Wildlife
-----งานสำรวจเก็บตัวอย่าง
สัตว์ป่าในประเทศไทยได้เริ่มโดยคณะนักวิจัยต่างประเทศ
... ครั้งแรก
ในช่วงสัปดาห์
วันคุ้มครอง
สัตว์ป่าแห่งชาติ 26 ธันวาคม
... รัฐได้จัดตั้ง
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการ
อนุรักษ์สัตว์ป่าเพื่อการส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจ
...
www.wcd13phrae.com/wildlife_kum.html - แคช - ใกล้เคียง
ความเป็นมาของวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
ในอดีตประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการทำลายป่าและล่าสัตว์มากขึ้น เป็นผลให้แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่าถูกทำลาย สัตว์ป่าถูกล่าจนมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าหลายชนิดเกือบจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ป่าในขณะนั้น มีเพียง พระราชบัญญัติรักษาช้างป่า ร.ศ.1199(พ.ศ.2443) เท่านั้น ยังไม่มีการคุ้มครองสัตว์ป่าอื่น ๆ ต่อมาในปีพ.ศ.2503 รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น คือพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ทรงลงนามในพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2503
ปี พ.ศ.2535 ได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ใหม่ โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มาตรการต่างๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสมดังวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ประกอบกับจำเป็นจะต้องเร่งรัดการขยายพันธุ์สัตว์ป่าและให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าควบคู่กันไป
และเนื่องจากปัจจุบันได้มีความตกลงระหว่างประเทศในการที่จะร่วมมือกันเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของท้องถิ่นอันเป็นทรัพยากรทีสำคัญของโลก ดังนั้นเพื่อปรับปรุงให้มาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ สมควรปรับปรุงกฏหมายนี้
และต่อมาได้ถือเอาวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ” อย่างไรก็ตาม สัตว์ป่าในธรรมชาติก็ยังคงถูกไล่ล่า และลดจำนวนลงเรื่อยๆ ภารกิจ ของผู้มีหน้าที่ในการปกป้องชีวิตสัตว์ป่ามีมากขึ้น การทำงานเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ลำพังเพียงเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วนฝ่าย ประสานร่วมมือกันทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน เยาวชน และองค์กรเอกชนต่าง ๆ
การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงห่วงใยต่อทรัพยากรป่าไม้ ทรงให้คำแนะนำและแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์เสมอมา โดยได้เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางประเภทได้ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอาจเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้สัตว์ป่าคงอยู่คู่กับโลกต่อไป
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปณิธานอันแรงกล้า ได้ทรงสนทนากับชาวบ้านให้มีความรัก ห่วงใยต่อแทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และชีวิตของสัตว์ป่าดังปรากฏในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่พระองค์ได้เสด็จทรงงานในท้องถิ่นทุรกันดาร
เพื่อเผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสูญเสีย ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกรักและหวงแหนและช่วยกันปกป้องทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้คงอยู่ตลอดไป โดยงดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า ให้ความเมตตาแก่สัตว์ป่า งดล่าสัตว์ป่า และร่วมปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่อิสระภาพ ได้แก่
- การจัดนิทรรศการ บรรยาย จัดทำเอกสาร แผ่นพับ แผ่นภาพ
- ประกวดคำขวัญ ประกวดภาพถ่าย
