เทคโนโลยีการศึกษาของศาสดามูฮัมหมัด
ปัจจุบัน ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีการศึกษาคนส่วนใหญ่จะนึกถึงและปราบปลื้มกับเทคโนโลยีการ ศึกษาที่สร้างขึ้นโดยชาวยุโรปที่มิใช่มุสลิม โดยหารู้ไม่ว่าแท้ที่จริงแล้วเทคโนโลยีการศึกษาในอิสลามนั้นได้ถูกประยุคมา ตั้งแต่สมัยท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมแล้ว เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจัง เกี่ยวกับเทคนิคการเรียนการสอนของท่านนบีศ็อเลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รู้แถบบ้านเรา
แน่นอนเราไม่คัดค้านหรือต่อต้านในสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญ จากยุโรปได้ทุ่มเทพลังกายและพลังใจเพื่อค้นหาเทคโนโลยีการศึกษาใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน แต่สิ่งที่น่าเสียใจก็คือเรากลับมองข้ามแบบอย่างที่ดีของเราไปอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่รูปแบบหรือเทคโนโลยีการศึกษาที่ชาวยุโรปได้ประยุกต์ขึ้นมานั้นส่วนใหญ่จะสอดคล้องและเคยปฏิบัติมาแล้วในประวัติการดะอฺวะฮฺอิสลามของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม อันเป็นครูตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการประสาทความรู้มากที่สุดจนเป็นที่ยอมรับของชาวโลกทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม โดยเฉพาะชาวยุโรปเอง เมื่อ 1400 กว่าปีมาแล้ว
ด้วยเหตุนี้ท่านมุอาวียะฮฺ บุตร อัลหะกัม อัสสุละมีย์ ซึ่งเป็นเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งได้กล่าวชมเชยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ว่า “ฉันขอสาบานว่า ฉันไม่เคยพบเห็นครูท่านใดที่ทำการสอนสั่งได้ดีกว่าท่านนบีและไม่เคยพบเห็น ครูท่านใดทำการอบรมตักเตือนดีกว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม”. (มุสลิม,เศาะหีหฺมุสลิม หมายเลข 537)
และเรื่องราว ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของผู้เขียนเพื่อรวบรวม เทคนิคและเทคโนโลยีการเรียนการสอนของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมในการ ประสาทความรู้ และให้การอบรมบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านตลอดช่วงเวลา 23 ปี แห่งการดะอฺวะฮฺ.
1. สร้างแรงกระตุ้นและปลุกเร้าให้ผู้เรียนสนใจการเรียน
1.1 บอกถึงความประเสริฐของความรู้และผู้แสวงหา
ท่านกล่าวว่าความว่า “ผู้ใดเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงทำให้เขาพบกับความสะดวก ในหนทางสู่สวนสวรรค์ บรรดามลาอิกะฮฺจะคลุมปีกของเขาเพราะพอใจต่อผู้แสวงหาความรู้ และแท้จริงบรรดาสรรพสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดินจะทำการขออภัยโทษ ให้แก่ผู้รู้แม้กระทั่งปลาต่างๆที่อาศัยอยู่ในน้ำ...” (อบูดาวูด หมายเลข 3641, อัตติรมิซีย์ หมายเลข 2683,2684)
1.2 ให้ผู้เรียนตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของวิชาความรู้
