Advertisement
โลหิตหรือเลือด (blood) เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือดทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ร่างกายมนุษย์ใช้ในการสร้างเม็ดโลหิต คือไขกระดูก ในร่างกายของคนเรามีโลหิตมากน้อย ตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณ 80 ซีซี ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ดังนั้นถ้าท่านมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ท่านจะมีโลหิตประมาณ 4,000 ซีซี
เลือดเป็นของเหลวซึ่งไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย มนุษย์ผู้ใหญ่ปกติจะมีเลือดไหลเวียนอยู่ในร่างกายประมาณ 5 – 6 ลิตร หน้าที่สำคัญของเลือด คือขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อมายังปอด เพื่อขับถ่ายออกจากร่างกายต่อไป นอกจากนี้เลือดยังทำหน้าที่ขนส่งสารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน ฮอร์โมน วิตามินไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และนำของเสียต่างๆ จากเซลล์ไปขับออกจากร่างกาย เช่น นำยูเรียไปขับออกที่ไต เป็นต้น เลือดประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า พลาสมา (plasma) ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 55 ของปริมาณเลือดทั้งหมด และส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือด (cellular components) ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 45 ของปริมาณเลือดทั้งหมด
สำหรับเม็ดโลหิตมี 3 ชนิด คือ เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่หลักในการนำออกซิเจน และอาหารที่ย่อยแล้วส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และรับของเสีย รวมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากเซลล์ เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม มีส่วนสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกล็ดเลือด มีความจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือด เวลาที่ท่านมีบาดแผลส่วนพลาสมา คือส่วนที่เป็นของเหลวสีเหลืองทำให้เม็ดเลือดลอยตัวอยู่ได้
เม็ดเลือดแดง (red blood cells)
1. เม็ดเลือดแดง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ไมโครเมตร รูปร่างเหมือนจานแต่บุ๋มตรงกลางทั้งสองข้าง
2. เม็ดเลือดแดงมีอยู่ทั้งหมดประมาณร้อยละ 40-50 ของปริมาตรเลือดทั้งหมดของร่างกาย หรือปริมาณ 4-5 ล้านเซลล์ ต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตร
3. เม็ดเลือดแดงมีอายุในกระแสโลหิตได้นานประมาณ 120 วัน โดยทั่วไปในวันหนึ่งๆ มีการสร้างเม็ดเลือดออกมาใหม่ประมารร้อยละ 9 ของจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย
4. โครงสร้างของเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยสารไลโปโปรตีน (โปรตีนและไขมัน) และมีสารโปรตีนที่จับกับเหล็กที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการจับนำเอาออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทางเส้นเลือดแดง และนำคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ กลับไปยังปอดเพื่อถ่ายทอดออกทิ้งไปทางเส้นเลือดดำ
5. ในคนปกติ ผู้ชาย จะมีฮีโมโกลบินประมาณ 14-18 กรัมในเลือด 100 มิลลิลิตร ผู้หญิงจะมีฮีโมโกลบินประมาร 12-14 กรัมในเลือด 100 มิลลิลิตร
6. หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของฮีโมโกลบิน คือ รักษาดุลความเป็นกรดด่างของเลือดให้อยู่ในเกณฑ์พอดี
เม็ดเลือดขาว (white blood cells)
1. เม็ดเลือดขาว มีอยู่ประมาณ 5,000-10,000 เซลล์ในเลือดหนึ่งมิลลิลิตร
2. ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว 5 ชนิดต่างๆ กัน โดยอาศัยคุณลักษณะในการติดสีที่ใช้ย้อม และลักษณะของนิวเคลียสเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
