Advertisement
❝ เป็นที่ทราบดีว่าสำหรับปัจจุบันนี้ มีการตื่นตัวด้านสุขภาพและความอ้วนจนทำให้ประเด็นปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับน้ำหนักตัวและความอ้วน เป็นเรื่องราวที่ไม่เกี่ยงอายุ ไม่เกี่ยงวัย ซึ่งต่างจากในอดีตที่ผู้ใหญ่อ้วน คือคนที่มีปัญหา แต่เด็กอ้วนคือเด็กที่ได้รับสารอาหารที่สมบูรณ์ ❞
สำหรับวันนี้ คุณพ่อคุณแม่คงไม่คิดแค่เพียงว่าน่ารักน่าหยิกน่ากัดต่อไปอีกแล้วละครับ เพราะความอ้วนถือเป็นผลผลิตที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีต้นสายปลายเหตุจากตัวของคุณพ่อคุณแม่ สำหรับ Issue แรกของปี 2010 ขอเริ่มด้วย สาระความรู้ ความอ้วนกับเด็ก ซึ่งเป็นอีกกระแสสุขภาพที่สังคมพยายามรณรงค์ สร้างสุขลักษณะการบริโภคแบบใหม่ให้กับเด็ก
เชื่อหรือไม่ว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จำนวน 3 ใน 4 ของประเทศที่กำลังพัฒนาระดับกลางและระดับยากจนรวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังประสบการณ์สุขภาพ รวมถึงในประเทศไทยเอง ประชากรเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-12 ปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมากถึงปีละแสนคน นั่นหมายความว่า แม้ประเทศที่เชื่อกันว่าพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตแล้วก็ยังประสบปัญหาโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิตมากมาย
น้ำหนักเท่าใดจึงจะถือว่าลูกของคุณ คือเด็กอ้วน?
กระกะเกณฑ์ว่าเด็กจ้ำม่ำคนไหนอยู่ในภาวะอ้วน นั่นอาจพิจารณาได้ยาก เนื่องในวัยที่ร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต ดัชนีชี้วัดความอ้วนจึงนิยมใช้การวัดความสมดุลเหมาะสมของน้ำหนักกับส่วนสูง และดัชนีมวลกาย ค่า BMI โดยในเด็กมาตรฐานว่าเด็กอ้วนก็เมื่อมีค่าเกิน 90 ซึ่งเปลี่ยนไปตามอายุ BMI จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเด็กอยู่ในภาวะอ้วนก็นำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ อย่างที่คาดถึง อาทิ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามข้อมูลนี้คุณคงพอจะเห็นภาพแล้วว่าเด็กอ้วนเป็นปัญหาใหญ่จริง ๆ และต้องหาวิธีรับมือ และหากมองเพียงผลกระทบที่เกิดกับชีวิตของเด็ก ก็คงเพียงพอกับการค้นหาวิธีการเร่งรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสุขภาพเด็กแล้ว
เด็กอ้วน ผลกระทบต่อวิกฤติพัฒนาการ
ผลกระทบของภาวะอ้วนในเด็กมีมากมาย และมีตั้งแต่ระดับธรรมดาสู่ระดับที่เป็นอันตรายรุนแรง ดังนี้
- กระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ อาทิ การคลาน การนั่ง การเดิน ลดความซุกซนลากรเรียนรู้เนื่องจากมีน้ำหนักมาก ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว หรือหากเคลื่อนไหวแล้วเกิดการหกล้มก็ทำให้เจ็บเพราะน้ำหนักตัว
- กระดูกโค้งงอ ขาโก่ง ผิดรูป ทำให้รูปร่างไม่สมบูรณ์ขาดความมั่นใจในตัวเองตั้งแต่เด็ก มีปมด้อยตั้งแต่ในวัยเด็ก
- มีปัญหาสุขภาพในเรื่องระบบหายใจเนื่องจากไขมันสะสมที่ผนังช่องออก ส่งผลต่อภาวการณ์หายใจผิดปกติขณะหลับ
- เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะต่อด้านอินซูลิน
เด็กอ้วน สารพัดปัจจัยเสี่ยง!!!