ครั้งหนึ่งมีชาวชนบทคนหนึ่งละหมาดไม่ถูกต้อง ครั้งเมื่อเขาเข้ามัสยิดเขาก็ทำการละหมาดอย่างที่เคยกระทำ เสร็จแล้วก็หันไปให้สลามแก่ท่านนบี แล้วนบีตอบว่า “จงกลับไปละหมาดใหม่ แท้จริงเจ้ายังไม่ได้ละหมาด” ชาวคนนั้นก็กลับไปละหมาดใหม่เสร็จแล้วก็มาหานบีอีก แต่ทุกครั้งที่เขามาหานบี นบีก็สั่งให้กลับไปละหมาดใหม่และบอกว่าเขายังไม่ได้ละหมาด จนเขาเกิดท้อใจและอยากทราบว่าแท้จริงการละหมาดที่ถูกต้องนั้นเป็นเช่นไร ดังนั้นเขาจึงกล่าวแก่ท่านนบีว่า “ฉันขอสาบานด้วยพระนามของผู้ที่บังเกิดท่านด้วยสัจธรรม ฉันไม่สามารถจะทำให้ดีกว่านี้ได้อีกแล้ว ดังนั้นโปรดสอน(วิธีการละหมาดที่ถูกต้อง)แก่ฉัน”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 757,793, มุสลิม หมายเลข 883)
2. ทำการสอนแบบบูรณาการ
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมไม่เพียงเป็นครูผู้สอนที่คอยประสาทความรู้ต่างๆแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺเท่านั้น ท่านยังเป็นนักอบรมจริยธรรมที่สูงส่งอีกด้วย ดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนของท่าน ท่านจะทำการประสาทความรู้ควบคู่กับการอบรมจริยธรรมไปด้วย
อัลลอฮฺทรงตรัสความว่า “พระองค์(อัลลอฮฺ)ทรงเป็นผู้ส่งรสูลท่านหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขาเอง เพื่อทำการอ่านอายาตต่างๆของพระองค์แก่พวกเขาและทรงขัดเกลา(จริยธรรมแก่)พวกเขาให้ผุดผ่อง...”. (สูเราะฮฺ อัลญุมุอะฮฺ อายะฮฺที่ 2)
3. มีหลักสูตรและเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
ในการให้การอบรมสั่งสอนบรรดาเศาะหาบะฮฺนั้นท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำการสอนพวกเขาเกี่ยวกับปัญหาด้านวิชาการเท่านั้น แต่ทว่าท่านยังทำการอบรมในปัญหาต่างๆทั่วไป นับตั้งแต่ปัญหาที่เล็กที่สุดไปจนถึงปัญหาที่สำคัญที่สุด ทั้งที่เป็นปัญหาส่วนตัว ครอบครัว สังคมและการเมือง เช่นเดียวกับวิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนของท่าน ท่านจะมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ไม่ยึดติดเฉพาะการอภิปรายเท่านั้น ดังจะได้ประจักษ์ต่อไปนี้
3.1 สอนให้รู้จักสังเกตถึงสิ่งที่เป็นต้นเหตุและที่มาของบัญญัติ
ครั้งหนึ่งเมื่อท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมถูกถามเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน ซื้อขายอินทผาลัมสดกับอินตภาลัมแห้ง ท่านถามกลับว่า “อินทผาลัมสดจะลดลงไหมเมื่อมันแห้งลง?”. บรรดาเศาะหาบะฮฺจึงตอบว่า “แน่นอน”. ท่านจึงตอบว่า “ดังนั้นก็จงอย่าแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างทั้งสอง”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 2198, มุสลิม หมายเลข 1555)
แน่นอนว่าทุกคนต่างทราบ ดีถึงสัจธรรมที่ว่าผลไม้สดทุกอย่างเมื่อแห้งลงจะทำให้ทั้งผลและน้ำหนักลดลง ด้วย แต่ที่ท่านถามขึ้นเช่นนั้น เพื่อต้องการสอนให้บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านให้รู้จักถึงสาเหตุและที่มาของ บัญญัติการซื้อขายดังกล่าว
ในขณะที่ท่านนบีศ็อลลัล ลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมสั่งห้ามบรรดาเศาะหาบะฮฺไม่ให้ทำการซื้อขายผลไม้ก่อนสุก ท่านได้กล่าวแก่พวกเขาว่า “เจ้ารู้มั้ยว่าเมื่ออัลลอฮฺทรงยับยั้งมิให้ผลไม้(สุกและเก็บเกี่ยวได้) ดังนั้นด้วยเหตุผลใดเล่าที่เจ้าจะรับเอาทรัพย์สินของพี่น้องของเจ้า?”. (มุสลิม หมายเลข 1006)