- ส่วนกลาง ดำเนินการโดยสำนักสารนิเทศร่วมกับสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
- ส่วนภูมิภาค ดำเนินการโดยสำนักงานป่าไม้ทุกเขต
ความเป็นมาของวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
สัตว์ป่าสงวน
การกำหนดสัตว์ป่าสงวนครั้งนี้ได้ตัดเนื้อทรายออก เพราะสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธ์ และเพิ่มชนิดสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์เข้าไป รวมทั้งสิ้นทั้ง 15 ชนิด ประกอบไปด้วยสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม 8 ชนิด ได้แก่
1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ( Psedochelidon sirintarae )
นกนางแอ่นชนิดหนึ่งที่พบได้เพียงบริเวณบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพียงแห่งเดียวในโลก และเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นชนิดหนึ่ง ขนาดวัดจากปลายจงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ 15 ซม. จะอพยพมาที่บริเวณบึงบอระเพ็ด ในฤดูหนาว อยู่รวมกับนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ชอบนอนในพงหญ้าตามใบอ้อ และใบสนุ่น กินแมลงเป็นอาหาร
2. แรด ( Rhinoceros sondaicus )
สัตว์อีกชนิดที่พบได้ในธรรมชาติได้ยากยิ่ง ในเมืองไทยไม่พบแรดในธรรรมชาตินานนับสิบปีแล้ว สถานการณ์ประชากรแรดในประเทศอื่นๆ ก็ย่ำแย่ไม่แพ้กัน มีรายงานว่าเคยพบแรดในธรรมชาติที่บริเวณป่าชายแดนไทย พม่า ลงไปทางใต้ แต่ก็มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น
แรด เป็นสัตว์กีบคี่ มีกีบข้างละสามกีบ ความสูงที่ระดับไหล่ 1.70-1.75 เมตร น้ำหนัก 1,500-2,000 กก. ความยาวหัว-ลำตัว 300-320 เซนติเมตร หางยาว 70 เซนติเมตร ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 16 เดือน เอกลักษณ์สำคัญคือมีนอเดียว แรดตัวเมียตัวใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ไม่มีนอ
แรดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยถือสันโดษมากจะออกหากินเพียงลำพังเสมอ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์หรือช่วงที่แม่แรดต้องเลี้ยงดูลูกเล็กของมัน แรดชอบอาศัยอยู่ในป่าฝนที่แน่นทึบ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ชอบนอนแช่ในปลัก ตามโคลนตมและหนองน้ำ แม้แรดจะมีสายตาไม่ดี แต่มันมีหูและจมูกดีมาก ชอบกินใบไม้ ยอดอ่อน และผลไม้สุก
3. กระซู่ ( Didermocerus sumatrensis )
เป็นสัตว์ในสายพันธ์แรด ที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาแรด 5 ชนิดของโลก มี 2 นอ ความสูงที่ระดับไหล่ 1 - 1.4 เมตร น้ำหนัก 900 - 1,000 กิโลกรัม มี 2 นอ มีประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นดีมาก ปีนเขาได้เก่ง อาหารหลัก คือ กิ่งไม้ ใบไม้และผลไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7 - 8 เดือน ปัจจุบันหายากมาก คาดว่าน่าจะพบได้ในบริเวณป่าทึบตามแนวพรมแดนไทย-พม่า และชายแดนไทย-มาเลเซีย
4. กูปรี หรือโคไพร ( Bos sauveli )
เป็นสัตว์ป่าตระกูลเดียวกับกระทิงและวัวแดง มีความสูงที่ไหล่ 1.7 - 1.9 เมตร หนักประมาณ 700 - 900 กิโลกรัม อยู่รวมกันเป็นฝูง 2 - 20 ตัว มีนิสัยปราดเปรียว ตัวเมียมีเขาลักษณะเป็นวงเกลียว และเป็นผู้นำฝูงในการหากินและหลบหนีเหล่าศัตรู ส่วนจ่าฝูงจะเป็นตัวผู้ที่ขนาดตัวใหญ่ที่สุด ที่ปลายเขาของตัวผู้ที่โตเต็มที่ มักจะมีลักษณะแตกเป็นพู่ เพราะความที่มันใช้เขาแทงดินในการหาอาการกิน
อาหารของมันคือหญ้า ใบไม้ และบางคราวก็กินดินโป่งบ้าง ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9-10 เดือน พบได้เพียงในไทย ลาว เขมร และเวียดนามเท่านั้น และด้วยความที่มีเขาสวยงามเป็นต้องการของนักสะสม ทำให้มีราคาแพง จึงไม่แปลกที่ กูปรีจะลูกไล่น่าจนเสี่ยงต่อการสูญพันธ์
5. ควายป่า ( Bubalus bubalis )
