Advertisement
คนที่ไม่รู้จักพอ ย่อมไม่มีเก้าอี้ตัวไหน..นั่งสบายสำหรับเขา
:hiku:
ความสุขและความทุกข์
มีพื้นฐานมาจากความรู้สึกรับรู้และพอใจภายใน
สำหรับเรานั้น ความพอใจภายในสำคัญกว่า
เป็นสิ่งพิเศษของมนุษย์
ด้วยข้อยกเว้นบางประการ
ทำให้สัตว์ไม่อาจมีประสบการณ์เช่นนี้
------------
แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา
แม้มิได้เป็นหงส์ทนงศักดิ์ ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา
แม้มิได้เป็นแม่น้ำคงคา ก็จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น
แม้มิได้เป็นมหาหิมาลับ จงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น
แมมิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญ ก็จงเป็นวันแรงอันแจมจาง
แม้มิได้เป็นต้นสนระหง จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง
แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง จงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดี
อันจะเป็นอะไรนั้นไม่แปลก ย่อมผิดแผกดีงาม ตามวิถี
ประกอบกิจบำเพ็ญให้เด่นดี สมกับที่ตนเป็นเช่นนั้นเทอญ
เป็นบทประพันธ์ที่สะท้อนความงดงามของชีวิตโดย ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ที่บ่งบอกถึงความงามอันเกิดจากความรู้สึกพอ พอดีที่เห็นตนเป็นเช่นนี้ พอใจที่จะเรียนรู้ในความเป็นตัวเอง เป็นบทประพันธ์ที่อ่านแล้วรู้สึกดีกับชีวิตของตัวเองทกครั้ง เป็นเสมือนภาพที่ช่วงส่องสะท้อนชีวิตว่าบางครั้งความสุขที่มีอยู่ในตัวเรานั้นมีมากมายมหาศาล แต่เราไม่เคยใส่ใจที่จะค้นหา จึงทำให้ความสุขจากความพอใจที่มีอยู่ในตนค่อยๆล่องลอยออกไปจากชีวิตอย่างน่าเสียดาย
ผู้อ่านลองทำความเข้าใจในชีวิตดูว่า แท้จริงแล้วการที่เราแสวงหาสิ่งต่างๆมาไว้ในครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง เงินทองมาโอบล้อมชีวิตนั้นเพื่ออะไร? ถ้ามิใช่เพื่อตอบสนองให้ตัวเองมีความรู้สึกดีๆต่อสิ่งที่ได้มา ถึงแม้บางครั้งสิ่งที่ได้มานั้นอาจจะดูด้อยราคา แต่ทำไมกลับสามารถทำให้เป็นสุขมากกว่าสิ่งที่เราบอกว่ามีค่าเกินจะประมาณ เมื่อทบทวนต้นเหตุท่ตอบสนองความรู้สกึให้เอิบอิ่ม คำตอบกลับปรากฏอยู่ที่ว่า "เพราะสิ่งนั้นทำให้เรารู้สึกพอใจ"
ความรู้สึกพอใจถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดของความสุขในชีวิต เพราะเมื่อเปรียบเทียบในวันที่เรายิ่งใหญ่ ประสบความสำเร็จในด้านเกียรติยศชื่อเสียง แต่กลับเดียวดายจากความรู้สึกดีๆในตัวเองและคนรอบข้าง วัตถุที่มีค่ามหาศาลจะไม่มีคุณค่าอะไรเลยในความรู้สึก รังแต่จะเป็นกำแพงกั้นระหว่างมิตรต่อมิตรด้วยซ้ำไป ไม่มีใครกล้ากระโดดข้ามกำแพงไปเกี่ยวก้อยให้เกิดมิตรภาพด้วย เพราะเขามองว่าเราอยู่สูงเกินกว่าที่จะเอื้อมถึงและสมานฉันท์เช่นเดิมได้
เมื่อความห่างไกลทางความรู้สึกเข้ามาครอบงำจิตใจ คนใกล้ก็จะเป็นคนไกล ความรู้สึกที่เคยสนิทสนมก็จะตีจากเพื่อออกห่าง ก่อให้เกิดเป็นความอ้างว้างท่ามกลางกองแห่งเกียรติยศที่มี เมื่อเป็นเช่นนี้การเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยความรู้สึก พอดี พอใจ และพอเพียงต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต จึงเป็นวิธีการที่คนเราควรใส่ใจ เพื่อรับมือกับสิ่งที่ผ่านเข้ามาโดยให้เกิดความพอดีแก่ชีวีอันมีค่านี้
สมเด็จเท็นซิน กยัตโส องค์ดาไลลามะที่ ๑๔ แห่งประเทศทิเบต ตรัสไว้ว่า
"ความสุขและความทุกข์มีพื้นฐานมาจากความรู้สึกรับรู้และพอใจภายใน สำหรับเรานั้น ความพอใจภายในสำคัญกว่า เป็นสิ่งพิเศษของมนุษย์ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ ทำให้สัตว์ไม่อาจมีประสบการณ์เช่นนี้"