ทั้งสองตัวอย่างข้างต้นเป็น การสอนของท่านแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺถึงสาเหตุและเหตุผลของบัญญัติหรือหุกมเพื่อ ให้ได้คิดและทำการวิเคราะห์ถึงเหตุผลของบัญญัติอื่นๆ ซึ่งท่านไม่ได้บอกถึงบัญญัติแต่เพียงอย่างเดียว
3.2 สอนให้รู้จักถามและจริยธรรมในการถาม
ท่านสอนสั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺให้รู้จักถามในสิ่งที่ไม่รู้หรือเกิดข้อสงสัย เพราะคำถามเป็นบ่อเกิดแห่งวิชาความรู้ และท่านยังสอนว่าบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ควรถาม เพราะถ้าถามแล้วบางทีอาจจะนำความยุ่งยากมาสู่ผู้ถามได้
ท่านกล่าว ว่า “พวกเจ้าจงซักถามในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ แท้จริงยาที่จะรักษาความโง่เขลานั้นคือการถาม”. (อบูดาวูด หมายเลข 333, อิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 572)
ท่านกล่าวอีกว่า “แท้จริงมุสลิมที่กระทำผิดใหญ่หลวงที่สุดคือผู้ที่ถามเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งที่ ยังไม่ได้มีบัญญัติต้องห้ามแต่เพราะคำถามของเขาทำให้สิ่งนั้นกลับกลายเป็น สิ่งต้องห้าม”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 7289, มุสลิม 2358)
แน่ นอนว่าผู้เรียนทุกคนต้องมีปัญหามีคำถามที่ต้องการคำตอบ ดังนั้นท่านจึงสอนว่าเวลาใดควรจะถาม ควรถามเกี่ยวกับอะไร ใครจะเป็นผู้ถาม และควรถามอย่างไร...
3.3 สอนให้รู้จักใช้วิจารณญาณและการสังเกต
วัน หนึ่งท่านได้ถามบรรดาเศาะหาบะฮฺว่า “ในบรรดาต้นไม้มีต้นไม้อยู่ชนิดหนึ่งใบของมันจะไม่ร่วง...ดังนั้นจงบอกมามัน คือต้นอะไร?”. อิบนุอุมัรเล่าว่า คนส่วนใหญ่ตอบว่าเป็นต้นไม้แถบชนบทแต่ในความคิดของฉันมันคือต้นอินทผาลัม ซึ่งขณะนั้นฉันเป็นคนที่เล็กที่สุดในกลุ่มดังนั้นฉันจึงเขินอายที่จะชิงตอบ แต่แล้วท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมก็ตอบว่า “มันคือต้นอินทผาลัม”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 72)
3.4 สอนให้รู้จักอภิปราย ถกปัญหาและทบทวน
อัลบุคอรีย์ ได้บันทึกจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่าท่านจะไม่รับฟังหรือได้ยินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ท่านไม่เข้าใจเว้นแต่ท่านจะไปถามไถ่และทบทวนจนได้รับความกระจ่างจากท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม (ดูตัวอย่างในเศาะหีหฺอัลบุคอรีย์ หมายเลข 103, มุสลิม หมายเลข 2876)
จริงอยู่ว่ามันเป็นการ กระทำของท่านหญิงอาอิชะฮฺ แต่การกระทำดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากการชี้นำจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอ ลัยฮิวะสัลลัม
4. ให้รางวัลแก่ผู้เรียนด้วยการกล่าวคำส่งเสริมและชมเชย
วันหนึ่งอบูฮุร็อยเราะฮฺได้ถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมว่า “ผู้ใดที่โชคดีที่สุดที่จะได้รับชะฟาอะฮฺ(ความช่วยเหลือ)ของท่าน?”. ท่านตอบชมเชยว่า “แท้จริงฉันคิดไว้แล้วว่าจะไม่มีผู้ใดถามฉันเกี่ยวกับหะดีษนี้ก่อนหน้าเจ้า เพราะฉันทราบดีถึงความกระตือรือร้นของเจ้าต่อหะดีษ”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 99).
