ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 11,014 ครั้ง
Advertisement

รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ

Advertisement

รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ มจธ.คว้ารางวัล 2 ปีซ้อน

การศึกษาวันนี้

คัคนานต์ ดลประสิทธิ์




ปัจจุบันนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ขับรถขณะอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอนตาพร่ามัว หรือมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้น สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงได้สร้างรถอัจฉริยะที่สามารถวิ่งบนถนนได้เองโดยมีระบบการตัดสินใจที่แม่นยำ เพื่อลดปัญหาและการสูญเสียที่เกิดจากอันตรายดังกล่าว

การนำความรู้จากห้องเรียนมาสู่การปฏิบัติของนักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะความรู้ด้านวิศวกรรมที่มีการจัดการเรียนการสอนแยกเป็นสาขาต่างๆ ขณะที่การสร้างผลงานสักชิ้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยความรู้จากสาขาต่างๆ มาประกอบกัน

ทีม Dark Horse หรือ ม้ามืด ประกอบด้วย นักศึกษาของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม และนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ. โดยมีอาจารย์ถวิดา มณีวรรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

โดยน.ศ.ทีมนี้ได้แสดงผลงานการประสานความรู้ และการปฏิบัติรวมถึงการทำงานร่วมกันของนักศึกษา มาสร้างผลงานรถอัจฉริยะ จนรับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ในการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) ปีที่ 2

ซึ่งสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยการสนับสนุนจากบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดขึ้น ซึ่งทีมม้ามืดได้คว้ารางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมมาครองเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน นอกจากนี้ ยังได้ทำระยะทางรวมเป็นลำดับที่ 3 (1,277 เมตร) อีกด้วย

สำหรับการแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ รอบคัดเลือกจากรายงานการออกแบบ โดยพิจารณาจากรายละเอียดในรายงานการออกแบบรถอัจฉริยะ

ส่วนรอบคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดด้วยความเร็วสูงสุดและวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุด 8 ทีม ที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 50,000 บาท

ในรอบชิงชนะเลิศ รถไร้คนขับจะต้องรู้ถึงสิ่งกีดขวางทั้งหมด รถไร้คนขับจะต้องวางแผนใหม่ เพื่อใช้เส้นทางอื่นหลีกเลี่ยงสิ่งที่กีดขวางที่ติดตั้งแบบบังคับและอย่างสุ่มหลีกเลี่ยงกีดขวาง ระหว่างทางในขณะที่ปฏิบัติภารกิจที่สลับซับซ้อนหลายบทบาทได้อย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การตัดสินทีมชนะเลิศจะพิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุด เร็วที่สุด ทีมที่ชนะเลิศในการแข่งขันจะได้รับเงินรางวัล 300,000 บาท ทีมรองชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท รวมทั้งรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย



ร.ท.ประสพชัย ศิลาอ่อน หรือพี่เบิ้ม อายุ 34 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หัวหน้าทีม กล่าวว่า ภายในทีมแต่ละคนก็มีงานในส่วนตัวเองรับผิดชอบและสัมพันธ์กับงานวิจัยที่ทำอยู่ด้วย ทั้งหมดเราทำงานภายใต้ขอบเขตขีดจำกัดของเวลาการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุด

1.ถวิดา มณีวรรณ์

2.ประสพชัย ศิลาอ่อน

3.รับขวัญ จิตต์ภักดี

4.อมรศรี กิจวงศ์วัฒนะ



ทั้งนี้ ภายในทีมแบ่งระบบงานออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ระบบเครื่องกล และระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งที่ภายในทีมให้ความสำคัญคืออุปกรณ์หรือเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ภายในประเทศและราคาไม่สูงมากนัก นำมาพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ประโยชน์สูงสุด

หัวหน้าทีม "Dark Horse" กล่าวถึงการก้าวเข้ามาร่วมทีมว่า เนื่องจากได้รับทุนการศึกษาจากทางกระทรวงกลาโหม (สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม) รวมทั้งอยากเข้ามาเรียนในสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามอยู่แล้ว ในช่วงรับราชการมีผู้ใหญ่ให้แนวความคิดที่จะทำรถลาดตระเวนแบบไร้คนขับ ตรงนี้เองจึงได้เข้าร่วมทีม

