ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

?คอเลสเตอรอล? ....ไขมันแห่งชีวิต


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,167 ครั้ง
Advertisement

 ?คอเลสเตอรอล? ....ไขมันแห่งชีวิต

Advertisement



 คุณรู้เรื่อง  “คอเลสเตอรอล” ไขมันแห่งชีวิต ดีหรือยังคะ.....

       คอเลสเตอรอล คือ ไขมันประเภทหนึ่ง มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว พบได้ในเซลล์ของอวัยวะทั่วไปในร่างกาย จินตนาการง่ายๆ ว่าส่วนประกอบที่เป็นของเหลวในตัวเรา ล้วนมีคอเลสเตอรอลแทรกซึมเป็นเจ้าถิ่นอยู่ทุกอณู ไม่เว้นแม้แต่ส่วนสำคัญที่สุดอย่างก้อนไขมันทรงประสิทธิภาพที่เรียกว่า สมอง

      คอเลสเตอรอลมีบทบาทสำคัญหลายประการอย่างที่เราคาดไม่ถึง ทั้งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยในการส่งผ่านสารละลายต่างๆ เข้าออกเซลล์ หรือรับส่งสัญญาณมาสู่เซลล์ และยังเป็นสารตั้งต้นการสร้างน้ำดีสำหรับย่อยไขมันที่เรากินเข้าไป รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการผลิตสารจำพวกสเตียรอยด์ฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนที่ไปควบคุมระบบเกลือแร่และการทำงานของไต เป็นต้น

     ถ้าคุณคิดว่าคอเลสเตอรอลส่วนใหญ่มาจากอาหารแล้วล่ะก็ เปลี่ยนความคิดใหม่ได้เลย เพราะส่วนใหญ่แล้วตับของคุณสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นมาเอง และเพราะคอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดไม่ละลายในน้ำ ก่อนร่างกายนำไปใช้จึงต้องมีการรวมตัวเข้ากับโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อ อะโพโปรตีน (apoprotein) เพื่อเปลี่ยนรูปเป็นไลโพโปรตีน (lipoprotein) หน้าตาคล้ายไข่แดงที่ถูกหุ้มด้วยไข่ขาว หลังเสร็จสิ้นการเปลี่ยนรูปร่าง คอเลสเตอรอลในรูปแบบไลโพโปรตีนจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางกระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 

   คอเลสเตอรอลหายไปไหน

      นายแพทย์เจริญลาภ อุทานปทุมรส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 3 อธิบายว่า “คอเลสเตอรอลส่วนหนึ่งจะถูกนำไปสร้างเป็นน้ำดีหรือน้ำย่อย และอีกส่วนนำไปสร้างไลโพโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อ วีแอลดีแอล (VLDL: Very Low-Density Lipoprotein) ซึ่งประกอบไปด้วยไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์เป็นส่วนใหญ่ มีคอเลสเตอรอลอยู่เล็กน้อยพร้อมโปรตีนที่ช่วยให้มันละลายอยู่ในเลือดได้ ระหว่างทางที่วีแอลดีแอลเดินทางในเส้นเลือด จะมีเอนไซม์ที่ย่อยเอาไตรกลีเซอร์ไรด์ไปใช้ ซึ่งไตรกลีเซอร์ไรด์นี้ให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนถึง 2 เท่า ช่วยในการสร้างน้ำนม เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของกล้ามเนื้อและหัวใจ

      ไตรกลีเซอร์ไรด์ที่ใช้ไม่หมดจะถูกนำไปเก็บไว้ในไขมัน เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรอง เมื่อไตรกลีเซอร์ไรด์ถูกดึงออกไปจากวีแอลดีแอลหมดแล้วจะเหลือเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สุด ในชื่อ แอลดีแอล (LDL: Low-Density Lipoprotein) หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี แต่ยังมีประโยชน์คือ เมื่อผ่านไปถึงอวัยวะไหน ก็จะถูกดึงคอเลสเตอรอลไปใช้งานได้ทันที เมื่อวนครบทุกส่วนแล้วหากแอลดีแอลยังถูกใช้ไม่หมด ก็จะถูกลำเลียงเข้าสถานีสุดท้ายคือตับ ซึ่งตับก็จะนำแอลดีแอลที่เหลือนี้ไปสร้างเป็นวีแอลดีแอลอีกครั้ง เป็นวัฏจักรอย่างนี้เรื่อยไป 