มันคือ บรรพบุรุษของควายบ้าน ถึงแม้จะมีขนาดของลำตัวที่ใหญ่โตกว่าควายบ้าน มีความสูงที่ไหล่ 1.6 - 1.9 เมตร หนักประมาณ 800 - 1,200 กิโลกรัม แต่ทว่ามันสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างปราดเปรียวมาก เอกลักษณ์ของควายป่า คือขาทั้งสี่ข้างที่มีสีขาวเหมือนใส่ถุงเท้า แต่จะสังเกตได้ยากเพราะตามธรรมชาตินั้น ควายป่ามักชอบนอนแช่และลุยปลักโคลน เพื่อป้องกันแมลงรบกวน ทำให้ถุงเท้าของมันสกปรกจนมองไม่เห็น ควายป่าออกหากินเป็นฝูง อาหารของมันคือ ใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 10 เดือน ปัจจุบันพบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เท่านั้น
6. ละอง หรือละมั่ง ( Cervus eldi )
ละองและละมั่งเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน ละอง เป็นชื่อเรียกตัวผู้ ส่วนละมั่งเป็นชื่อเรียกตัวเมีย ตัวเล็กกว่าละอง และไม่มีเขา ละองและละมั่งมีสามสายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัสสัม ของประเทศอินเดีย สายพันธุ์ตามินของประเทศพม่า (thamin) อยู่ในเขตป่าแคตทิน และอีกสายพันธุ์ คือ ละมั่งพันธุ์ไทย (Siamensis) อยู่ในแถบ เทือกเขาพนมดงรักในประเทศไทย และพบในประเทศจีน
ละองและละมั่งเป็นกวางขนาดกลาง เล็กกว่ากวางป่า รูปร่างสวยงามมาก ความสูงที่ระดับไหล่ 110 เซนติเมตร ความยาวหัว-ลำตัว 150-180 เซนติเมตร หนัก 150 กิโลกรัม หางยาว 20-30 คอเรียวระหง ขนกลางสันหลังสีดำ ในฤดูร้อนขนมีสีน้ำตาลแดง แต่พอในฤดูหนาวสีนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเข้ม ละองค่อนข้างสีเข้มกว่าละมั่งเล็กน้อย ขนหยาบ เขาของละองโค้งยาวไปด้านหลังแล้วตีวงม้วนมาด้านหน้า เขาจะโตเต็มที่เมื่ออยู่ในฤดูผสมพันธุ์บางตัวเขาอาจยาวถึง 2 เมตร มีกิ่งสั้น ๆ ที่ปลายเขา ส่วนใหญ่มี 12 กิ่ง แต่บางตัวอาจมีมากถึง 20 กิ่ง ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องประมาณ 7-8 เดือน
กวางชนิดนี้ไม่ชอบป่าทึบ แต่ชอบป่าเปิดใกล้ลำธารหรือหนองน้ำ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวก็เหมาะแก่การเพาะปลูกเช่นกัน เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินอาหารหลายชนิด เช่น พืชน้ำ ใบไม้ ใบหญ้า ยอดไม้ ผลไม้ และชอบกินดินโป่งเช่นเดียวกับกวางป่า ชอบอยู่ตาม ป่าเปิดใกล้ลำธารหรือหนองน้ำปัจจุบันทั้งละองและละมั่ง ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว แต่ก็คาดกันว่าอาจมีเหลือตาม บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ชายแดนไทย-พม่า
7. สมัน หรือเนื้อสมัน ( Cervus schomburgki )
สัตว์สัญชาติไทยแท้ พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ทว่าได้สูญพันธ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในอดีตพบได้ตามราบต่ำในภาคกลางของประเทศไทย ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมันตัวสุดท้ายในธรรมชาติ เป็นตัวผู้ที่มีเขาสวยงาม ถูกยิงตายโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในปี พ.ศ.2475 และสมันตัวสุดท้ายในโลก ถูกชายขี้เมาคนหนึ่งตีตายในปี 2481
สมันเป็นกวางขนาดกลาง ความสูงที่ไหล่ 1 เมตร เฉพาะสมันตัวผู้เท่านั้นที่มีเขา และเป็นเขาทีได้รับการยอมรับว่าเป็นเขาของสัตว์ที่สวยงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เขาของสมันจะแตกแขนงเมื่อโตเต็มวัย ลักษณะของเขาจะตีวงกว้าง แตกกิ่งมาก คล้ายสุ่มที่หงายขึ้นจึงเรียกว่า "กวางเขาสุ่ม" อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตามทุ่งโล่งป่าโปร่ง หรือทุ่งหญ้าน้ำแฉะ ชอบกินยอดหญ้าอ่อน ผลไม้และใบไม้
และด้วยความที่มีเขาสวยใหญ่ทำให้สมันไม่ชอบอยู่ตามป่าทึบ เพราะเขาจะถูกเถาวัลย์เกี่ยวพันได้ นี่จึงเป็นเหตุให้ตกเป็นเป้าของเหล่าผู้ล่าได้ง่าย
8. เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ ( Capricornis sumatraensis )