เพราะความรู้สึกพอดีและพอใจนั้น เป็นเสมือนกับสิ่งที่ได้ถูกวางไว้อย่างถูกที่และเหมาะสม ไม่ทำให้อารมณ์กระโดดผิดจังหวะของการรับรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามาในใจ เป็นความพอดีแห่งจิตที่ได้รับรู้ด้วยอาการกลางๆ ไม่ซัดส่ายอารมณ์ไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือเปรียบเช่นกับการเล่นดนตรี หากความพอดีของตัวโน้ตขาดไปตัวใดตัวหนึ่ง ความไพเราะแห่งดนตรีนั้นย่อมอันตรธานไป ทว่าพอปรับตัวโน้ตให้เข้าเป็นจังหวะที่สมดุลต่อกันและกัน ดนตรีจังหวะเดิมกลับปรากฏเป็นความไพเราะอย่างน่าประทับใจ
ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน หากปรารถนาที่จะให้ความสุขประทับรอยลงในความรู้สึก สิ่งที่ต้องเรียนรู้อยู่เสมอก็คือ การสร้างชีวิตให้มีความพอดีและสมดุลทั้งทางกายและจิตใจ คือเรียนรู้ที่จะเข้าใจกายอย่างรู้หน้าที่ด้วยการใช้กายนั้นให้พอเหมาะ เรียนรู้ที่จะเข้าใจจิตใจที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดอย่างรู้เท่าทัน กระทั่งเรียนรู้ที่จะสานสัมพันธ์ระหว่างกายและใจ ให้รู้จักทำงานร่วมกันด้วยความสมดุลและป็นมิตรต่อกัน
การเรียนรู้ชีวิตให้เกิดความพอดีและพอใจในสิ่งที่มีอยู่นั้น อาจเปรียบได้กับการนั่งเก้าอี้ในท่ามกลางวงล้อมของเก้าอี้อีกหลายร้อยตัวและหลายชนิด ในขณะที่เข้าไปหาที่นั่งได้ตามที่ตัวเองต้องการแล้ว ใหม่ๆเรามักจะรู้สกึยินดีว่ามีที่นั่งแล้ว นั่งตรงไหนก็คงจะสบายเช่นกัน ครั้นเวลาผ่านไปสายตาะเริ่มมองไปยังเก้าอี้อีกหลายร้อยตัว ใจที่ไม่นิ่งพอในการที่จะเลือกว่าจะนั่งที่เดิมดีหรือไม่ ก็จะเริ่มปั่นป่วนในความรู้สึก ทำให้ความต้องการที่จะลุกไปเพื่อเลือกนั่งที่ดีกว่าเพิ่มทวีขึ้น และก็จะตัดสินใจลุกไปนั่งที่ใหม่ที่คิดว่าน่าจะดีกว่าเดิม
ทว่าหลังจากตัดสินใจลุกไปและเลือกที่นั่งที่คิดว่าดีที่สุดนั้นแล้ว ครั้นเวลานานเข้าผนวกกับใจที่อยู่นิ่งไม่ค่อยเป็น ใจดวงเดิมก็จะเริ่มทำงานด้วยเหตุผลที่ประเดประดังเข้ามา เพื่อเปลี่ยนที่นั่งใหม่ๆตามความต้องการนั้นอยู่เสมอ เป็นเหตุที่ให้เราต้องลุกแล้วลุกอีก เลือกแล้วเลือกอีก กระทั่งสุดท้ายก็ตอบไม่ได้ว่าที่นั่งใดดีที่สุดสำหรับตัวเอง
แต่ถ้าสามารถควบคุมใจที่ช่างเลือกได้แล้ว การนั่งก็จะเป็นไปเพื่อการใช้สอยประโยชน์ ไม่ว่าจะนั่งตรงไหน ตรงนั้นแหละคือที่ที่เหมาะสมสำหรับเรา เพราะมองเห็นความพอดีที่มีจิตเป็นผู้ออกความเห็นว่ามีความเหมาะสมแล้ว จึงไม่ต้องจินตนาการมองหาสิ่งที่รออยู่ข้างหน้าอีกต่อไป เพราะเรียนรู้ที่จะเข้าใจอารมณ์ที่คอยบงการให้เราเปลี่ยนไปตาม อย่างรู้เท่าทัน
ปราชญ์ท่านจึงกล่าวอุปมาไว้ว่า "สำหรับคนที่ไม่รู้จักพอ ไม่มีเก้าอี้ตัวไหนนั่งสบายสำหรับเขา" เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า ชีวิตของคนเรานั้นมิได้อยู่ที่ว่าได้สิ่งใดมาไว้ในครอบครองมากหรือน้อยเพียงใด แต่อยู่ที่ว่าใครจะอยู่กับสิ่งที่นั้นด้วยความพอใจหรือไม่ นั่นเป็นเหตุผลสะท้อนให้เห็นว่า ชีวิตที่ไม่มีวิธีการเรียนรู้ให้มีความพอดีต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามา ย่อมไม่สามารถตอบสนองให้ชีวิตมีความสุขอย่างแท้จริงได้
ตรงกันข้ามกับคนที่เรียนรู้ชีวิตอย่างเข้าใจ รู้จักวางอารมณ์อย่างพอเหมาะต่อสิ่งที่เกี่ยวข้อง การสัมพันธ์กับสิ่งที่มีไม่ใช่อยู่ที่มีมากหรือน้อยอีกต่อไป แต่จะอยู่ที่การรู้จักวางความรู้สึกต่อสิ่งนั้นด้วยใจอย่างไรต่างหาก ด้วยเหตุนี้ความรู้สึกพอใจและพอดีต่อสิ่งที่เกี่ยวข้อง จึงอำนวยความสุขมาให้เสมอ
------------------------------
__________________
http://www.watthummuangna.com
วันที่ 24 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,636 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,405 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,418 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,178 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,545 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,548 ครั้ง |
เปิดอ่าน 166,243 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,929 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,384 ครั้ง |
|
|