   แอลดีแอล VS เอชดีแอล กำเนิดไขมันตัวร้าย ตัวดี

       จริงๆแล้วทั้งแอลดีแอลและเอชดีแอลมีที่มาเหมือนกัน คือเป็นคอเลสเตอรอลในรูปไลโพโปรตีน แต่แตกต่างกันที่น้ำหนักของโมเลกุล มวลที่มีโมเลกุลคอเลสเตอรอลมากกว่า เรียกว่า แอลดีแอล หรือไขมันตัวร้ายร้าย ที่แม้จะมีข้อดีอยู่บ้างแต่ข้อร้ายที่ปรากฎคือ นำไขมันและไตรกลีเซอร์ไรด์ออกจากตับไปสะสมไว้ตามหลอดเลือด สร้างปัญหาให้แก่หลอดเลือด

      คนที่กินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและคอเลสเตอรอล เมื่อรวมกับที่ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลออกมาตามปกติ จะทำให้วัฏจักรคอเลสเตอรอลในร่างกายไม่สมดุล คือมีมากจนเกินพอดี เหลือใช้ ตับทำลายไม่ทัน บางส่วนจึงเหลือรอดออกไปสะสมตามผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงบริเวณนั้นสูญเสียการทำงาน ทั้งตีบ ตัน หรือแตก เป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา

      ส่วนมวลที่มีโมเลกุลของคอเลสเตอรอลน้อยกว่า เรียกว่า เอชดีแอล (HDL: High density Lipoprotein) อุดมไปด้วยฟอสโฟลิพิด มีหน้าที่ทำความสะอาดหลอดเลือด เก็บคราบไขมันที่แอลดีแอลทิ้งไว้กลับคืนมาที่ตับ แล้วขับออกทางน้ำดี ส่วนหนึ่งจะถูกไฟเบอร์ในอาหารจับและขับออกทางอุจจาระ จะเปรียบเอชดีแอลว่าเป็นผู้พิทักษ์ความสะอาดก็คงไม่ผิดนัก

       นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งไขมันร้าย คอยเสริมการทำงานของแอลดีแอล นั่นคือ ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ที่คอยขัดขวางการทำงานของเอชดีแอล และเมื่อใดที่ร่างกายเรามีโรคอย่างความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน เจ้าไตรกลีเซอร์ไรด์และแอลดีแอล ก็พร้อมปฏิบัติการขั้นสุดยอด ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น จนอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ 

   อันตรายจากไขมันร้าย แอลดีแอล

       นพ.ธีระพร ไทยจินดา อายุรแพทย์สาขาประสาทวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เล่าว่าในคนปกติ ที่ไม่มีความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน แม้ผลตรวจร่างกายจะบอกว่าคุณมีปริมาณแอลดีแอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ทั้งยังมีค่าเอชดีแอลที่ต่ำ ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะเจ้าไขมันวายร้าย 2 ชนิดนี้ จะออกฤทธิ์วาดลวดลายได้ก็ต่อเมื่อร่างกายเรามีอาการของโรคสองชนิดข้างต้นเท่านั้น ถ้าเรายังแข็งแรงดีวายร้ายก็จะไม่มีพิษสงอะไรเลย แต่ถ้าคุณมีอาการของโรคใดโรคหนึ่ง หรือทั้งสองโรค กอปรกับอายุที่มากขึ้น แอลดีแอลก็จะได้ใจพร้อมทำร้ายอวัยวะสำคัญๆ อย่างหัวใจ สมอง และตับ ไต ได้อย่างน่ากลัว 

       คอเลสเตอรอลกับหัวใจ จากการวิจัยของต่างประเทศพบว่า คอเลสเตอรอลเริ่มสะสมตามหลอดเลือดหัวใจได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี และจะอันตรายยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลมากกว่าปกติ หากพบว่ามีความเสี่ยงดังกล่าวและผลตรวจร่างกายชี้ชัดว่ามีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง ควรรีบไปพบแพทย์ 