สัตว์ที่มีเขาสวยงาม จึงทำให้ถูกล่าจนลดจำนวนลงอย่างมาก เลียงผาเป็นสัตว์กีบคู่มีเขาจำพวกแพะ ความสูงที่ไหล่ 85 - 94 ซ.ม. หนักประมาณ 85 - 140 กิโลกรัม. อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผา หรือถ้ำตื้น มีความปราดเปรียวและมีความสามารถสูงในการเคลื่อนที่ตามหน้าผาสูงชัน อีกทั้งสามารถว่ายน้ำข้ามระหว่างเกาะ และแผ่นดินได้ มีประสาทตา หู และรับกลิ่นได้ดีมาก ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7 - 8 เดือน
9. กวางผา ( Naemorhedus griseus )
มีลักษณะคล้ายแพะ ความสูงที่ระดับไหล่ 50-70 ซม. น้ำหนักประมาณ 20-32 กก. มีขาแข็งแรงสามารถกระโดดตามชะง่อนผาได้อย่างว่องไวและแม่นยำ พบตามยอดเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี ออกหากินพืชตามสันเขาและหน้าผาหิน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6-8 เดือน อายุประมาณ 8-10 ปี ปัจจุบันกวางผาหาได้ยากมากพบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จ.ตาก
10. นกแต้วแล้วท้องดำ ( Pitta gurneyi )
เป็นนกที่มีขนาดลำตัววัดจากจงอยปากถึงโคนหางยาว 21 ซม. อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบที่ราบต่ำ ชอบทำรังบนกอระกำ และกอหวาย อาหารของมันคือไส้เดือน ชื่อของมันมาจากเสียงร้อง "แต้ว แต้ว" ขณะตกใจ และในการประกาศอาณาเขตและร้องหาคู่มันจะส่งเสียงร้อง "วัก วัก" ปัจจุบันเราสามารถพบนกชนิดนี้ได้แห่งเดียวในโลก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม (เขานอจู้จี้) จ.กระบี่ และ มีแนวโน้มว่านกแต้วแล้วท้องดำใกล้จะสูญพันธุ์ในไม่ช้า เพราะการถูกบุกรุกถิ่นที่อยู่อย่างรุนแรง
11. นกกระเรียน ( Grus antigone )
ปัจจุบันถือว่านกกระเรียนพันธุ์ไทยได้สูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะมีผู้พยายามนำมันมาเพาะเลี้ยงเพื่อคืนสู่ธรรมชาติเพียงไร แต่ยังพบในประเทศลาวและเขมร
นกกระเรียนอยู่ในตระกูลนกบินได้ขนาดใหญ่ที่สุด สูงประมาณ 150 ซม. วางไข ่ครั้งละ 2 ฟองพบตาม พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นแหล่งหากินและทำรังวางไข่ มันกินแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ เมล็ดพืช และต้นอ่อนของพืชน้ำเป็นอาหาร และที่ทำให้มันสูญพันธ์ได้ง่ายนั้นก็เพราะ มันเป็นสัตว์ที่ความผูกพันกับคู่สูงมาก จะจับคู่อยู่ด้วยกันจนกว่าจะตายจาก และยังเป็นนกที่ขยายพันธุ์ได้น้อย ใช้เวลาถึง 3 ปี กว่าจะถึงวัยเจริญพันธุ์ วางไข่เพียงคราวละ 1-2 ฟอง และเมื่อฟักเป็นตัว ก็ยังต้องดูแลลูกน้อยจนกว่าจะช่วยตัวเองได้ นานถึง 9-10 เดือน จากนั้นพ่อและแม่จึงจะแยกไปผสมพันธุ์ใหม่ กระเรียนพี่น้องสองตัวสุดท้ายของไทย เป็นตำนานที่ปิดฉากลงที่ทุ่งกะมัง เมื่อกระเรียนผู้น้องที่เดียวดาย หลังจากที่ตัวพี่หายไป ได้ถูกพบเป็นซากถูกสัตว์ผู้ล่ากัดกิน ใกล้ๆกับบ้านเกิดของมันนั้นเอง
12. แมวลายหินอ่อน ( Pardofelis marmorata )
เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 4-5 กก. อยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ชอบอยู่บนต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน ชอบกิน แมลง งู นก หนู รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก พบได้เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน
13. สมเสร็จ ( Tapirus indicus )
ประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก ชอบออกหากินในเวลากลางคืนตามที่รกทึบ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 13 เดือน น้ำหนักประมาณ 250-300 กก. เป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก มีจมูกเหมือนงวงช้าง รูปร่างเหมือนหมู เท้าเหมือนแรด พบบริเวณป่าชายแดนไทย-พม่า ตลอดลงไปจนถึงภาคใต้ของไทย
14. เก้งหม้อ ( Muntiacus feai )
