วิธีดำเนินการ
ตอนที่ 1 ศึกษาผลการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 5 เรื่องนำสื่อที่สร้างเสร็จแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินเพื่อหาค่า IOC และประเมินคุณภาพของสื่อ
2. นำสื่อไปให้นักเรียนทดลองใช้ 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 นำสื่อไปให้นักเรียนที่เรียนอ่อน 4 คนศึกษาบทเรียนที่ครูสร้างและสังเกตพฤติกรรม
นำข้อเสนอแนะไปแก้ไขปรับปรุง
ระยะที่ 2 นำสื่อที่ปรับปรุงแล้วไปให้นักเรียนที่เรียนอ่อน 7 คน ศึกษาบทเรียนที่ครูสร้างและสังเกตพฤติกรรม นำข้อเสนอแนะไปแก้ไขปรับปรุง
ระยะที่ 3 นำสื่อที่ปรับปรุงแล้วไปหาประสิทธิภาพ1 ห้อง จำนวน 10 คน
ตอนที่ 2 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ระยะที่ 1 การศึกษาผลการสอบกลางปีนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ฉบับที่ 1 ไปทดสอบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบกลางปีภายหลังที่นักเรียน เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 5 เรื่อง เสร็จสิ้นแล้วนำกระดาษคำตอบของนักเรียนทั้งหมด นำคะแนนมาวิเคราะห์หาความมีนัยสำคัญระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยการทดสอบค่าที ( t-test ) แยกที่ละเรื่อง
ระยะที่ 2 การศึกษาผลการสอบปลายปี
นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับที่ 2 ไปทดสอบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบปลายปี ภายหลังที่นักเรียนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 5 เรื่อง เสร็จสิ้นแล้วนำกระดาษคำตอบของนักเรียน นำคะแนนมาวิเคราะห์ หาความมีนัยสำคัญระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยการทดสอบค่าที (t – test) แยกทีละเรื่อง
ตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ผู้รายงานนำแบบประเมินความถึงพอใจไปให้นักเรียนประเมินหลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ทุกเรื่อง
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์ ) รหัส ง 23101 เรื่อง การประดิษฐ์หัวสัตว์ด้วยกระดาษ ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4.นักเรียน.มีความความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับดีมาก
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 10 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบเจาะจง แบ่งเป็น
2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้หาประสิทธิภาพจำนวน 4 คน เป็นนักเรียนที่ยังไม่เคยเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาก่อน
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชางานประดิษฐ์ รหัส ง23101 จำนวน 5 เรื่อง
2. แบบประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. แบบทดสอบกลางปี และแบบทดสอบปลายปี
4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าเฉลี่ย ()
2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
3. ค่า t-test
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมหัวหุ่นไม้ มะกอก
การตัดไม้มะกอกแห้ง ด้วยเลื่อยตัดไม้ ในแนวเฉียง45 องศา แล้วนำมาถากด้วยมีดให้เป็นรูป ส่วนหัว และส่วนลำคอ
ของหุ่นไม้
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมกระดาษ
- นำกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษที่ไม่ใช้แล้วมาแช่น้ำให้เปียกแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน จึงเอากระดาษออกมาทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ ต่อจากนั้นใช้มีดตัดกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆแช่น้ำไว้ในกะละมังหรือถังน้ำแล้วจึงนำเข้าเครื่องปั่นกระดาษซึ่งมีเครื่องหมุนแกนใบพัดคมมีด ถ้าไม่มีเครื่องปั่นก็ใช้ฆ้อน ทุบกระดาษให้แตกละเอียดหรือใช้มีดสับกระดาษให้ละเอียด
ขั้นตอนที่ 3 การปั่นกระดาษ
การปั่นกระดาษให้ละเอียดกระดาษที่เครื่องปั่นจนละเอียด เก็บใส่ถังไว้รอการปั้นหัวสัตว์
ขั้นตอนการปั้น
ขั้นตอนที่4 การปั้นด้วยกระดาษ
สังเกตเค้าโครง ที่ทำเสร็จแล้วดูภาพนี้ ให้จินตนาการและเก็บรายละเอียดลูกตาทำด้วยลูกปิงปอง ขอบตาทำให้เกิดรอยคลื่นหยักโดยรอบตามรอยย่นของผิวหนัง
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนสุดท้าย คือการทาสี
การทาสีขอบตา
- สีตามขอบตา ในร่องใบหู รอบคอด้านล่าง จะใช้โทนสีจากสีอ่อนไปหาสีเข้ม ระหว่างรอยต่อของแต่ละสีจะใช้แปรงทาสีแตะน้ำมันเบนซินไล้สี
ให้เข้ากัน เมื่อทาสีเสร็จแล้วทิ้งไว้วันต่อมาจึงทายูรีเทน เคลือบเงาซึ่งจะป้องกันแมลงสาบมาแทะกินสีหรือกระดาษ ป้องกันมอดไม้ได้ด้วย
ข้อเสนอแนะ การขีดเขียนลายคล้ายขนของสัตว์
1. ใช้ไม้ปลายแหลมขีดลวดลาย โดยเริ่มต้นที่ท้ายทอยของหัวสัตว์
2. วิธีการ ครูสาธิต นักเรียนสังเกต คือ กดปลายไม้แหลมลากยาวประมาณ ครั้งละ 1-2 เชนติเมตร
3. เส้นและลวดลายที่เกิดขึ้น มีทั้งเส้นโค้ง เส้นตรง เป็นไปตามลักษณะของ ส่วนต่างๆของหัวสัตว์
การทาสีขอบตา
- สีตามรอบคอด้านล่าง จะใช้โทนสีจากสีอ่อนไปหาสีเข้ม ระหว่างรอยต่อของแต่ละสีจะใช้แปรงทาสีแตะน้ำมันเบนซินไล้ท์สีให้เข้ากัน เมื่อทาสีเสร็จแล้วทิ้งไว้ 1 วันต่อมาจึงทายูรีเทน เคลือบเงาซึ่งจะป้องกันแมลงสาบมา แทะกินสีหรือกระดาษป้องกันมอดไม้มากินได้ด้วย
นำหัวหุ่นไม้มาตั้งบนโต๊ะนักเรียนสังเกต และดูรูปที่ทำเสร็จแล้วประกอบด้วย มีขั้นตอนคือ
1 นำกระดาษผสมกาวมาทำเป็น แผ่น หนาประมาณ 1-2 เชนติเมตร
2. แบ่งงานกัน ทำกระดาษเป็นแผ่นเก็บไว้ คอยส่งให้เพื่อนที่กำลังปั้น การปั้นเริ่มจากส่วนคอไปหาส่วนของหัว
3. สังเกตหัวสัตว์ที่ครูสาธิตการปั้น นักเรียนคอยซักถาม ฝึกปฏิบัติ
4. ใช้กระดาษที่ทำเป็นแผ่น ปะติดห่อหุ้มช่วงลำคอและส่วนใบหูของหัวหุ่นไม้สังเกตจากภาพ
ครูชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์ )
การประดิษฐ์หัวสัตว์ด้วยกระดาษ
โรงเรียนบ้านห้วยแก้วมิตรภาพที่ 51
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1
โทร 0857089745
โรงเรียนบ้านห้วยแก้ว ฯ 054 - 740280