"การทำกิจกรรมรถอัจฉริยะ ผมมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ซึ่งเป็นระบบการควบคุมในส่วนล่าง รวมทั้งสนับสนุนประสานงานในส่วนอื่นๆ ของทีมอีกด้วย และสิ่งที่มากกว่ารางวัลการแข็งขัน คือการนำความรู้มาพัฒนาเป็นผลงาน การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือ การให้กำลังใจ โดยเฉพาะฟีโบ้นั้นเป็นแหล่งทรัพยากรความรู้เป็นอย่างดี สิ่งที่หวังลึกของผม อยากให้มีรถลาดตระเวนที่ใช้งานภายในกองทัพด้วย" ร.ท.ประสพชัย กล่าว

น.ส.รับขวัญ จิตต์ภักดี หรือ มด อายุ 26 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กล่าวถึงการพัฒนาตัวรถในปีแรก ว่า ในปีแรกนั้นจะใช้รถ Go-Cart มาดัดแปลง โดยใช้มอเตอร์กระแสตรงเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีเซ็นเซอร์หลัก ได้แก่ GPS เพื่อระบุตำแหน่งของรถ Potentiometer ใช้วัดองศาในการหมุนของพวงมาลัย แต่ในปีนี้ได้เปลี่ยนรถให้มีความใกล้เคียงกับรถทั่วไปที่ใช้บนท้องถนน คือใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ของมอเตอร์ไซค์เกียร์อัตโนมัติและเพิ่มเซ็นเซอร์ชนิดอื่นๆ เข้ามา อาทิ กล้อง 2 ตัว ซึ่งเปรียบเสมือนดวงตาให้กับรถ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นปัญหาทางเทคนิค เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในรถ ไม่ได้ประสิทธิภาพที่ต้องการ ซึ่งการแก้ไขปัญหาจะนำข้อเสียของอุปกรณ์มารวมกัน แล้วค่อยๆ ปรับแก้ไขทีละจุด นอกจากนี้ ยังมีสภาพอากาศที่ยังเป็นปัญหาอีกด้วย

"การก้าวเข้ามาร่วมทีม "Dark Horse" เนื่องจากมีความสนใจเทคนิคหุ่นยนต์ แต่จริงๆ แล้วยังไม่มีความรู้ด้านการผลิตหุ่นยนต์ ในขณะนั้นอาจารย์ถวิดาได้ชักชวน ก็เลยได้เข้ามาอยู่ในทีม ซึ่งมีหน้าที่ดูแลระบบเซ็นเซอร์ทั้งหมด สำหรับคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่น จนได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม มีหลายจุด อาทิ การเลือกใช้เซ็นเซอร์ที่ราคาถูก แต่นำมาดัดแปลงให้การใช้งานมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเซ็นเซอร์ที่มีราคาแพงได้" น.ส.รับขวัญ กล่าว



น.ส.อมรศรี กิจวงศ์วัฒนะ หรือ แอน อายุ 25 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กล่าวว่า มีหน้าที่ดูแลเรื่องระบบคอนโทรลรถทั้งหมด ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นและแรงจูงใจส่วนตัวที่สนใจเกี่ยวกับงานด้านหุ่นยนต์อยู่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและต้องใช้ศาสตร์จากหลายๆ ด้านและเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมนุษย์มากยิ่งขึ้น เมื่อเปิดรับสมัครสมาชิกทีมมาร่วมทำงานวิจัยรถอัจฉริยะ จึงได้สมัครเข้ามาร่วมทีม เพราะเห็นว่าเป็นงานวิจัยทางหุ่นยนต์ที่ท้าทาย เนื่องจากเป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ ต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้จากหลายสาขามาผนวกกัน อีกทั้งเป็นงานที่เน้นนำมาใช้งานจริง ในสภาพแวดล้อมจริง ไม่ได้ทำเพื่อทดลองในห้องวิจัยแล้วจบไป สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้

