Advertisement
❝ บางครั้งคำถามบางอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียน อาจจะมีผลกระทบต่อจิตใตของนักเรียน โดยที่ครูคาดไม่ถึงได้ ❞
สมัยที่ผมเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้น โรงเรียนเดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน แต่เมื่อมาศึกษาต่อโรงเรียนประจำจังหวัด เป็นโรงเรียนแบบที่มีนักเรียนหญิงเรียนรวม ซึ่งผมเองตอนมาเรียนใหม่ ๆ ไม่ได้คิดอะไร กับการที่ไปไหนมาไหนกับเพื่อนนักเรียนผู้ชาย เพราะโรงเรียนเดิมก็เป็นเช่นนั้น สำหรับเรื่องที่ว่า เกย์ ตุ๊ด แต๋ว ในสมัยนั้นไม่ได้อยู่ในความคิดเรียกได้ว่าเด็กที่จะรับรู้เรื่องดังกล่าว เพราะความคุ้นเคยที่มาจากโรงเรียนชายล้วน จึงไม่รู้สึกแปลกที่ไปไหนมาไหนกับเพื่อนผู้ชาย ผมจะคุ้นเคยแค่กระเทย ในกรณีที่เพื่อนชายแสดงอาการวี๊ดว้าย ทำตัวเป็นผู้หญิงเท่านั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง ครูที่ปรึกษาถามผมต่อหน้าเพื่อน ๆ ในห้องว่า ผมเป็นกระเทยหรือเปล่า ทันทีที่จบคำถามนี้ทุกคนในห้องต่างก็มองผมเป็นจุดเดียว ผมยอมรับว่าอายมาก และไม่ทราบว่าเพราะเหตุผลใดครูที่ปรึกษาถึงได้ถามคำถามนี้ ผมก็บอกว่าไม่ได้เป็น แต่ก็มาสำรวจตัวเองว่าเพราะรูปร่างที่ผอมเกินมาตรฐาน ทำให้เวลาเดินจะไม่ค่อยองอาจ อีกทั้งเป็นคนที่เรียบร้อย ผิวขาวตามแบบคนเหนือ คงจะทำให้ใครเข้าใจผิด และการที่ไปไหนมาไหนกับเพื่อนนักเรียนชายสองคน อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ ซึ่งก็เป็นจริง ในบ่ายวันนั้นเพื่อนนักเรียนชายก็บอกผมว่าเค้ารับไม่ได้ในข้อกล่าวหานี้ และบอกว่าจะไม่ไปไหนกับผมอีก ซึ่งผมก็เข้าใจ ผมก็แยกตัวไปไหนมาไหนคนเดียว ต่อมาเพื่อนนักเรียนหญิงก็ชวนเข้ากลุ่ม ซึ่งผมก็ไปด้วย แต่สุดท้ายผมก็มาตอบคำถามเดิมกับครูที่ปรึกษาอีก โดยเหตุที่รุ่นพี่เอาเรื่องผมไปบอกครูที่ปรึกษาว่าผมไปไหนมาไหนกับนักเรียนหญิงเป็นกลุ่ม ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดปัญหาผมจึงขอแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนผู้หญิง ไปไหนก็ไปคนเดียว สถานที่ที่ผมจะไปก็คือห้องสมุด ผมก็คิดว่าคงหมดปัญหา แต่เปล่าเลย ผลมันก็เกิดในสมุดรายงานผลการเรียน ในส่วนพฤติกรรมของผมว่า ผมเป็นคนที่ไม่สมาคมกับใคร ซึ่งเมื่อแม่ผมอ่าน ผมก็ต้องตอบคำถามแม่อีกว่ามันเกิดอะไรขึ้น ผมอธิบายแล้วแต่แม่ไม่ฟังเหตุผล แม่ผมมองผมว่าเป็นเด็กมีปัญหาทางจิตเลยทีเดียว ด่าผมอย่างรุนแรง ตอนนั้นผมกลุ้มใจและสับสนมาก ไม่รู้จะทำอย่างไร เริ่มที่จะกลัวการมาโรงเรียน เพราะผมเรียนมัยมศึกษาปีที่ 4 อายุเพียง 14 ปี คิดไม่ออกว่าจากสถานการณ์แบบนี้ผมควรทำตัวอย่างไร สุดท้ายคงจะเป็นโชคดีของผมที่ครูแนะแนวให้เขียนเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง อะไรก็ได้ ผมจึงได้เขียนเล่าปัญหาของตัวเองให้ครูแนะแนวว่า ผมควรที่จะรู้ตัวผมเองว่าผมเป็นอะไร และการที่ผมไปกับเพื่อนผู้ชายไม่ได้ เพื่อนผู้หญิงก็ไม่ได้ เป็นเพราะอะไร สุดท้ายฝ่ายแนะแนวก็เรียกผมไปคุยถึงการปรับตัว ซึ่งหลังจากวันนั้นก็ไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก จากที่ผมเล่าให้ฟังคงเป็นประสบการณ์ที่ดีในการที่ครูจะตัดสินเด็กจากพฤติกรรมที่เห็นและจากความเหมาะสมในการตั้งคำถาม และบทบาทของครูแนะแนวที่สามารถแก้ปัญหาของนักเรียนได้ และหลังจากที่ผมได้มาเป็นครูแล้ว หากผมจะถามข้อมูลใด ๆ ที่คิดว่าเป็นส่วนตัวแล้ว ผมมักจะให้เด็กมาคุยเป็นการเฉพาะมากว่าที่ถามในลักษณะที่ทำให้เด็กรู้สึกอับอาย หรือก่อเกิดปัญหาภายหลังได้ แต่อย่างไรก็ตามผมก็ต้องขอขอบคุณครูที่ปรึกษาที่ทำให้ผมกลายเป็นเด็กที่รักการอ่าน และมีนิสัยชอบอ่านหนังสือมาจนถึงปัจจุบัน
วันที่ 23 ก.ย. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,198 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,554 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,619 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,233 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,002 ครั้ง |
เปิดอ่าน 384,380 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,295 ครั้ง |
|
|