นคว้า ตามความสนใจได้จากมุมหนังสือ
ตัวแปรต้น
การเล่านิทานจากหนังสือสำหรับเด็ก
ตัวแปรตาม
การพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบงมีพัฒนาการทางภาษาสูงขึ้น
ขอบเขตการศึกษา
เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 ห้องมีนักเรียน 12 คน
วิธีดำเนินการศึกษา
1. กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านห้วยบง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้อง
มีจำนวนนักเรียน 12 คน โดยการใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มเป้าหมาย
2. การออกแบบการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงทดลองกับนักเรียน จำนวน
1 ห้อง จำนวน 12 คน กลุ่มเดียว โดยการสังเกตพฤติกรรม
3. เครื่องมือที่ใช้ในการทำการศึกษา มี 3 ประเภท ดังนี้
3.1 แผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ จำนวน 65 แผน
3.2 นวัตกรรมที่ใช้ในครั้งนี้คือ หนังสือสำหรับเด็ก มีขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป
3.2.1 ขั้นนำ ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวเรื่องนิทาน แล้วนำภาพนิทานที่เตรียมไว้มาให้เด็กดู แล้วใช้คำถามเกี่ยวกับเรื่องในนิทานที่จะเล่า
3.2.2 ขั้นสอน ครูเล่านิทานประกอบภาพให้เด็กฟัง พร้อมกับใช้คำถามจากเนื้อเรื่องในนิทาน จากนั้นให้เด็กออกมาเล่านิทานให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน
3.2.3 ขั้นสรุป ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาในนิทาน ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการฟังนิทาน
3.3 เครื่องมือประเมินผล มีดังนี้
3.3.1 แบบสังเกตพฤติกรรม
3.3.2 แบบสอบถามความพึงพอใจ ของเด็ก
4. การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1 ใช้กับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยบง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550
4.2 ทำการสังเกตพฤติกรรมก่อนเรียนโดยการใช้แบบสังเกตพัฒนาการทางภาษา
4.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้หนังสือสำหรับเด็ก
ตามแผนการจัดประสบการณ์ 65 แผน ตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม 2550 ถึง เดือน ตุลาคม 2550
4.4 เมื่อสิ้นสุดการจัดประสบการณ์ตามแผนแล้ว ทำการสังเกตหลังเรียน ด้วยแบบสังเกตพัฒนาการทางภาษาฉบับเดิม และวัดความพึงพอใจ
5. การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
5.1 นำคะแนนก่อนเรียนมาแจงความถี่ หาค่าของนักเรียนร้อยละ รวมทั้งค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนเรียน
5.2 นำคะแนนหลังเรียนมาแจงความถี่ หาค่าของนักเรียนร้อยละ รวมทั้งค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนหลังเรียน
5.3 เปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าทางสถิติ t - test
5.4 นำคะแนนความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเล่านิทานมาหา
ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้