"แม้ทีมเราจะไม่ได้รางวัลชนะเลิศ แต่ทีมเราได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม 2 ปีติดกัน แสดงให้เห็นว่าถึงแม้เราไม่ได้ชนะในแง่ของผลการแข่งขัน แต่ระบบการทำงานของรถทีมเราที่ได้ออกแบบและสร้างมานั้น มีคุณค่าและโดดเด่นในแง่ของความสามารถในการคิดหาวิธีการ ซึ่งนำมาใช้ตอบโจทย์ของการแข่งขันได้ดี จึงเป็นสิ่งที่ทางทีมเรามีความภาคภูมิใจในรางวัลที่ได้รับอย่างมาก" น.ส.อมรศรี กล่าว

ด้านอาจารย์ถวิดา มณีวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวว่า สอนวิชาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ซึ่งการสอนนั้นจะมีประสิทธิภาพต้องสอนวิธีปฏิบัติด้วย เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานกันเป็นทีม โดยนำความรู้ที่ได้จากการเรียนทฤษฎีมาลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งการผลิตรถอัจฉริยะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งวิทยานิพนธ์ของทุกคนจะเกี่ยวข้องกับการผลิตรถอัจฉริยะทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตรถอัจฉริยะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้ เช่น นำไปเป็นหน่วยลาดตระเวนทางภาคใต้ เป็นต้น

สังคมอาจจะมองว่าการผลิตรถอัจฉริยะของนักศึกษาไม่ได้ประโยชน์ การแข่งขันผลิตรถอัจฉริยะในต่างประเทศก็มีเหมือนกัน ซึ่งต่างประเทศจะใช้งบประมาณในการผลิตเป็นจำนวนมาก แต่ของประเทศไทยสามารถใช้งบประมาณที่ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับต่างประเทศ มันเป็นสิ่งที่นักศึกษาไทยทำได้

"สิ่งที่ได้จากการผลิตรถอัจฉริยะขึ้นมานั้น ไม่ได้เฉพาะรถเท่านั้น แต่นักศึกษาได้มีความรู้ ทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้ถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกัน ก็เป็นการพัฒนาศักยภาพของตัวนักศึกษาให้เกิดขึ้น ในวงการการศึกษาของประเทศไทย ที่ไม่ใช่เรียนแต่ในห้องเรียนอย่างเดียว "อาจารย์ถวิดากล่าว

Dark Horse จึงเป็นรถที่พัฒนาจากห้องเรียนมาสู่สนามแข่ง



ข้อมูลทางเทคนิค DARK HORSE

เครื่องยนต์นั้นถูกดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์ ระบบเกียร์อัตโนมัติ ขับเคลื่อนล้อหลัง มีขนาด 110 CC กำลัง 8 แรงม้า

ส่วนระบบเซ็นเซอร์ที่ใช้มี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1.Encoder ได้แก่ Rear wheel encoder ติดอยู่ที่เพลาของล้อหลัง เพื่อวัดระยะทางและความเร็วของรถ และ Steering encoder เพื่อใช้วัดมุมการหมุมของพวงมาลัย

2. Ultrasonic ใช้ทั้งหมด 4 ตัว ซึ่งจะติดตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้าของรถ เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง

3. GPS 4 ตัว เพื่อระบุตำแหน่งที่อยู่ของรถว่าอยู่ ณ ตำแหน่งใด บนพื้นโลก

4. กล้อง 2 ตัว ติดตั้งบริเวณด้านหน้าของรถ เพื่อรักษาตำแหน่งให้รถเคลื่อนที่โดยไม่ตกถนนและตรวจจับเครื่องหมายจราจร

สำหรับอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ในรถประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ Acceleration controller ใช้ micro controller ปรับตำแหน่งของ servo motor เพื่อควบคุมการเปิดปิดวาล์วจ่ายน้ำมันให้กับเครื่องยนต์ เป็นผลทำให้เกิดการเร่งหรือผ่อนของรถ Steering controller ใช้ micro controller ปรับตำแหน่งของ DC motor ที่ใช้หมุนพวงมาลัย Central control processing ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวประมวลผลส่วนกลาง เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของ acceleration controller และ steering controller และรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ทุกชนิด เพื่อนำมาวิเคราะห์และควบคุมให้รถวิ่งบนถนนได้อย่างถูกต้อง