และครั้งหนึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ถามอุบัยย์ บุตรกะอฺบ์ ว่า “โอ้อบุลมุนซิรฺ อายะฮฺอะไรในอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด?” อุบัยย์ตอบว่า “อายะฮฺอัลกุรสีย์”. ท่านจึงกล่าวว่า “ความรู้ต้องยินดีกับเจ้าโอ้อบุลมุนซิรฺ”. (มัสลิม หมายเลข 1882)
ด้วยการให้รางวัลเชิงชมเชยเช่นนี้ทำให้ผู้เรียนมีจิตใจที่อยากจะไขว่คว้าหาความรู้และเพิ่มความขยันหมั่นเพียรมากยิ่งขึ้น
5. เอาใจใส่และให้ความสำคัญกับผู้เรียน
ครั้งหนึ่งขณะท่านนบีศ้อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมกำลังพูดคุยกับบรรดาเศาะหาบะฮฺได้ มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาถามเกี่ยวกับวันสิ้นโลก...แต่ท่านยังคุยต่อจนเสร็จ หลังจากนั้นท่านก็เรียกหาชายคน นั้น แล้วตอบว่า “เมื่อมีการทำลายความซื่อสัตว์/ความน่าเชื่อถือ ดังนั้นก็จงรอการมาเยือนของวันสิ้นโลก” ชายคนนั้นถามต่อว่า “ทำลายอย่างไรหรือ?”. ท่านตอบว่า “เมื่อมีการมอบอำนาจการปกครองแก่ผู้ที่ไม่คู่ควร ดังนั้นก็จงรอการมาเยือนของวันสิ้นโลก”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 59)
จาก หะดีษข้างต้น ท่านนบีจะไม่หยุดจากการกล่าวปราศรัยแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺเพราะกลัวว่าจะทำให้ เกิดความไขว้เขวและขาดตอนในการเรียน ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับผู้ถาม.
และ อีกครั้งหนึ่งขณะที่ท่านกำลังกล่าวปราศรัย(คุฏบะฮฺ)ในวันหัจญ์อำลา(วิดาอฺ) ได้มีชายคนหนึ่งชื่ออบูชาฮฺกล่าวขึ้นว่า “จงบันทึกให้แก่ฉันด้วย” ท่านนบีจึงตอบว่า “จงบันทึกให้แก่อบูชาฮฺ”. (อัลบุคอรีย์ หมายลเข 112, มุสลิม หมายเลข 1355).
6. เข้าใจถึงความสามารถของผู้เรียนและระดับไอคิวของแต่ละคน
ท่านนบีกล่าวว่า “ผู้ที่มีเมตตาที่สุดในหมู่ประชาชาติของฉันคืออบูบักรฺ และผู้ที่หนักแน่นที่สุดต่อคำสั่งของอัลลอฮฺในหมู่พวกเขาคืออุมัร และผู้ที่มีคาวมละอายที่สุดในหมู่พวกเขาคืออุษมาน และผู้ที่เป็นนักอ่านคัมภีร์อัลกุรอานที่ดีที่สุดคืออุบัยย์ บุตรกะอฺบ์ และผู้ที่เก่งเรื่องมรดกที่สุดคือเซด บุตรษาบิต และผู้ที่รู้เกี่ยวกับเรื่องหะลาลและหะรอมมากที่สุดคือมุอาซฺ บุตร ญะบัล และสำหรับทุกประชาชาตินั้นมีผู้ที่ซื่อสัตว์ และผู้ที่ซื่อสัตว์ในหมู่ประชาชาติของฉันคืออบูอุบัยดะฮฺ อามิรฺ บุตร อัลญัรรอหฺ”.
7. คำนึงถึงสภาพความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน
ในกระบวนการเรียนการสอนของท่าน ท่านจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อระดับความแตกต่างของผู้เรียนทั้งในด้าน วัย ความนึกคิด สถานที่และโอกาส...
