Advertisement
❝ สืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการอ้วนซัมมิท ผู้เชี่ยวชาญระบุฮอร์โมนที่ได้จากการสังเคราะห์ในเพศชาย รักษาอ้วนได้ ❞
ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายคนไทยไร้พุง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ (obesity summit) หรือ การประชุมอ้วนซัมมิท โดยภายในงานมีนักวิชาการ นักโภชนาการ และคณะแพทย์จากทั่วโลก เข้าร่วมงานกว่า 350 คน จากกว่า 10 ประเทศ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานว่า ภาวะอ้วนเป็นที่มาของการเกิดโรค เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต ที่เป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยปี 2548 ได้มีการสรุปสถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั่วโลกสูงถึง 194 ล้านคน และมีการประมาณการว่าจะเพิ่มสูงถึง 334 ล้านคน ในปี 2568 นอกจากนี้ปี 2547 ได้สรุปยอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานสูง 3.2 ล้านคน ซึ่งมากกว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์ถึง 2 แสนคน ที่มีอัตราการเสียชีวิต 3 ล้านคนต่อปี และ ปี 2547 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีอันตรายสูงสุด
ศ.นพ.หลุยส์ โกเรน (Louis Gooren) ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ Free Universty ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า การใช้ฮอร์โมนบำบัดโรคอ้วน สามารถทำได้ในเฉพาะเพศชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ( testoterone) ต่ำ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ( testoterone) ที่ได้จากการสังเคราะห์ในเพศชาย วิธีการรักษาคือ ฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ ซึ่งภายหลังการรักษาช่วยผู้ป่วยพบว่า มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และมวลไขมันลดลง ซึ่งสรุปได้ว่า การให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสามารถรักษาโรคอ้วนลงพุงได้
ศ.นพ.หลุยส์ กล่าวว่า การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน ไม่สามารถจะใช้ได้กับผู้ป่วยทุกคน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยคนใดควรได้รับฮอร์โทนทดแทน จากนั้นแพทย์จะทำการฉีดฮอร์โมนเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนคือ ขนดก มีสิว และมีความต้องการทางเพศมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า มีผู้ป่วยบางกลุ่มไม่สามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษาภาวะโรคอ้วนลงพุง ได้แก่
1.ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
2.ผู้ป่วยที่มีค่าพีเอาเอมากกว่า 4 นาโนต่อมิลลิลิตร
3.ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดข้นหรือความเข้มข้นของเลือดมากกว่า 55
4.% ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ยังไม่ได้รับการรักษา
5.ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว ที่มีอาการของโรคหัวใจกำเริบเมื่อออกแรงเพียงเล็กน้อย หรือแม้ในขณะพัก
อย่างไรก็ตาม การใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อรักษาภาวะโรคอ้วน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาภาวะโรคอ้วน สำหรับวิธีการป้องกันภาวะอ้วนโดยทั่วไปคือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแห้งและไขมัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ.
ที่มา :: http://portal.tv5.co.th/tabid/36/default.aspx
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 10,938 ครั้ง เปิดอ่าน 59,079 ครั้ง เปิดอ่าน 17,940 ครั้ง เปิดอ่าน 53,000 ครั้ง เปิดอ่าน 33,476 ครั้ง เปิดอ่าน 9,573 ครั้ง เปิดอ่าน 13,951 ครั้ง เปิดอ่าน 14,639 ครั้ง เปิดอ่าน 1,074 ครั้ง เปิดอ่าน 14,204 ครั้ง เปิดอ่าน 15,880 ครั้ง เปิดอ่าน 13,552 ครั้ง เปิดอ่าน 28,283 ครั้ง เปิดอ่าน 2,803 ครั้ง เปิดอ่าน 48,477 ครั้ง เปิดอ่าน 63 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,379 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,758 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,324 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,220 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,462 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,530 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,682 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 71,443 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,418 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,708 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,920 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,234 ครั้ง |
|
|