เทคนิคการหยุดรถกรณีฉุกเฉินนั้นมีระบบเบรกฉุกเฉินทั้งที่ติดตั้งอยู่บนตัวรถและเป็นระบบไร้สาย เพื่อให้คนที่อยู่นอกรถสั่งการให้รถหยุดสำหรับระบบที่ติดตั้งอยู่บนตัวรถนั้น ได้ติดสวิตช์ Emergency stop ที่ power switch ของรถ สำหรับตัดต่อการจ่ายไฟในส่วนควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ ส่วนระบบ Emergency stop ไร้สายนั้น ใช้การควบคุมผ่านคลื่นวิทยุ เพื่อตัดต่อวงจรที่ power switch ของรถเช่นกัน

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000 บาท ประกอบด้วย เครื่องยนต์ บอร์ดวงจร drive มอเตอร์ เซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ Encoder กล้อง และอื่นๆ

ส่วนกลยุทธ์การแข่งขันนั้น จะใช้เซ็นเซอร์ทั้งหมดทำหน้าที่เป็นตัวเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เพื่อควบคุมให้รถสามารถวิ่งอยู่บนถนนได้โดยไม่ออกนอกเส้นทาง และใช้กล้องเป็นตัวตรวจจับสิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร และป้ายจราจร


ข่าวสดรายวัน 11 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6496


รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ผมสวยด้วยผักสวนครัว

ผมสวยด้วยผักสวนครัว


เปิดอ่าน 20,528 ครั้ง
จัดโต๊ะทำงาน ตามฮวงจุ้ย

จัดโต๊ะทำงาน ตามฮวงจุ้ย


เปิดอ่าน 37,159 ครั้ง
หลักในการออกแบบสวน

หลักในการออกแบบสวน


เปิดอ่าน 13,849 ครั้ง
9 ตุลาคม วันไปรษณีย์โลก

9 ตุลาคม วันไปรษณีย์โลก


เปิดอ่าน 10,495 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ชวนรู้เรื่อง "มะเร็งลำไส้"

ชวนรู้เรื่อง "มะเร็งลำไส้"

เปิดอ่าน 11,065 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การดูแลสุขภาพหน้าฝน ทำได้ง่ายๆ
การดูแลสุขภาพหน้าฝน ทำได้ง่ายๆ
เปิดอ่าน 10,464 ☕ คลิกอ่านเลย

8 การออกกำลังดีที่สุด และแย่ที่สุดสำหรับหัวใจ
8 การออกกำลังดีที่สุด และแย่ที่สุดสำหรับหัวใจ
เปิดอ่าน 12,399 ☕ คลิกอ่านเลย

4 สมุนไพร สยบโรค
4 สมุนไพร สยบโรค
เปิดอ่าน 20,864 ☕ คลิกอ่านเลย

ค้นพบโลกใบที่ 2 มีอุณหภูมิไม่ร้อนไม่หนาวจนมากเกินไป
ค้นพบโลกใบที่ 2 มีอุณหภูมิไม่ร้อนไม่หนาวจนมากเกินไป
เปิดอ่าน 12,988 ☕ คลิกอ่านเลย

กรมสุขภาพจิตชี้ตั้งชื่อลูกตามสุภาพบุรุษจุฑาเทพไม่มีพิษภัย
กรมสุขภาพจิตชี้ตั้งชื่อลูกตามสุภาพบุรุษจุฑาเทพไม่มีพิษภัย
เปิดอ่าน 11,942 ☕ คลิกอ่านเลย

ครีมหอยทาก คืออะไร ทำไมสาว ๆ ฮิตกันจัง
ครีมหอยทาก คืออะไร ทำไมสาว ๆ ฮิตกันจัง
เปิดอ่าน 12,461 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
เปิดอ่าน 3,371 ครั้ง

ทำไมสัตวแพทย์ต้องดึงหนังระหว่างหัวไหล่ของสุนัข
ทำไมสัตวแพทย์ต้องดึงหนังระหว่างหัวไหล่ของสุนัข
เปิดอ่าน 11,521 ครั้ง

ทุเรียนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทุเรียนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เปิดอ่าน 1,480 ครั้ง

ใบหน้าที่หายไป หายไปได้ยังไง ชมคลิปเลยครับ
ใบหน้าที่หายไป หายไปได้ยังไง ชมคลิปเลยครับ
เปิดอ่าน 13,753 ครั้ง

วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก
เปิดอ่าน 67,807 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