ครั้งหนึ่งขณะที่ ท่านนบีศ้อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมกำลังกล่าวคำปราศรัยอยู่ก็ด้มีชายคนหนึ่ง เดินเข้ามาแล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านรสูล, มีชายแปลกหน้าคนหนึ่งต้องการถามท่านเกี่ยวกับปัญหาศาสนา” ดังนั้น ท่านจึงหยุดจากการกล่าวปราศรัยและไปนั่งลงบนเก้าอี้ทำการสอนสั่งชายแปลกหน้า คนนั้นแล้วท่านก็ลุกขึ้นไปกล่าวปราศรัยต่อ. (มุตตะฟัก อลัยฮฺ)
และทุกครั้งที่มีคนมาถามหาท่าน ก่อนที่ท่านจะเริ่มทำการประสาทความรู้ ท่านจะถามคนเหล่านั้นว่า ชื่ออะไร เป็นลูกของใคร มาจากเผ่าไหน และอาศัยอยู่ที่ใด เป็นต้น เพื่อจะได้ทราบถึงเบื้องหลังและสถานภาพของแต่ละคน หลังจากนั้นท่านจึงเริ่มทำการสอน
ด้วยเหตุนี้อิมามอันนะวะวีย์จึงกล่าวว่า “ผู้สอนควรจะทุ่มเทความพยายามเพื่อทำให้พวกเขาเข้าใจ และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกับระดับความคิดและความจำของเขา ดังนั้นจงอย่าสอนในสิ่งที่พวกเขามาสามารถรับได้ และจงอย่าละเลยในสิ่งที่พวกเขาสามารถรับได้อย่างไม่ยากเย็น และจงพูดจาปราศรัยกับพวกเขาให้พอเหมาะกับระดับความคิด ความเข้าใจและความต้องการของพวกเขา ดังนั้นจึงเป็นการเพียงพอด้วยการชี้นำสำหรับผู้ที่สามารถเข้าใจได้อย่างดี และอธิบายชี้แจงแก่คนอื่น และกล่าวชี้แจงซ้ำซ้ำสำหับผู้ที่ต่ำกว่านั้น...” (อันนะวะวีย์,อัลมัจญ์มูอฺ 1/31)
8. แนะนำสู่ความรู้และความถนัดเฉพาะด้านที่เหมาะสมกับผู้เรียน
เซด บุตร ษาบิตเล่าว่า ชนเผ่าของเขาได้กล่าวแก่ท่านนบีศ้อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมว่า มีเด็กเผ่านัจญารฺคนหนึ่งได้ท่องจำอัลกุรอานสิบกว่าสูเราะฮฺ ดังนั้นท่านนบีจึงได้ขอให้ฉันอ่าน ฉันจึงอ่านสูเราะฮฺ(กอฟ) แล้วท่านก็กล่าวแก่ฉันว่า “แท้จริงฉันได้เขียนหนังสือไปยังชนกลุ่มหนึ่ง(หมายถึงชาวยิว) แต่ฉันกลัวว่าพวกเขาจะเพิ่มเติมหรือตัดตอนแก่ฉัน ดังนั้นเจ้าจงตั้งใจศึกษาภาษาสิรยาน” ดังนั้นเซดจึงทำการศึกษาภาษาสิรยานภายในเวลาเพียง สิบเจ็ดวัน (บางสายรายงานกล่าวว่า สิบห้าวัน) เท่านั้น. (อัรรอมะฮุรมุซีย์,อัลมุหัดดิษุลฟาศิล หมายเลข 785).
จะ เห็นได้ว่าท่านนบีหลังจากที่ท่านได้ประจักษ์ถึงความชาญฉลาดและความจำที่ดี เยี่ยมของเซดท่านก็ส่งสเริมให้เขาเรียนภาษาสิรยานซึ่งเป็นภาษาของชาวยิว ซึ่งมีน้อยคนที่เข้าใจมันในเวลานั้น.
9. มีเทคนิคการนำเสนอที่รวดร้าวและหลากหลาย
บางครั้งท่านจะเปิดประเด็นการเรียนด้วยการตั้งคำถาม “พวกเจ้ารู้ไหมว่าการนินทาคืออะไร?”. (อบูดาวูด หมายเลข 4874). พวกเจ้ารู้ไหมว่าใครคือผู้ที่ล้มละลาย?”. (มุสลิม หมายเลข 2581, อัตติรมิวีย์ หมายเลข 2418).
“ในบรรดาต้นไม้มีต้นไม้อยู่ชนิดหนึ่งใบของมันจะไม่ร่วง...ดังนั้นจงบอกมามันคือต้นอะไร?”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 72).