สัตว์ในตระกูลกวางที่ขึ้นชื่อว่าหายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ลักษณะคล้ายเก้งธรรมดาแต่สีคล้ำกว่า หนักประมาณ 18-21 กิโลกรัม ความยาวลำตัว 88 เซนติเมตร สีตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง ทางด้านบนสีดำที่สันหลังเข้มกว่าที่อื่น ๆ ตัดกับสีขาวที่ด้านหน้าท้องอย่างชัดเจน เก้งหม้อตัวผู้มีเขาสั้น เขาแต่ละข้างมีสองกิ่ง กิ่งหน้าสั้นกว่ากิ่งหลัง โคนเขามีขนดำหนาคลุมรอบและระหว่างโคนเขามีขนสีเหลืองฟูเป็นกระจุก จึงมีชื่ออีกชื่อว่า “กวางเขาจุก” เก้งหม้อตัวผู้มีเขี้ยวยาวไว้ใช้ต่อสู้ เขี้ยวโค้งออกด้านหน้าเช่นเดียวกับเก้งทั่วไป
พบบริเวณเทือกเขาตระนาวศรีชายแดนไทย-พม่า และ สุราฎร์ธานี ชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ๆ มักพบอยู่ในป่าดิบทึบตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น กินใบไม้ หญ้าและผลไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกตามพุ่มไม้ทึบ ลูกเก้งจะซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ จนกระทั่งเริ่มจะเดินตามแม่ได้
15. พะยูน หรือหมูน้ำ ( Dugong dugon )
เป็นสัตว์ทะเลไม่ใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง น้ำหนักประมาณ 300 กก. ชอบอยู่รวมกันตามท้องทะเลชายฝั่ง อยู่รวมกันเป็นเป็นฝูง กินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามบริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 1 ปี จำนวนของพะยูนลดลงอย่างมาก เพราะติดอวนของชาวประมง และแหล่งอาหารสำคัญคือ หญ้าทะเลถูกทำลาย ปัจจุบันสามารถพบได้เพียงที่บริเวณเกาะลิบงและหาดเจ้าไหม จ.ตรัง
แนวทางในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
การล่าสัตว์เป็นภัยคุกคามต่อประชากรสัตว์ป่า แต่ที่สำคัญที่สุดการลดจำนวนของที่อาศัยนั้น คือ ภัยคุกคามที่หนักหนาสาหัสที่สุดสำหรับสัตว์ป่า อนุรักษ์สัตว์ป่าจึงอยู่บนแนวทางแห่งการอนุรักษ์ผืนป่า (Wildlands) เป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพของสัตว์ป่า ถิ่นที่อยู่อาศัย และสิ่งที่จำเป็นสำหรับสัตว์ป่า
กลยุทธ์และแนวทางดำเนินการอนุรักษ์สัตว์ป่า ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับผืนป่าในพื้นที่ต่างๆของโลก อาจมีทั้งการการกำหนดอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยยึดหลักความต้องการของสัตว์ป่า เป็นตัวกำหนดผืนป่าเพื่อการอนุรักษ์ มิใช่กำหนดการอนุรักษ์ตามขอบเขตบริหารเพียงอย่างเดียว การลดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ กับสัตว์ป่า เมื่อมนุษย์ในโลกเริ่มมีการขยายพื้นที่ล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่า เช่น โครงการการสำรวจช้างเอเซียและการลดปัญหาขัดแย้งคนกับช้างป่า ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประเทศไทย เพราะพืชและสัตวป่าบางชนิดมีความเปราะบางต่อการรบกวนของมนุษย์ เพียงมีคนรบกวนเล็กน้อยก็อาจทำให้สูญพันธุ์ได้ อีกทั้งการใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สัตว์ป่าไทย ทั้งเทคโนโลยีด้านพันธุกรรม การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์ป่ารวมทั้งถิ่นอาศัย และด้วยความที่งบประมาณและแรงงานคนทำงานในการอนุรักษ์มีจำกัด ดังนั้นการกำหนดลำดับความสำคัญในการอนุรักษ์ และพัฒนาให้เกิดความคุ้มค่าจึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนัก
เพราะมนุษย์ผู้ก้าวล้ำเข้าไปเบียดเบียน และสัตว์ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ การคุ้มครองสัตว์ป่าจึงเป็นสำนึกที่เราควรรับผิดชอบต่อธรรมชาติ
ข้อมูลและภาพประกอบจาก
มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย
Wildlife Conservation Society in Thailand
มูลนิธิโลกสีเขียว
มูลนิธิสืบนาคะเสถีย
บ้านเราทำบ้าง ???? หรือครูติ๋วไม่เคยเห็น????
Our cards are carefully selected to provide images from many artists, museums and galleries around the world. They come in a protective clear wrapper together with an envelope.
The latest designs are towards the end of the page (and old favourites are at the beginning).
Click on the image thumbnail for a larger version and the card title.