Advertisement
เป็นที่แน่นอนแล้วจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้ปรับเปลี่ยนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชั่นในปีการศึกษา 2553 และให้ใช้องค์ประกอบและค่าน้ำหนัก 4 ส่วน คือ
1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรม.ปลาย (GPAX) 20%
2. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) 30%
3. GAT (General Aptitude Test) 10-50%
4. PAT (Professional and Academic Aptitude Test) 0-40%
มีเสียงจากนักเรียน และผู้ปกครองถามกันมาตลอดว่า "GAT" และ "PAT" คืออะไร ใช้วัดอะไร ใช้กันอย่างไร และจะใช้กันเมื่อไหร่ เพราะที่ผ่านมาในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยไม่เคยมีการนำ "GAT" และ "PAT" มาใช้เลย และอาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักเรียนและผู้ปกครองหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ
ยิ่งขณะนี้กำลังเปิดรับสมัคร GAT และ PAT ทำให้นักเรียนและผู้ปกครองสนใจ GAT และ PAT มากขึ้น วันนี้เรามาทำความรู้จัก GAT และ PAT ให้ชัดๆ ว่าคืออะไรกันแน่ และคนที่จะมาบอกเราได้ดีในเรื่องนี้ก็คือ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาณ ผอ.สถานบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจัดการทดสอบ GAT และ PAT โดยตรง
ศ.ดร.อุทุมพร บอกว่า GAT หรือเรียกกันว่า ความถนัดทั่วไป คือการวัดศักยภาพทั่วไปในตัวนักเรียนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ที่จะแยกได้ 2 ส่วน คือ วัดการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และ แก้โจทย์ปัญหา และวัดความสามารถในการสื่อสารพื้นฐานว่า มีมากน้อยแค่ไหนเพียงใด โดยไม่เน้นที่การท่องจำ และในการเข้ามหาวิทยาลัยทุกคณะ และสาขาวิชากำหนดที่จะใช้ GAT ดังนั้นนักเรียนที่จะเข้ามาหาวิทยาลัยต้องสอบ GAT
ขณะที่ PAT หรือเรียกว่าความถนัดทางวิชาชีพ หรือวิชาการคือ การวัดความถนัดทางวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพลงไปว่าในตัวเด็กมีความถนัดวิชาชีพที่จะเลือกเรียนมากน้อยแค่ไหน อย่างไร เช่น หากเด็กจะเลือกเรียนศิลปกรรมศาสตร์นั้น จะต้องวัดว่าเด็กมีความคิดสร้างสรรค์มากน้อยแค่ไหน หรือจะเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ก็ต้องวัดว่าเด็กจะต้องสามารถมองภาพ 3 มิติได้ เป็นต้น ซึ่ง PAT ก็จะเหมือนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูงหรือ A-NET และวิชาเฉพาะที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดสอบอยู่นั่นเอง
โดยจะจัดสอบ 7 PAT คือ
PAT 1. วัดความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2. ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3. ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4. ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5. ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6. ความถนัทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7. ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
แต่นักเรียนไม่จำเป็นต้องสอบทุก PAT ให้เลือกสอบเฉพาะ PAT ที่จะนำไปใช้ในการเลือกเข้าเรียนในคณะที่ตนเองต้องการเท่านั้น
การสอบ GAT-PAT จะจัดปีละ 3 ครั้ง ได้แก่ เดือนมีนาคม กรกฎาคม และตุลาคม ดังนั้นนักเรียนสามารถที่จะเลือกสอบได้ตามใจ และการสอบครั้งแรกจะเริ่มในเดือนมีนาคม 2552 โดยผู้ที่จะสมัครสอบต้องเป็นนักเรียนที่จบการศึกษาระดับม.ปลายแล้วเท่านั้น และคะแนนสอบ GAT และ PAT มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่สอบในแต่ละครั้ง
ส่วนลักษณะของข้อสอบการสอบ GAT และ PAT จะมีทั้งข้อสอบอัตนัยและปรนัย โดยผู้ออกข้อสอบจะเป็นอาจารย์จากคณะต่างๆ ในแต่ละ มหาวิทยาลัย ซึ่งรู้ว่าแต่ละคณะต้องการวัดอะไร ดังนั้นเรื่องมาตรฐานของข้อสอบจึงไม่ต้องห่วง และวัดคุณสมบัตินักเรียนได้ตามที่มหาวิทยาลัยต้องการแน่นอน
ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัคร GAT-PAT จนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ สมัครผ่านทางเว็บไซต์ www.niets.or.th และชำระค่าสมัครผ่านทางธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ ถึงวันที่ 31 ต.ค. 2551 รายวิชาละ 200 บาท
