อันดับที่ 10 กรวยความชื้นที่อยู่ล้อมรอบยาน Ares I-X ของ NASA เหนือ
Kennedy
Space
Center ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยกรวยดังกล่าวนี้เรียกว่า Subsonic Boom Cloud สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อยานอวกาศบินหรือเครื่องบินบินเร็วพอที่จะทำให้อากาศรอบๆ ตัวมันเย็นลง ทำให้ความชื้นในอากาศเกิดการควบแน่น โดยยาน Ares I-X นี้วิ่งด้วยความเร็ว 4 เท่าของความเร็วเสียง ยาน Ares I-X เป็นต้นแบบของยาน Ares I ที่จะใช้ในการเดินทางไปในอวกาศแทนกระสวยอวกาศแบบเก่า
อันดับที่ 9 เป็นรูปดาวหางลูลิน (Lulin) ที่ถ่ายติดกิ่งไม้สีแดงใน Virginia's Shenandoah National Park ซึ่งดาวหางดวงนี้เดินทางเข้าใกล้โลกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ระยะทาง 61 ล้านกิโลเมตร และจากวงโคจรที่เกือบจะเเป็นรูปพาราโบลา นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าการมาเยือนของดาวหางครั้งแรกนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้ายด้วยเช่นกัน จากมุมของการมาเยือนทำให้เราสามารถมองเห็นหางที่สองของดาวหางดวงนี้ ซึ่งมีทิศหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่มันอยู่ใกล้ๆ กับโลก น้ำแข็งที่ระเหย รวมไปถึงไซยาโนเจน และ ไดอะตอมมิกคาร์บอน ทำให้เรามองเห็นหางของมันเรืองแสงเป็นสีเขียวสวยงามเมื่อสะท้อนกับแสงอาทิตย์
อันดับที่ 8 กล้อง HiRISE บนยาน Mars Reconnaissance Orbiter ได้ถ่ายภาพเนินทรายที่ก่อตัวเป็นคลื่นๆ บริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า Noctis Labyrinthus ใกล้ๆ กับเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคารในเดือนสิงหาคม แสดงให้เห็นสีจางๆ ของชั้นซัลเฟตที่ทำให้เกิดเหล็ก และโคลนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุ
อันดับที่ 7 นักดาราศาสตร์ได้เปิดเผยภาพที่ถ่ายกลุ่มดาวเกิดใหมี R136 จากกล้องอวกาศ Hubble ในเดือนธันวาคมก่อนวันหยุดยาวนี้เอง ซึ่งกลุ่มดาวเกิดใหม่นี้อยู่ใน Large Magelanic Cloud (LMC) ซึ่งเป็นกาแลกซี่เพื่อนบ้านของเรา จากภาพ สีแดงๆ ที่เห็นคือก๊าซไฮโดรเจน ส่วนสีเขียวด้านบนขวานั้นเป็น ออกซิเจน อยู่ล้อมรอบดาวเกิดใหม่สีฟ้า ซึ่งบางดวงมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราเป็นร้อยเท่า
อันดับที่ 6 ดวงจันทร์ดวงน้อย Rhea เคลื่อนที่อยู่หน้าวงแหวนของดาวเสาร์ ทำให้มันดูเหมือนเป็นไข่มุกเม็ดงามประดับแหวนวงนี้ ภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายจากยาน Cassini ในเดือนพฤศจิกายน ยาน Cassini นี้ตั้งตามชื่อนักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน Giovanni Domenico Cassini ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร์ดวงนี้ในปี 1672 และในปี 2008 นักวิทยาศาตร์ประกาศว่าดวงจันทร์นี้อาจจะเป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่มีระบบวงแหวนรอบตัวมันเองอีกด้วย
