กุ้งเดินขบวน
ธรรมชาติมหัศจรรย์ที่สามเหลี่ยมมรกต
ปลายเดือนสิงหาคม ถึง กลางเดือนกันยายน
ณ บ้านแข้ด่อน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
|
ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน
1.ความเป็นมา ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน ณ ผืนป่าสมบูรณ์ปลายล่างสุดของภาคอีสานในเขตอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ใกล้รอยต่อเขตแดน 3 ประเทศ คือ ไทย ลาวและกัมพูชา หรือที่รู้จักกันดีในนาม “สามเหลี่ยมมรกต”
จะปรากฏเหตุการณ์ที่แสนมหัศจรรย์เมื่อบรรดากุ้งน้ำจืด(กุ้งฝอย)นับล้านๆ ตัวต่างพากันพร้อมใจเดินพาเหรด ผ่านลานหินเลียบแก่งน้ำมุ่งหน้าสู่ยอดเขาสูงบนเทือกเขาพนมดงรัก
|
การที่กุ้งเหล่านี้มาเดินบนพลาญหินบริเวณลานพันรู มีสาเหตุมาจากการที่จะเดินทางไปยังแหล่งต้นน้ำที่เป็นบ้านเกิดบนเทือกเขาพนมดงรัก ต้องฝ่าฟันอุปสรรค์ต่างๆ มากมาย นี่ก็เป็นบทพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งคือการเดินทางผ่านน้ำตกแก่งลำดวนซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวจำเป็นต้องหลบความแรงของกระแสน้ำโดยการขึ้นมาเดินบนโขดหินจนกลายเป็นเหตุการณ์มหัศจรรย์ของธรรมชาติ |
|
2.สถานที่ ณ บริเวณน้ำตกแก่งลำดวน สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี บ้านแข้ด่อน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี (ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ตามเส้นทาง อุบล – เดชอุดม- น้ำยืน – แก่งลำดวน ประมาณ 135 กม.)
|
|
3.ลักษณะของปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน” จะเป็นลักษณะขบวนกุ้งฝอยที่ว่ายทวนน้ำ เมื่อถึงแก่งลำดวนซึ่งมีน้ำเชี่ยวกรากจะปีนป่ายไปบนลานหินเพื่อหลบความเชี่ยวกรากของสายน้ำแล้วปีนกลับลงสู่สายน้ำอีกครั้งเมื่อพ้นแนวแก่ง ขบวนกุ้งจะปีนขึ้นปีนลงในระยะทางยาวไม่เกิน 2 เมตรในแต่ละจุดและขบวนจะแผ่กว้างประมาณ 10 – 20 ซม. สำหรับจุดที่สามารถชมปรากฏการณ์มีระยะทางยาวประมาณ 15 เมตร
|
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน”จะไม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่จะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
3.1 เป็นช่วงกลางคืน
3.2 ระดับน้ำบริเวณแก่งลำดวนจะต้องไม่ต่ำมากหรือสูงมากเกินไป(หากต่ำมากกุ้งจะปีนขึ้นบนตลิ่งไม่ได้และหากน้ำล้นแก่งกุ้งก็จะว่ายทวนน้ำได้โดยไม่ต้องปีนขึ้นตลิ่ง)
|
4.ข้อพึงระวัง
4.1 ปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน” เป็นปรากฏการณ์ที่มีความอ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมมาก ผู้เข้าชมต้องพึงระมัดระวัง และตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
4.2 ผู้ไปเยือนจะต้องไม่ส่งเสียงดังและใช้ไฟสว่างมากเกินไป เพราะกุ้งจะตกใจปีนกลับสู่สายน้ำและอาจจะต้องถูกน้ำพัดกลบไปอีกไกล
4.3 บริเวณดังกล่าวอาจเกิดกรณีน้ำป่าไหลหลากได้เนื่องจากเป็นบริเวณต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนั้นผู้จะไปเยือนจะต้องสอบถามข้อมูลจากสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานีก่อนไปเยี่ยมชมและปฏิบัติตามข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
5.ศักยภาพการรองรับของพื้นที่
5.1 มีเต็นท์รองรับโดยสามารถกางได้ ณ ลานกางเต็นท์บริเวณแก่งลำดวน (ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานีก่อน)ทั้งนี้ทางสถานีฯสามารถอำนวยความสะดวกในเรื่องอาหารได้
5.2 มีบ้านพักภายในสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี
5.3 ในอำเภอน้ำยืนมีโรงแรมอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวได้ จำนวน 3 โรงแรม กว่า 23 ห้อง