บางครั้งท่านจะเปลี่ยนเสียงพูดจากที่นุ่มนวลกลายเป็นเสียงที่ห้าวหาญขณะที่กำลังอ่านคุฏบะฮฺ ดุจขุนพลที่กำลังบัญชาการทหาร
และ บางครั้งท่านจะเปลี่ยนท่าทางจากการนอนตะแคงสู่การนั่งตรงเพื่อบ่งบอกถึงความ สำคัญและความจริงจังของปัญหาที่กำลังพูด. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 2654, มุสลิม หมายเลข 87).
10. เชื่อมบทเรียนด้วยเหตุการณ์ปัจจุบัน
อนัส เล่าว่า ขณะที่ท่านนบีอยู่กับบรรดาเศาะหาบะฮฺในวันหนึ่ง จู่ๆก็มีหญิงเชลยศึกนางหนึ่งกำลังเสาะหาลูกน้อยของนาง และทันทีที่นางพบกับลูกนางก็เข้าสวมกอดทันที. ดังนั้นท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมจึงกล่าวขึ้นว่า “พวกเจ้าเห็นว่าผู้หญิงคนนี้จะโยนลูกน้อยของนางลงไปในไฟไหม?”. บรรดาเศาะหาบะฮฺจึงตอบว่า “ไม่”. ท่านจึงกล่าวว่า “และอัลลอฮฺก็ไม่ยอมโยนผู้ที่เป็นที่รักของพระองค์ลงไปในไฟนรกเช่นกัน”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 5999, มุสลิม หมายเลข 2754).
11. ใช้สื่อในการสอนที่หลากหลาย
ในกระบวนการเรียนการสอนของท่านนบีนั้นท่านมักจะใช้สื่อเพื่อช่วยสาธยายหรืออธิบายบทเรียนให้เข้าใจยิ่งขึ้น
11.1 ใช้วิธีชี้ด้วยนิ้ว
ท่านกล่าว ว่า “ฉันและผู้ที่ปกป้องลูกกำพร้าเหมือนกับทั้งสองนิ้วนี้” แล้วท่านก็ชูนิ้วชี้และนิ้วกลางขึ้น. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 5304). ท่านกล่าวว่า “ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นที่โน่นจากทิศตะวันออกโดยที่เขาชัยฏอนจะโผล่ขึ้นทาง นั้น” แล้วท่านก็ชี้มือไปยังทิศตะวันออก. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 6308, มุสลิม หมายเลข 2744).
11.2 ยกเรื่องขึ้นมาเปรียบเทียบ
ท่านกล่าว ว่า “พวกเจ้าเห็นไหมว่าถ้ามีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านหน้าบ้านของคนใดคนหนึ่งในหมู่ พวกเจ้า แล้วเขาได้ลงไปอาบน้ำทุกวันวันละห้าเวลา แล้วจะยังมีสิ่งสกปรกติดตัวเขาอยู่อีกไหม?”. บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า “ไม่เหลือสิ่งสกปรกใดๆติดอยู่เลย” ท่านจึงกล่าวต่อว่า “เช่นเดียวกับการละหมาดห้าเวลา ซึ่งอัลลอฮฺจะลบล้างความผิดต่างๆด้วยการละหมาดดังกล่าว”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 528,มุสลิม หมายเลข 1520,1521).