       คอเลสเตอรอลกับสมอง เมื่อคอเลสเตอรอลเข้าไปสะสมในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองไม่ว่าจะบริเวณใดก็ตาม จะก่อให้เกิดความผิดปกติบริเวณนั้นๆ เช่น หากเส้นเลือดบริเวณสมองส่วนควบคุมการทรงตัวเกิดตีบ ตัน หรือแตก ร่างกายก็สูญเสียการควบคุมการทรงตัว กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือพาร์คินสัน หากเกิดกับเส้นเลือดสมองส่วนควบคุมการรับรู้ อาจทำให้ความจำเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์ เป็นต้น แต่ก่อนที่อาการผิดปกติของเส้นเลือดจะส่งผลถึงสมอง มักจะเกิดขึ้นกับหัวใจก่อนเสมอ 

       คอเลสเตอรอลกับตับและไต หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับหรือไตเกิดอาการตีบ แตกหรือตัน ก็อาจทำให้ตับหรือไตสูญเสียการทำงาน ถึงขั้นตับวายหรือไตวายจนเสียชีวิตได้

      สรุปแล้ว คอเลสเตอรอลจะทำร้ายเราได้ต่อเมื่อเราเป็นโรคหรือเสี่ยงกับโรคอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และโดยธรรมชาติ คอเลสเตอรอลจะไปฝังตัวเป็นคราบอยู่ตามเส้นเลือดแดงหลักที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ การที่จะเกิดอันตรายใดๆ หรือรุนแรงแค่ไหน จึงขึ้นอยู่กับว่าเส้นเลือดที่มีปัญหานั้นอยู่บริเวณไหนและโดนทำลายไปมากเพียงใด คำเตือนที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดว่าถึงเวลาลดคอเลสเตอรอลหรือยัง จะอยู่ในสมุดรายงานการตรวจร่างกายประจำปีของคุณ นอกจากนี้
วิธีการป้องกันที่สุดคือ การออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน จะช่วยเพิ่มปริมาณเอชดีแอล เพื่อต่อกรกับแอลดีแอลและไตรกลีเซอร์ไรด์อย่างได้ผล

      ส่วนการควบคุมอาหารและรับประทานอาหารที่ให้แอลดีแอลต่ำก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ยังให้ผลน้อยกว่าการออกกำลังกายค่ะ













ที่มา ... นิตยสาร Health & Cuisine

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 26 ธ.ค. 2552

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


?คอเลสเตอรอล? ....ไขมันแห่งชีวิต

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

7คูณ7พลังมห้ศจรรย์...

7คูณ7พลังมห้ศจรรย์...


เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
การบริหารเชิงกลยุทธ์

การบริหารเชิงกลยุทธ์


เปิดอ่าน 8,825 ครั้ง
สุภาษิต อังกฤษ-ไทย

สุภาษิต อังกฤษ-ไทย


เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
การตรวจสอบผล.....แห่งบุญ

การตรวจสอบผล.....แห่งบุญ


เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องสร้างบารมี ..?

เหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องสร้างบารมี ..?

เปิดอ่าน 7,174 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เสียงเพลงกล่อมใจ...จากคุณอรวี..
เสียงเพลงกล่อมใจ...จากคุณอรวี..
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับ : ทานอาหารผสมกรอยให้ถูกวิธี
เคล็ดลับ : ทานอาหารผสมกรอยให้ถูกวิธี
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 7,715 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาพประกอบ
ภาพประกอบ
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

รักกับหลง ต่างกันอย่างไร มาดูกัน"
รักกับหลง ต่างกันอย่างไร มาดูกัน"
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณเป้นคนน่ารักหรือเปล่า (28 ข้อ)
คุณเป้นคนน่ารักหรือเปล่า (28 ข้อ)
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทราบหรือไม่ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง?
ทราบหรือไม่ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง?
เปิดอ่าน 13,757 ครั้ง

ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินการปฏิบัติงานของข้าราชการ และ[คำสั่งมอบอำนาจการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินการปฏิบัติงานของข้าราชการ และ[คำสั่งมอบอำนาจการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
เปิดอ่าน 19,345 ครั้ง

คุณรู้จริงหรือไม่ กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
คุณรู้จริงหรือไม่ กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เปิดอ่าน 9,802 ครั้ง

แนวทางดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
แนวทางดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
เปิดอ่าน 10,057 ครั้ง

วิธีกำจัดกลิ่น กระเทียมติดปาก
วิธีกำจัดกลิ่น กระเทียมติดปาก
เปิดอ่าน 15,485 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