6.แหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง นอกจากชมปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน” แล้ว ยังสามารถเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ น้ำตกห้วยหลวง(อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย) ซึ่งอยู่ห่างจากแก่งลำดวนประมาณ 20 กม. สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากตัวเมืองอุบลฯไปยังแก่งลำดวนนั้น
สามารถเดินทางได้ในลักษณะท่องเที่ยวเต็มวัน โดยเยือนแหล่งท่องเที่ยวต่างๆตามรายทาง เช่น วัดป่าไทรงาม (สาขาของวัดหนองป่าพง) ที่ได้รับการยกย่องในการอนุรักษ์ป่า และสิ่งแวดล้อม , กลุ่มผลิตภัณฑ์เทียนหอมเดชอุดม ชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เทียนหอม จากฝีมือของชาวบ้าน ซึ่งมีการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างมืออาชีพ,
ข้อมูลเพิ่มเติม
กุ้งอะไรที่มาเดินขบวน
โดยปกติแล้วกุ้งจะมีทั้งชนิดน้ำจืดและน้ำเค็ม อาศัยตามพื้นที่ต่างๆแตกต่างกันไป แต่กุ้งที่มาเดินขบวนที่น้ำตกแก่งลำดวนบริเวณลานพันรูนั้นเป็นกุ้งฝอย ชื่อสามัญ คือ LANCHESTER , S FRESHWATER PRAWN ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobachiam lanchesteri จัดว่าเป็นกุ้งขนาดเล็ก มักอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยตามผิวน้ำริมตลิ่ง แหล่งน้ำต่างๆชอบกินจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหารมีความยาวประมาณ 2 – 7 ซม. เป็นที่นิยมของนักบริโภคทั้งหลาย
กุ้งมาเดินขบวนทำไม ?
การที่กุ้งเหล่านี้มาเดินบนพลาญหินบริเวณลานพันรู มีสาเหตุมาจากการที่จะเดินทางไปยังแหล่งต้นน้ำที่เป็นบ้านเกิดบนเทือกเขาพนมดงรักต้องฝ่าฟันอุปสรรค์ต่างๆ มากมาย นี่ก็เป็นบทพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งคือการเดินทางผ่านน้ำตกแก่งลำดวน ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวจำเป็นต้องหลบความแรงของกระแสน้ำโดยการขึ้นมาเดินบนโขดหินจนกลายเป็นเหตุการณ์ที่เห็นแล้วทึ่งดังกล่าว
กุ้งจะเดินขบวนช่วงเดือนใด?
กุ้งเหล่านี้จะขึ้นมาเดินขบวนอวดโฉมสรีระเป็นหมื่นๆแสนๆตัวต่อคืนในช่วงกลางเดือนสิงหาคม จนถึงเดือนกันยายน ของทุกๆ ปี คืนไหนจะขึ้นมาเดินมากหรือเดินน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติ ฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำลำโดมใหญ่ ซึ่งมีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ถ้าฝนตกหนักติดต่อกันหลายๆ วัน ป่าไม้ต้นน้ำก็จะปล่อยน้ำลงมามากระดับน้ำสูงกระแสน้ำเชี่ยวกุ้งก็จะขึ้นมาเดินขบวน
กุ้งมาเดินขบวนที่ใหน
ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวนเกิดขึ้น แก่งลำดวน บริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านแข้ด่อน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางใต้ประมาณ 120 กม. และห่างจากตัวอำเภอน้ำยืนประมาณ 16 กม.
เส้นทางคมนาคมเข้าสู่แก่งลำดวน
จากตัวเมืองอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 120 กม.
จากอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ " 75 กม.
จากอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย " 22 กม.
จาก อ.โขงเจียม " 155 กม.
จุดท่องเที่ยวและบริการท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
-ตั้งอยู่ห่างจากแก่งลำดวนประมาณ 20 กม.
-มีบ้านพัก 3 หลัง รองรับได้ประมาณ 70 คน
-มีลาน Camping รองรับได้ ประมาณ 200 คน
-แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ น้ำตกห้วยหลวง แก่งกะเลา น้ำตกปะโอนละออ