Advertisement
พฤติกรรมอดอาหาร และหลบเลี่ยงแสงแดดตลอดเวลา กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะแร่ธาตุแคลเซียม จนอาจทำให้คุณผู้หญิงป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนตั้งแต่อายุยังไม่มาก
แพทย์หญิงสุขจันทร์ พงษ์ประไพ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน ‘600 พลัส ต้านภัยกระดูกพรุน’ ซึ่งมูลนิธิฯ ร่วมกับบริษัทไวเอท คอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์ จัดขึ้นว่า “แฟชั่นลดความอ้วน ด้วยการอดอาหารจนมีร่างกายผอมเกินไปทำให้ผู้หญิงไทยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนยิ่งขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 20 เสี่ยงต่อการมีกระดูกบางและพรุนอย่างรวดเร็วเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา อีกทั้งคนไทยยังมีนิสัยหลบเลี่ยงแสงแดดทำให้ร้อยละ 80 ของสตรีไทยวัยหมดประจำเดือนขาดวิตามินดี ซึ่งช่วยในกระบวนการดูดซึมแคลเซียมอีกด้วย”
“แคลเซียมถือเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก โดยร่างกายของคนเราควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมโดยเฉลี่ย แต่พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมเพียงวันละ 300-400 มิลลิกรัมเท่านั้น ซ้ำร้ายพฤติกรรมหลบเลี่ยงแสดงแดดตลอดเวลา เพราะกลัวผิวจะไม่ขาวเหมือนสมัยนิยม ร่างกายจึงไม่ได้รับวิตามินดีจากแหล่งธรรมชาติ ซึ่งวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในกระบวนการดูดซึมแคลเซียม จึงทำให้คนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น”
“ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน จึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว ปลาตัวเล็ก ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการรับประทานนม เช่นทานแล้วท้องเสีย ท้องอืด ซึ่งพบมากในวัยผู้ใหญ่ควรรับประทานผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ขาดหายไปในแต่ละวัน” แพทย์หญิง สุขจันทร์กล่าว
สำหรับวิธีการเลือกแคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ปริมาณแคลเซียมต่อเม็ดเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคือประมาณ 600 มิลลิกรัม ทั้งนี้ต้องไม่ผลิตจากแหล่งธรรมชาติเพราอาจปนเปื้อนเชื้อโรค รวมทั้งต้องไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล เกลือ และแลคโตส ทำให้ผู้ป่วยโรคเหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ที่แพ้นมหรือไม่สามารถย่อยแลคโตสในน้ำนมได้ สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย และที่สำคัญไม่แพ้กันคือต้องผ่านกระบวนการผลิตที่เคร่งครัด มีการตรวจสอบการแตกตัวและการดูดซึมที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้บริโภคอาจสังเกตจากตรารับรองมาตรฐาน USP (United State Pharmacopeia)
ในส่วนของการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกนั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เรียกว่า ‘เฟล็กเซอร์ไซส์’ (Flexecise) ขึ้นมาโดยความร่วมมือจากบริษัทไวเอท คอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์ และทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์การกีฬาจากทั่วภูมิภาคเอเชีย
วันที่ 16 ก.ย. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,753 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,236 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,227 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,191 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,768 ครั้ง |
|
|