3. นิวโตรฟิล มีหน้าที่กำจัดบัคเตรี หรือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นเม็ดเล็กๆ เมื่อมีเชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายจะถูกนิวโตรฟิลจับเข้าไปในไซโตพลาสซึม ซึ่งมีแกรนนูลของนิวโตรฟิล คือไลโซโซมส์อยู่ ไลโซโซมส์เป็นถุง ซึ่งภายในบรรจุน้ำย่อยจำพวกเหล่านี้ออกมาย่อยเชื้อจุลินทรีย์ และสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กๆ เหล่านี้
4. ลิมโฟไซท์ที่กำเนิดมาจากต่อมไธมัส ซึ่งเป็นแหล่งกลางของปฏิกิริยาทางอิมมูน เป็นตัวส่งลิมโฟไซท์ออกไปให้กำเนิดแก่ลิมโฟไซท์ในอวัยวะน้ำเหลืองอื่นๆ ลิมโฟไซท์ชนิดนี้มีความจำ และจะทำลายสิ่งที่ไม่เหมือนตัวเอง
5. ลิมโฟไซท์ที่กำเนิดมาจากต่อมน้ำเหลืองของระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี และควบคุมภาวะไวเกินจากภูมิคุ้มกันส่วนเซลล์
6. โมโนไซท์ มีหน้าที่ป้องร่างกายเช่นเดียวกับนิวโตรฟิล สามารถกินเชื้อจุลินทรีย์ เช่น บัคเตรี เชื้อรา ยีสต์ หรือแม้แต่เม็ดเลือดแดง โดยที่โมโนไซท์สามารถกินของใหญ่ๆ ได้ บางทีจึงเรียกกันว่า แมคโครเฟจ เทียบกับนิวโตรฟิล ซึ่งเรียกว่า ไมโครเฟจ โมโนไซท์มีชีวิตในกระแสโลหิตที่หมุนเวียนเพียงระยะสั้นเท่านั้น ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายเข้าสู่เนื้อเยื่อ แล้วเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น ฮิสติโอไซท์
7. เบโซฟิลหรือมาสท์เซลล์ ปัจจุบันเชื่อว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในปฏิกิริยาภูมิแพ้ จากปฏิกิริยาของแอนติเจนกับแอนติบอดี โดยไปทำให้เม็ดแกรนนูลของเบโซฟิลสลายตัวปล่อยสารฮิสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีอาการแพ้ออกมาอาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน ไปตามลักษณะอวัยวะที่เกิด เช่น ถ้าเป็นที่ผิวหนัง ทำให้มีอาการคัน ถ้าเป็นที่หลอดลม ทำให้หลอดลมตีบ ทำให้มีอาการเป็นหืด หรือถ้าหากมีสารฮิสามีนจำนวนมากเข้าไปในกระแสโลหิต อาจทำให้เกิดอาการช็อคได้ เช่น ในกรณีของการแพ้เพนิซีลลิน เป็นต้น
8. อีโอซิโนฟิล เชื่อว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการขจัดฤทธิ์ของฮิสตามีน และเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อปาราสิต
เกล็ดเลือด (platelet)
1. เกล็ดเลือด มีกำเนิดมาจากไซโตพสาสซึมของเมกาคาริโอไซท์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในไขกระดูกคือมีขนาดประมาณ 35-160 ไมโครเมตร
2. ภายในไซโตพลาสซึมมีเม็ดแกรนนูล นอกจากนั้นแล้ว ไซโตพลาสม์ยังมีขาเทียมเล็กๆ ยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก และต่อมาจะหลุดออกมาเป็นเกล็ดเลือด
3. เกล็ดเลือดมีจำนวนประมาณ 150,000 - 450,000 เซลล์ ในจำนวนเลือดหนึ่งมิลลิลิตร
4. เกล็ดเลือดมีชีวิตอยู่ในกระแสโลหิตได้นานประมาณ 8-11 วัน
5. เกล็ดเลือดมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการห้ามเลือดโดยตรง
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.bangkokhosptial.com
http://www.bangkokhealth.com
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 21,133 ครั้ง เปิดอ่าน 10,168 ครั้ง เปิดอ่าน 20,294 ครั้ง เปิดอ่าน 7,812 ครั้ง เปิดอ่าน 12,997 ครั้ง เปิดอ่าน 10,811 ครั้ง เปิดอ่าน 26,305 ครั้ง เปิดอ่าน 19,220 ครั้ง เปิดอ่าน 24,688 ครั้ง เปิดอ่าน 46,909 ครั้ง เปิดอ่าน 15,625 ครั้ง เปิดอ่าน 19,529 ครั้ง เปิดอ่าน 42,136 ครั้ง เปิดอ่าน 9,719 ครั้ง เปิดอ่าน 23,369 ครั้ง เปิดอ่าน 11,676 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 22,896 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,199 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,550 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,359 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 64,622 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,799 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,860 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 30,193 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,920 ครั้ง |
เปิดอ่าน 42,071 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,076 ครั้ง |
เปิดอ่าน 50,975 ครั้ง |
|
|