Advertisement
ปลาสินสมุทรทรวงฟ้า (Pomacanthus annularis) หรือชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ปลาโนราห์" แพร่กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก อันดามัน และอ่าวไทย บริเวณที่อาศัยจะเป็นแนวปะการัง หินโสโครก กองหิน ...
"ภัยธรรมชาติ" เริ่มเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั้งเหตุการณ์ "สึนามิ" ในเมืองไทย แผ่นดินไหว ที่เฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน และเหตุวิปโยคที่สาธารณรัฐ "เฮติ" (Haiti) ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า...มันเกิดอะไรขึ้นกับ "โลกกลมๆ" ใบนี้...
...ก่อนที่มนุษย์เราจะมีเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้เป็น "เครื่องมือ" ส่งสัญญาณเตือนภัยคนรุ่นเก่าจะสังเกตธรรมชาติโดยรอบ ทั้งจากสัตว์ต่างๆอย่าง ช้าง นก สุนัข ที่มีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ หากเป็นชาวประมงหรือที่หลายคนเรียกขานกันว่า "ชาวเล" ก็จะดูทิศทางลม ท้องฟ้า ผืนน้ำ และการว่ายเวียนของ "ฝูงปลา" ในท้องทะเลที่นับวันเริ่มมีจำนวนลดน้อยถอยลง
ฉะนี้...กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดทำโครงการ "สำรวจมรดกทะเลไทย" ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติอย่างยั่งยืน
นางสาวอัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า....โครงการดังกล่าวจะสำรวจในพื้นที่ 22 แห่งทั่วประเทศ โดยเริ่มจากชุมชนชาวเลหาดราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยเริ่มจากสังเกตพฤติกรรมปลาต่อการอพยพรวมฝูงหรือหลบซ่อนจากน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆของปลาเล็กปลาใหญ่
...ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะที่อยู่อาศัยคือ ปลาผิวน้ำ อย่างปลากระโทง เสียด และปลาบินซึ่งกลุ่มนี้จะมีเกล็ดบาง ว่องไว สามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งน้ำอุ่นและน้ำเย็น ปลากลางน้ำ อย่างปลากล้วย ปลาสาก ขี้ตังเบ็ด และ ปลาหน้าดิน ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเล อาทิ ปลาแพะ ดุกทะเล เก๋า และปลาสินสมุทรทรวงฟ้า ที่เป็นหนึ่งในจำนวนนี้ด้วยเช่นกัน
สำหรับ ปลาสินสมุทรทรวงฟ้า (Pomacanthus annularis) หรือชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ปลาโนราห์" แพร่กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก อันดามัน และอ่าวไทย ซึ่ง บริเวณที่อาศัยจะเป็นแนวปะการัง หินโสโครก กองหิน ที่ระดับน้ำตื้นถึงน้ำลึก เพื่อหากินอาหารได้หลากหลาย ปลาชนิดนี้มีนิสัยตื่นตกใจง่าย แต่หลังปรับตัวได้จะค่อนข้างก้าวร้าว
ในวัยที่ยังเล็กลักษณะลำตัวจะมีลวดลายบนพื้นลำตัวเป็นขีดสีฟ้าตรงสลับขาว ว่ายเวียนอยู่ที่ระดับน้ำตื้น 2-3 เมตร พอโตเต็มวัยลำตัวจึงเริ่มเปลี่ยนเป็นลายโค้งสีฟ้า บนพื้นสีส้มอมน้ำตาล มีความยาว 3-12 นิ้ว น้ำหนัก 1 กก. โดยพวกมันจะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ หรือฝูงเฉลี่ย 10-20 ตัว
....และถึงแม้พวกมันสามารถนำมาประกอบอาหารได้ แต่ด้วยเพราะลายเส้นที่สวยงามโดดเด่น อีกทั้งสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ ส่งผลให้ปัจจุบันกลุ่มนักเลี้ยงปลาไขว่คว้าจับมาส่ายหาง ขยับครีบอยู่ในตู้เลี้ยงไปซะแล้ว
ที่มา :: ไทยรัฐ
Advertisement
เปิดอ่าน 13,188 ครั้ง เปิดอ่าน 9,025 ครั้ง เปิดอ่าน 19,787 ครั้ง เปิดอ่าน 19,234 ครั้ง เปิดอ่าน 19,896 ครั้ง เปิดอ่าน 13,210 ครั้ง เปิดอ่าน 6,505 ครั้ง เปิดอ่าน 12,180 ครั้ง เปิดอ่าน 45,188 ครั้ง เปิดอ่าน 9,209 ครั้ง เปิดอ่าน 15,386 ครั้ง เปิดอ่าน 19,610 ครั้ง เปิดอ่าน 12,517 ครั้ง เปิดอ่าน 11,993 ครั้ง เปิดอ่าน 14,255 ครั้ง เปิดอ่าน 16,217 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 30,852 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,892 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,841 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,028 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,845 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,747 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 52,036 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 5,985 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,073 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,147 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,978 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,998 ครั้ง |
|
|