- อ้วน เพราะครอบครัวอ้วน หรืออาจเรียกได้ว่าอ้วนจากกรรมพันธุ์
- อ้วน เพราะกินมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุใหญ่ที่มาจากการเลี้ยงดู โดยไม่มีการควบคุมให้มีสารอาหารที่เหมาะสมหรือรับประทานแป้ง และไขมันมากเกินจำเป็น โดยในวัย 1-2 ขวบ เด็กควรได้รับนม 2-3 แก้วต่อวันหรือขวดนม 8 ออนซ์ เมื่อมีอายุ 2 ขวบจนกระทั่งวัยรุ่นให้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเพื่อให้มีการเจริญเติบโตให้เต็มที่ แต่ควรควบคุมอาหารหวานจัดมันจัด และขนมขบเคี้ยวทุกประเภท
- อ้วน เพราะฮอร์โมนบางประเภทที่มีความผิดปกติหรือต่อมไร้ท่อที่ผิดปกติ เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมนบกพร่องหรือมีโกรธฮอร์โมน Growth hormone ที่ผิดปกติ
- อ้วน เพราะขาดการออกกำลังกายที่พอเพียง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญนัก และวิถีชีวิตในปัจจุบันนี้เด็กมักอยู่หน้าทีวี หน้าคอมพิวเตอร์ มากกว่าจะเล่นกีฬาหรือวิ่งเล่น
ปัญหาเด็กอ้วนตั้งแต่วัยเยาว์ เริ่มส่งผลต่อรูปร่างของลูกของคุณในวัยรุ่น จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนกลุ้มใจ และหาทางออกให้กับลูก ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการออกกำลังกาย หรือการปรึกษาโภชนาการ แต่ก่อนที่คุณจะมองหาทางออกเหล่านั้น (เป็นอันดับสุดท้าย)
อันดับแรกที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ต้องแก้ไขปรับปรุง คือ คุณควรหยุด!! และปรับเปลี่ยนทุกพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่จะทำให้ลูกคุณอ้วน (ซึ่งทำได้ไม่ยาก) จากที่คุณเคยให้เขารับประทานอาหารอย่างเต็มที่ เมื่อพวกเขาอยากรับประทานอะไร ก็ให้เขาทานให้อิ่มมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีมแสนหวาน ช็อกโกแลตชิ้นโต อาหารเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วยแป้ง น้ำตาล และไขมัน ซึ่งทำให้ลูกของคุณกลายเป็นเด็กอ้วนได้ง่ายแสนง่าย
หากลูกของคุณยังปฏิบัติการทานขนมหวาน หรือไอศกรีมอยู่อย่างไม่มีลิมิต คงต้องเริ่มฝึกให้เขารู้จักกฎกติกามารยาทกันแล้วละครับ!!! ...ว่าอาหารประเภทไหนบ้างที่ทำเขามีรูปร่างอ้วนจนเสียบุคลิกภาพและกลายเป็นที่มาของสารพัดโรคร้ายก่อนวัยอันควร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :: SLIM UP
Advertisement
เปิดอ่าน 24,998 ครั้ง เปิดอ่าน 9,959 ครั้ง เปิดอ่าน 15,350 ครั้ง เปิดอ่าน 8,492 ครั้ง เปิดอ่าน 18,484 ครั้ง เปิดอ่าน 2,742 ครั้ง เปิดอ่าน 11,331 ครั้ง เปิดอ่าน 15,706 ครั้ง เปิดอ่าน 36,144 ครั้ง เปิดอ่าน 12,209 ครั้ง เปิดอ่าน 13,011 ครั้ง เปิดอ่าน 7,087 ครั้ง เปิดอ่าน 8,120 ครั้ง เปิดอ่าน 10,874 ครั้ง เปิดอ่าน 12,327 ครั้ง เปิดอ่าน 12,324 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,943 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,371 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,987 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,764 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,045 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 639 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,084 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,443 ครั้ง |
เปิดอ่าน 65,761 ครั้ง |
เปิดอ่าน 62,841 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,352 ครั้ง |
|
|