Advertisement
ผักมีวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย ในแต่ละวันเราควรบริโภคผักในทุกๆ มื้อ แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคผักบางชนิดก็ต้องรับประทานในประมาณที่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่ผักที่เราควรระวังในการบริโภคจะเป็นผักพื้นบ้าน เช่น ผักชีฝรั่ง มันสำปะหลัง ใบชะพลู ผักโขม ยอดพริกขี้ฟ้า หัวไชเท้า ใบกระเจี๊ยบ ใบยอ สาเหตุเพราะในใบ ยอด และต้นอ่อนของผักประเภทนี้มีกรดประเภทหนึ่งชื่อว่า กรดออกซาลิก (Oxalic Acid) เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย กรดจากผักเหล่านี้จะเข้าไปจับตัวกับแร่ธาตุชนิดอื่น เช่นโซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม หรือ โปแตสเซียม เป็นต้น กลายเป็นผลึกอ๊อกซาเลตประเภทต่างๆ ผลึกเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดนิ่วในไต และกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในภาคเกิดนิ่วไนไตและกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปเราไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกรดอ๊อกซาลิคเกินวันละ 22 กรัมต่อน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม หรือ 378มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ตามผลวิเคราะห์ดูปริมาณกรดออกซาลิคในผักปริมาณ 100 กรัม จากห้องปฏิบัติการของกองโภขนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผลวิเคราะห์จากต่างประเทศ พบปริมาณกรดออกซาลิคในผักดังกล่าวข้างต้นต่อน้ำหนักผัก 100 กรัม ดังนี้
ผักชีฝรั่ง (Parsley) 1700 มิลลิกรัม
มันสำปะหลัง (Cassava) 1260 มิลลิกรัม
ใบชะพลู 1088.4 มิลลิกรัม
ผักโขม (Spinach) 970 มิลลิกรัม
ยอดพริกชี้ฟ้า 761.7 มิลลิกรัม
หัวไชเท้า 480 มิลลิกรัม
ใบกระเจี๊ยบ 389.5 มิลลิกรัม
ใบยอ 387.6 มิลลิกรัม
ผักปัง 385.3 มิลลิกรัม
แพงพวย 243.9 มิลลิกรัม
โดยปกติ กรกออกซาลิกเกิดขึ้นได้เองจากกระบวนการ metabalism ของร่างกาย บางครั้ง แคลเซียมออกซาเลตอาจเกิดจากการได้รับวิตามินบางประเภท เช่นวิตามินซี ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ผลึกออกซาเลตก้อนเล็กๆ จะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่ผลึกที่มีขนาดใหญ่ประมาณเมล็ดถั่วขึ้นไป ไม่สามารถขับออกได้ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่ออวัยวะในร่างกาย เกิดอาการปวดท้อง ปวดบริเวณสีข้าง ปัสสาวะติดขัด ติดเชื้อ หรือปัสสาวะเป็นเลือด ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดหรือใช้เครื่องสลายนิ่ว การรับประทานผักดังกล่าวข้างต้นซ้ำๆ เป็นประจำ อาจะเป็นการเพิ่มออกซาลิกให้กับร่างกาย จึงควรลดความถึ่ในการรับประทานผักดังกล่าว และเพิ่มการรับประทานผักชนิดอื่นๆ แทน
ผักก็เหมือนกับอาหารประเภทอื่นๆที่เรารับประทาน แม้จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และมีการหมุนเวียนรับประทานไปเรื่อยๆ ไม่ควรรับประทานประเภทเดียวซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเสี่ยงต่อการสะสมของสารบางอย่าง จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ที่มา ... ศูนย์ผู้บริโภค CPF / women.thaiza.com
วันที่ 31 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,291 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,760 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,520 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,305 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,287 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,759 ครั้ง |
|
|