ท่านกล่าว ว่า “อุปมาผู้ศรัทธาที่อ่านอัลกุรอานอุปมาดั่งผลอุตรุจญะฮฺ(ผลส้มที่มีกลิ่นหอม ชนิดหนึ่ง) ที่มีรสชาติดีและมีกลิ่นหอม และอุปมาผู้ศรัทธาที่ไม่อ่านอัลกุรอานอุปมาดั่งผลอินทผาลัมที่มีรสชาติดีแต่ ไม่มีกลิ่นหอม และอุปมาผู้กลับกลอก(มุนาฟิก)ที่อ่านอัลกุรอานอุปมาดั่งผลร็อยหานะฮฺ(ผลไม้ ชนิดหนึ่ง) ที่มีกลิ่นหอมแต่รสชาติขม และอุปมาผู้กลับกลอกที่ไม่อ่านอัลกุรอานอุปมาดั่งผลหันเซาะละฮฺ(ไม้เลื้อย ชนิดหนึ่งที่งอกตามทะเลทราย มีผลกลมสีเขียวลายคล้ายลูกแตงโมแต่มีขนาดเล็กกว่าหลายเท่า) ไม่มีกลิ่นหอมและมีรสชาติขม”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 5020 ,มุสลิมหมายเลข 797)
11.3 วาดเส้นหรือภาพประกอบเพื่อเพิ่มความกระจ่าง
อิบนุ มัสอูดเล่าว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมได้ขีดเส้นด้วยมือของท่านบน พื้นทรายเส้นหนึ่งแล้วกล่าวว่า “นี่คือเส้นทางของอัลลอฮฺ(อิสลาม)ที่เที่ยงตรง เสร็จแล้วท่านก็ขีดเส้นสั้นๆทางด้านขวาและซ้ายของเส้นดังกล่าวแล้วกล่าวว่า “นี่คือเส้นทางต่างๆซึ่งไม่มีเส้นใดแม้แต่เส้นเดียวเว้นแต่มีชัยฏอนคแยร้อง เรียกและเชิญชวนอยู่ตลอดเวลา แล้วท่านก็อ่านอายะฮฺที่ 153 ของสูเราะฮฺอัลอันอาม ความว่า “และแท้จริงนี่คือเส้นทางของข้า(อิสลาม)อันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามเส้นทางต่างๆเหล่านั้น เพราะมันจะทำให้เจ้าห่างไกลจากเส้นทางของอัลลอฮฺ”. (อะหฺมัด 1/465, อันนสาอีย์,ตัฟสีรฺ หมายเลข 194, อัหากิม 2/318). 11.4 เล่าประวัติที่เกิดขึ้นจริงกับประชาชาติรุ่นก่อนเพื่อเป็นอุทาหรณ์หรือ อนุสติเตือนใจ
อาทิ เช่นชีวประวัติของชายสามคนที่เข้าไปหยู่ในถ้ำแล้วก็มีก้อนหินใหญ่เลื่อนมา ปิดปากถ้ำทำให้พวกออกไปไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงวิงวอนต่ออัลลอฮฺด้วยการอ้างกรรมดีที่พวกเขาได้ก่อไว้จนอัล ลอฮฺบันดาลให้ปากถ้ำถูกเปิดออกอีกครั้ง. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 3465, มุสลิม 2766)
เช่นเดียวกับประวัติการกลับใจ(เตาบะฮฺ) ของชายคนหนึ่งที่ได้ฆ่าคนมาแล้วถึง 99 คน.(อัลบุคอรีย์ และอื่นๆอีกมากมาย
11.5 สอนภาคสนามด้วยมโนภาพที่สามารถประจักษ์ได้ด้วยสายตา
คืนจันทร์เพ็ญคืนหนึ่งท่านได้แหงนหน้าขึ้นมองพระจันทร์เต็มดวงแล้วกล่าวขึ้นว่า “แท้จริงพวกเจ้าจะสามารถมองเห็นองค์พระผู้อภิบาลของพวกเจ้าอย่างชัดแจ้ง(ใน วันปรโลก)เสมือนกับที่พวกเจ้ามองเห็นพระจันทร์ในคืนนี้ โดยที่ไม่มีการเบียดเสียดหรือแก่งแย่งกันเพื่อที่จะมองไปยังมันแต่อย่างใด”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 554, มุสลิม หมายเลข 633)
11.6 นำสื่อจริงที่สัมผัสได้มาทำการสอน
ท่านอลีเล่าว่า “ฉันเห็นท่านรสูลุลลอฮฺได้หยิบเอาผ้าไหมแล้ววางไว้ในมือข้างขวาของท่าน แล้วหยิบเอาทองคำแล้ววางไว้ในมือข้างซ้ายของท่าน แล้วท่านก็กล่าว(พร้อมกับชูทั้งสองขึ้น) ว่า “แท้จริงทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่ต้องห้ามสำหรับประชาชาติที่เป็นบุรุษเพศของ ฉัน”. (อบูดาวูด หมายเลข 4057, อันนะสาอีย์ 8/160).