ส่วนการสอบ จะเริ่มสอบครั้งแรก วันที่ 7-15 มี.ค.2552
วันที่ 7 มี.ค. สอบ GAT และ PAT 1. ความถนัดทางคณิตศาสตร์
วันที่ 8 มี.ค. สอบ PAT 2. ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ และ PAT 3. ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
วันที่ 14 มี.ค. สอบ PAT 4. ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สอบ PAT 5. ความถนัดทางวิชาชีพครู
วันที่ 15 มี.ค. สอบ PAT 6. ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ สอบ PAT 7.1. ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน PAT 7.3. ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น PAT 7.4. ความถนัดทางภาษาจีน PAT 7.5. ความถนัดทางภาษาอาหรับ PAT 7.6. ความถนัดทางภาษาบาลี
สอบครั้งที่ 2 วันที่ 4-12 ก.ค. 2552
วันที่ 4 ก.ค. สอบ GAT และ PAT 1. ความถนัดทางคณิตศาสตร์
วันที่ 5 ก.ค. สอบ PAT 2. ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ สอบ PAT 3. ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
วันที่ 11 ก.ค. สอบ PAT 4. ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สอบ PAT 5. ความถนัดทางวิชาชีพครู
วันที่12 ก.ค. สอบ PAT 6. ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ สอบ PAT 7.1. ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส PAT 7.2. ความถนัดทางภาษาเยอรมัน PAT 7.3. ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น PAT 7.4. ความถนัดทางภาษาจีน PAT 7.5. ความถนัดทางภาษาอาหรับ PAT 7.6. ความถนัดทางภาษาบาลี
ส่วนการสอบครั้งที่ 3 วันที่ 10-18 ต.ค. 2552
วันที่ 10 ต.ค. สอบ GAT และ PAT 1. ความถนัดทางคณิตศาสตร์
วันที่ 11 ต.ค. สอบ PAT 2. ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ สอบ PAT 3. ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
วันที่ 17 ต.ค. สอบ PAT 4. ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สอบ PAT 5. ความถนัดทางวิชาชีพครู
วันที่ 18 ต.ค. สอบ PAT 6. ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ สอบ PAT 7.1. ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส PAT 7.2. ความถนัดทางภาษาเยอรมัน PAT 7.3. ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น PAT 7.4. ความถนัดทางภาษาจีน PAT 7.5. ความถนัดทางภาษาอาหรับ PAT 7.6. ความถนัดทางภาษาบาลี
โดยประกาศผลการสอบ ครั้งที่ 1 วันที่ 30 พ.ค. 2552 ครั้งที่ 2 วันที่ 30 ก.ย. 2552 ครั้งที่ 3 วันที่ 30 ธ.ค. 2552
ถึงตรงนี้คงจะรู้จัก GAT และ PAT กันดีแล้ว และผอ.สทศ. ฝากย้ำนักเรียนทุกคนเรื่องการสมัครสอบ GAT และ PAT ที่จะเป็นการสมัครสอบล่วงหน้า เพื่อเตรียมการในการจัดสอบ ดังนั้นขอให้นักเรียนวางแผนการสอบของตนเองให้ดี โดยดูว่าควรจะสอบครั้งไหนบ้าง และไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุกครั้งแม้ว่าจะเป็นสิทธิ ขอให้เลือกสอบในช่วงที่ตนเองพร้อมมากที่สุดเท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์
Advertisement
เปิดอ่าน 635 ครั้ง เปิดอ่าน 10,108 ครั้ง เปิดอ่าน 19,043 ครั้ง เปิดอ่าน 10,326 ครั้ง เปิดอ่าน 40,990 ครั้ง เปิดอ่าน 80,327 ครั้ง เปิดอ่าน 17,084 ครั้ง เปิดอ่าน 13,839 ครั้ง เปิดอ่าน 12,609 ครั้ง เปิดอ่าน 15,757 ครั้ง เปิดอ่าน 17,261 ครั้ง เปิดอ่าน 14,987 ครั้ง เปิดอ่าน 27,865 ครั้ง เปิดอ่าน 10,158 ครั้ง เปิดอ่าน 12,347 ครั้ง เปิดอ่าน 13,598 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 15,390 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,634 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,668 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,961 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,036 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,779 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 2,222 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,294 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,683 ครั้ง |
เปิดอ่าน 145,988 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,420 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,352 ครั้ง |
|
|