อันดับที่ 5 ภาพนี้เป็นถาพแรกของกล้องอวกาศ Hubble ที่ถ่ายไว้หลังจากมีการปรับปรุงตัวกล้องในเดือนกันยายน เป็นการระเบิดของดาวที่กำลังจะตายกลายเป็น planetary nebulae เกิดคอสมิกรูปผีเสื้อ อยู่ห่างจากเราไป 3,800 ปีแสง แผ่นกรองแสงในกล้องอวกาศนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบอก องค์ประกอบทางเคมี อุณหภูมิ ความหนาแน่น และสถานะก่อนตายของดาวดวงนี้ได้อย่างแม่นยำ ดาวที่อยู่ตรงกลางปีกที่เห็นนี้เคยมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา 5 เท่า และในเวลา 2,000 ปีที่ผ่านมา มันก็ได้ขับก๊าซที่เป็นเปลือกนอกของดาวออกไปเป็นปีกซึ่งมีความยาวทั้งสองข้างรวมกันประมาณ 2 ปีแสง
อันดับที่ 4 ไม่ใช่หอกจากสวรรค์ลงมาฟาดฟันใครที่ดูไบแต่อย่างใด แต่เป็นภาพฝนดาวตกเจ้าประจำ Geminid ถ่ายในทะเลทราย Mojave รัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนธันวาคมนี้เอง Geminids เป็นดาวตกที่ดูช้ากว่าดาวตกอื่นๆ เพราะว่าองค์ประกอบทางเคมีทำให้ระยะเวลาการเผาไหม้กับชั้นบรรยากาศโลกนั้นนานกว่า ทำให้มักจะเห็นเป็นเส้นโค้งประดับท้องฟ้าอย่างสวยงามในยามค่ำคืน
อันดับที่ 3 แอ่ง Tanezrouft ทางตอนใต้ของภาคกลางของประเทศ
Algeria เป็นบริเวณที่ว่างเปล่าที่สุดของทะเลทรายซาฮารา สีขาวเป็นเกลือที่ดูเหมือนจะละลายลงมาทับหินทรายสีเข้มกว่าทางด้านล่าง ส่วนสีเหลืองๆ ทางมุมบนขวานั้นเรียกว่า Erg Mehedjibat ซึ่งเป็นเนินทรายที่ก่อตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะก่อตัวออกไปทางด้านข้าง ภาพนี้ถ่ายโดย ESA (European Space Agency) ร่วมกับ ดาวเทียมสำรวจพื้นที่ของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน ซึ่งจะทำการถ่ายภาพพื้นผิวโลกด้วย visible light และ near-infrared
อันดับที่ 2 คลื่นช็อคเวฟ (shock wave) ในอวกาศนี้ทำหน้าที่เหมือนเครื่อง LHC ที่กำลังทำการทดลองอยู่ที่ CERN คือเป็นตัวเร่งอนุภาคที่มีประสิทธิภาพแรงทีเดียว ถ่ายโดยกล้องโทรทัศน์ Chandra ช็อคเวฟนี้กำลังคลับเคลื่อนสิ่งที่หลงเหลืออยู่จากการระเบิดซูเปอร์โนวา RCW 86 เห็นเป็นรูปด้านบนทั้งในระบบ X-ray และ visible light แม้ว่าคลื่นช็อคเวฟนี้จะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วแต่มันก็ไม่ได้ทำให้ก๊าซที่อยู่รอบๆ มีอุณหภมิสูงอย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับไปเพิ่มกำลังอนุภาคภายในคลื่นช็อคเวฟนี้เคลื่อนที่เร็วขึ้นเกือบจะเท่ากับความเร็วแสง
อันดับที่ 1 กระสวยอวกาศ Atlantis เคลื่อนที่ผ่านหน้าดางอาทิตย์ในเดือนพฤษภาคม ก่อนที่กระสวยอวกาศนี้จะต่อกับกล้องอวกาศ Hubble เพื่อให้นักบินอวกาศได้ทำงานแบบ space walk เพื่ออัพเกรดตัวกล้อง ภาพนี้ถ่ายโดย Thierry Legault ด้วยโทรทรรศที่ใช้แผ่นกรองแสงอาทิตย์
ที่มา/source: http://news.nationalgeographic.com/news/2009/12/photogalleries/best-space-news-pictures-2009/index.html
http://www.oknation.net/blog/sciences/2009/12/25/entry-1