11.7 ปล่อยให้ผู้เรียนไปค้นหาคำตอบและทำการทดลองเอง
ตามธรรมเนียมชาวอาหรับนั้น พวกเขาจะทำการผสมเกษรอินทผาลัมก่อนที่อินทผาลัมจะออกผลสืบทอดกันมา ซึ่งบางคนทำไปโดยไม่รู้ว่ามีเหตุผลใด ดังนั้นท่านนบีจึงต้องการสอนสั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านให้รู้จักการทดลอง เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงและเหตุผลของการกระทำดังกล่าว...
ฏ็อลหะ ฮฺเล่าว่าฉันและท่านรสูลุลลอฮฺได้เดินผ่านชาวสวนกลุ่มหนึ่งที่กำลังอยู่บน ยอดต้นอิทผาลัม แล้วท่านก็ถามขึ้นว่า “พวกเขาเหล่านั้นกำลังทำอะไรอยู่หรือ?”. พวกเขาจึงตอบว่า “กำลังทำการผสมเกษรของดอกอินทผาลัมโดยการนำเอาเกษรตัวผู้ไปผสมกับเกษรตัว เมีย ดังนั้นท่านรสูลจึงกล่าวว่า “ฉันไม่คิดว่าการกระทำดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แต่อย่างใด”. ดังนั้นพวกเขาจึงไปบอกแก่ชาวสวนเหล่านั้น พวกเขาจึงหยุดทำการผสมเกษร แต่แล้วพวกเขากลับพบว่าอินทผาลัมไม่ออกผลดีในปีนั้น ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า “ถ้าหากว่าการกระทำดังกล่าวยังประโยชน์แก่พวกเขาก็ให้พวกเขาทำเสีย เพราะแท้จริงฉันเพียงแค่คาดคะเนเท่านั้น”. (มุสลิม หมายเลข 6079,6080).
12. พูดย้ำและเน้นหลายๆครั้งในสิ่งที่ควรย้ำ
ในการสอนของท่านนบีนั้นเราจะพบว่าท่านจะทำการสาบานนับครั้งไม่ถ้วนในเรื่อง สำคัญที่ท่านจะพูด อาทิเช่นคำว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เขายังไม่ได้ศรัทธา...ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เขายังไม่ได้ศรัทธา...ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เขายังไม่ได้ศรัทธา...” เป็นต้น และบางครั้งท่านจะพูดย้ำซ้ำๆหลายครั้ง อาทิเช่น “มันคือการพูดโกหก...มันคือพยานที่เป็นเท็จ...” ท่านยังคงกล่าวย้ำเช่นนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า... (อัลบุคอรีย์ หมานยเลข 2511).
13. คำนึงถึงความกระฉับกระเฉงและความพร้อมของผู้เรียน
อิบนุ มัสอูดเล่าว่า “ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมให้ความสนใจกับการสอนสั่งพวกเราเพียงไม่ กี่วันเพราะกลัวว่าพวกเราจะเบื่อหน่าย”. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 68)
14. ทบทวนความรู้และความจำ
ท่านได้สั่งเสียให้บรรดานักท่องจำอัลกุรอานให้ระวังรักษาและให้ความสำคัญกับอัล กุรอานด้วยการอ่านอยู่เป็นประจำ. (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 5033, มุสลิม หมายเลข 791)
ขณะที่ท่านสอนอัลบัรรออ์เกี่ยวกับดุอา อ์ก่อนนอน ท่านกล่าวแก่อัลบัรรออ์ว่า “จงทวนให้ฉันฟังสิ”. ดังนั้นอัลบัรรออ์จึงทวนจนถึงคำว่า “วะบิเราะสูลิกัลละซีอัรสัลตะ” ท่านกล่าวว่า “ไม่ใช่... วะบินะบิยยิกัลละซีอัรสัลตะ”. (มุสลิม หมายเลข 2710).
คำส่งท้าย
นี่คือส่วนหนึ่ง ของอีกหลายๆยุทธวิธีหรือเทคโนโลยีการสอนของท่านนบีศ้อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัล ลัมที่ผู้เขียนได้รวบรวมไว้ภายในเวลาอันรวบรัด และผู้เขียนขอยืนยันว่าแท้จริงยังมียุทธวิธีการสอนอีกมากมายที่ยังไม่ได้นำ เสนอ ณ ที่นี้