Advertisement
ทั่วโลกในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ 2.7 แสนคน ...นี่เป็นสถานการณ์-เป็นตัวเลขที่น่ากลัวทีเดียว เป็นสถานการณ์-ตัวเลขเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก
ที่ในประเทศไทยแพทย์ไทยก็กำลังเร่งสู้กับมันเต็มที่ !!
ทั้งนี้ โรงพยาบาลศิริราช เป็นหนึ่งในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการรักษาพยาบาลคนไทยจากทั่วทุกสารทิศที่เจ็บไข้ได้ป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมถึง มะเร็งปากมดลูก
“การรักษามะเร็งปากมดลูกของแพทย์ทั่วโลกจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั่วโลกจะมีการติดตามการรักษาของแพทย์เฉพาะทางด้านนี้เป็น ประจำ และในประเทศไทยก็มีการประชุมแพทย์กันสม่ำเสมอ” ...เป็นการระบุของ ผศ.นพ.ชัยรัตน์ ลีลาพัฒนดิษฐ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ผศ.นพ.ชัยรัตน์ ยังให้ความรู้ความเข้าใจว่า... ประเทศไทยมีคนเป็นมะเร็งปากมดลูกปีละประมาณ 6,000 คน เสียชีวิตปีละประมาณ 3,000 คน
โดยมะเร็งปากมดลูกจะแบ่งระยะเหมือนกับการรักษามะเร็งอื่น ๆ แบ่งออกเป็นระยะตั้งแต่ 0-4 กล่าวคือ... ระยะ 0 คือเซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษาคือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%
ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษาคือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%
ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด (คีโม) ได้ผลราว 60%,
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษาคือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30% โดยที่ระยะ 2 - ระยะ 3 นี้จะให้คีโมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ และฉายแสงทุกวันเป็นเวลา 5 สัปดาห์เช่นกัน
ส่วน ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษาคือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วยบางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิต
“ในระยะที่ 2 แม้ 60% จะหาย แต่อีก 40% ยังมีโอกาสเกิดขึ้นมาใหม่อีก ซึ่ง 40% ตรงนี้รักษายากมาก โอกาสหาย 5-10% เท่านั้น เพราะจะดื้อยา ผู้ป่วยต้องระมัดระวังให้ดี”
กับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้น ผศ.นพ.ชัยรัตน์บอกว่า... ผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกคือสตรีที่มีเพศสัมพันธ์หรือมีคู่นอนมาก มีลูกมากตั้งแต่อายุยังน้อย และปัจจุบันก็พบอีกปัจจัยที่สำคัญคือการติดเชื้อหูดหงอนไก่บางชนิด ซึ่งอาจจะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสหูดหงอนไก่ ฉีด 3 เข็ม ค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 กว่าบาท และการป้องกันแบบที่สองคือการตรวจแปปสเมียร์ คือการเช็กมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการตรวจภายใน ซึ่งเมื่อพบก็ทำการรักษาตามอาการ “ยิ่งพบเร็ว พบในระยะแรก ๆ การรักษาก็จะง่าย และหวังผลได้สูง”
“ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน คือการตรวจดีเอ็นเอของไวรัส HPV ซึ่งใครไม่มีก็จะมั่นใจได้ว่าไม่มีโรคมะเร็งปากมดลูก” ...ผศ.นพ.ชัยรัตน์ระบุ
ด้าน รศ.พญ.เยาวลักษณ์ ชาญศิลป์ ภาควิชารังสีรักษา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ก็ให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมว่า... การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยรังสีรักษาหรือการฉายแสง สามารถใช้ได้ในทุกระยะของโรค แต่มักใช้เป็นการรักษาหลักในระยะที่ 2 คือมะเร็งลุกลามออกนอกมดลูกและกระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งรักษาด้วยการผ่าตัดไม่ได้ โดยรังสีรักษาประกอบด้วยการฉายรังสีหรือที่มักเรียกกันว่าฉายแสง ใช้รังสีเอ็กซ์หรือรังสีแกมมา ร่วมกับการสอดใส่แร่หรือสารกัมมันตรังสี ผ่านทางช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูก
การรักษาด้วยรังสีใช้เวลาประมาณ 6-7 สัปดาห์ ร่วมกับการให้เคมีบำบัด ซึ่งอาจให้สัปดาห์ละครั้ง หรือทุก 3-4 สัปดาห์ แล้วแต่ชนิดของยา ซึ่งเคมีบำบัดเป็นการรักษาเสริมเพื่อเพิ่มการทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้การฉายแสงได้ผลดีขึ้น ไม่ใช่การรักษาหลักของมะเร็งปากมดลูก แต่อาจใช้ร่วมกับการผ่าตัดโดยให้นำก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดก้อนลง ทำให้ผ่าตัดได้ดีขึ้น หรือให้พร้อมการฉายรังสี เพื่อเพิ่มผลการตอบสนองต่อรังสี และควบคุมโรคได้ดีขึ้น การใช้เคมีบำบัดอย่างเดียวให้ผลเพียงลดอาการได้ระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด
“มะเร็งปากมดลูกป้องกันและรักษาได้ การตรวจแปปสเมียร์ปีละครั้งอาจทำให้พบเซลล์ที่เริ่มผิดปกติและสามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ หรือแม้จะเป็นมะเร็งแล้ว ก็ยังให้ผลการรักษาที่ดี”
รศ.พญ.เยาวลักษณ์บอกอีกว่า... ปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยอายุน้อยลง ซึ่งอาจสัมพันธ์กับวิถีชีวิตสมัยใหม่ คือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย บางคนมีคู่นอนหลายคน และ “แม้จะเป็นโรคที่ป้องกัน-รักษาได้ แต่อัตราการตายในไทยก็ยังค่อนข้างสูง” เพราะผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่ออยู่ในระยะลุกลามแล้ว เพราะอาการมะเร็งปากมดลูกคือตกขาว หรือมีเลือดออก ซึ่งคล้ายอาการทั่วไปที่สตรีคุ้นเคย จึงนิ่งนอนใจ
“ผู้หญิงที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้วจึงควรได้รับการตรวจแปป สเมียร์ปีละครั้ง ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง” ...รศ.พญ.เยาวลักษณ์กล่าว
ก็เป็นข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ฝากไว้สำหรับหญิงไทย
มะเร็งปากมดลูก ป้องกัน-รักษาได้...แต่ ตายเยอะ
สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะ หญิงไทยยังประมาท !!
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 15,966 ครั้ง เปิดอ่าน 14,831 ครั้ง เปิดอ่าน 14,532 ครั้ง เปิดอ่าน 13,645 ครั้ง เปิดอ่าน 15,689 ครั้ง เปิดอ่าน 3,762 ครั้ง เปิดอ่าน 12,737 ครั้ง เปิดอ่าน 9,824 ครั้ง เปิดอ่าน 14,926 ครั้ง เปิดอ่าน 8,246 ครั้ง เปิดอ่าน 15,313 ครั้ง เปิดอ่าน 23,273 ครั้ง เปิดอ่าน 4,314 ครั้ง เปิดอ่าน 16,258 ครั้ง เปิดอ่าน 1,365 ครั้ง เปิดอ่าน 18,439 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 18,622 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,971 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 39,896 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,357 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,367 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,182 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,092 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 30,103 ครั้ง |
เปิดอ่าน 50,946 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,262 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,596 ครั้ง |
เปิดอ่าน 274 ครั้ง |
|
|