การเเข่งขันทางอุดมการณ์ในโลกมุสลิม *
ขอบเขตของความรุนเเรงเเละความโกรธเเค้นอันเนื่องมาจากการที่สื่อมวลชนตะวันตกได้พิมพ์การ์ตูนล้อเลียนพระศาสดาของศาสนาอิสลามได้ขยายวงกว้างจนถึงขนาดว่าหลายประเทศตะวันตกเริ่มวิตกกังวลใจอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวต่อความสัมพันธ์ทางการทูตเเละการค้าที่ตนมีในโลกมุสลิม อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เป็นเหตุการณ์เดี่ยวที่เพิ่งเกิดขึ้น เเต่ทว่าเป็นการทำซ้ำ ทำซ้อน ซึ่งในที่สุดนักการศาสนาอิสลามได้ตกลงใจนำเรื่องนี้เข้าสู่สภานักการศาสนาอิสลามในหลายสิบประเทศมุสลิม โดยเฉพาะที่รัฐซาอุดิอาระเบีย
อย่างไรก็ตาม การประชุมสุดยอดของกลุ่มโอไอซี (Organization of Islamic Conference) ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐซาอุดิอาระเบียได้เป็นเจ้าภาพนั้นได้ส่งสัญญาณที่สำคัญคือ โลกอาหรับที่อ้างว่าเป็นพวกสายกลางได้ประกาศต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนั้น รัฐซาอุดิอาระเบียพร้อม
ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศมุสลิมสายกลางที่สนับสนุนสันติภาพเเละการเเก้ไขปัญหา
ด้วยสันติวิธี ในรูปหมู่ประวัติศาสตร์ ซึ่งบรรดาผู้นำของรัฐมุสลิมได้ยืนถ่ายร่วมกันนั้น บุคคลสำคัญ
ที่ยืนอยู่ข้างกษัตริย์ซาอุดิอาระเบีย คือ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เเละสุลต่านเเห่งรัฐบรูไน ซึ่งให้นัยที่น่าสนใจยิ่ง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงถือโอกาสนี้ ขอเล่าภูมิหลังหรือพัฒนาการของการเเข่งขันทางอุดมการณ์รวมถึงกระเเสความคิดที่สำคัญในโลกอาหรับ ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดทิศทางการเมืองในโลกมุสลิม
การปรากฏตัวขึ้นของการรู้จักตัวตนของตนเอง
ในด้านการเมือง คำว่าอาหรับเเทบไม่มีความหมายอะไรมากนักก่อนศตวรรษที่ 20 เนื่องจากดินเเดนส่วนใหญ่ในภูมิภาคตะวันออกกลางได้ถูกครอบงำโดยจักรวรรดิออตโตมันเเละจักรวรรดิกาจาร์ อย่างไรก็ตาม ดินเเดนอาหรับต่อมากลับได้กลายเป็นเป้าหมายสำคัญในการตัดทอนกำลังเเละอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลโดยมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่นครอิสตันบูล (Istanbul)
เนื่องจากตุรกีได้เข้าร่วมกับเยอรมนีในการขยายเเสนยานุภาพในต้นศตวรรษที่ 20
ดังนั้น การสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงได้ส่งผลให้จักรวรรดิออตโตมันซึ่งมีอายุถึงสี่ศตวรรษต้องสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา (ปี ค.ศ. 1918)
ดินเเดนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ซึ่งเคยเป็นประเทศราชของจักรวรรดิออตโตมันได้ถูกเเบ่ง
ออกเป็นสามส่วน โดยสองส่วนเเรก คือ อิรัก เเละปาเสลไตน์ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ อีกส่วนคือ ซีเรียได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส
น่าสังเกตว่า ความรุนเเรงของสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ทำให้อังกฤษเเละฝรั่งเศสบอบช้ำจนขนาดที่สหรัฐอเมริกาต้องเข้าช่วยในการรบกับเยอรมนีในช่วงสงคราม อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้เริ่มถอนตัวออกจากเวทีการเมืองโลกทันทีที่สงครามโลกสิ้นสุดลง ภาวะเช่นนี้ส่งผลให้อังกฤษเเละฝรั่งเศสยังคงดำรงตนเป็นศูนย์กลางของเวทีการเมืองเเละการทูตของโลก ซึ่งได้เปิดโอกาสให้อังกฤษเเละฝรั่งเศสสามารถกลับเข้ามาเเทรกเเซงหรือเเม้กระทั่งครอบงำดินเเดนที่เคยเป็นประเทศราชของ
ออตโตมัน
ในขณะที่อังกฤษเเละฝรั่งเศสพยายามกลับเข้ามามีบทบาทในโลกอาหรับ ประชาชนพื้นเมืองในดินเเดนอาหรับได้เริ่มตระหนักมากขึ้นในเรื่องของเผ่าพันธุ์ที่เเท้จริงของตนในลักษณะการเมือง ดังเห็นว่าได้มีขบวนการชาตินิยมอาหรับลุกขึ้นปลุกกระเเสการรวมชาติอย่างสำเร็จเป็นจำนวนมาก เช่นในกรณีของอียิปต์ในปี ค.ศ. 1922 ซาอุดิอาระเบียในปี ค.ศ. 1932 เเละอิรักในปี ค.ศ. 1932 ชาวอาหรับพวกนี้เริ่มรู้สึกถึงความเป็นเผ่าพันธุ์ของตนเองโดยผ่านการฟื้นฟูระบบขนบธรรมเนียม ภาษาเเละสัญลักษณ์อาหรับ หลังจากที่ได้ถูกครอบงำโดยออตโตมันเเละถูกเเทรก
เเซงจากตะวันตกมาเป็นเวลานาน ความรู้สึกเป็นชาติจึงได้เกิดขึ้นมาในเวลานี้เเละกระบวนการสร้างชาติจึงได้เกิดขึ้นจากซากเดิมที่จักรวรรดิออตโตมันได้ทิ้งไว้
ตุรกีเป็นประเทศเเรกในโลกอาหรับที่ก้าวเข้าสู่กระเเสเเห่งความเป็นสาธารณรัฐ ดังเห็นว่าประธานาธิบดีเคมัล อัตตาเติร์ก (Kemal Attaturk) เเห่งตุรกีได้เป็นผู้นำที่มีความคิดก้าวหน้าเเละมองการณ์ไกลจึงได้ตัดสินใจยกเลิกระบบกาลิบในประเทศตุรกี ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายศูนย์เเห่งอำนาจทางศาสนาที่เคยรักษากฎระเบียบเเละการตีความความเชื่อของศาสนาอิสลามที่มีอายุยาวนานกว่าพันปี เคมัลมีความต้องการที่จะเชิดชูระบบสาธารณรัฐที่สามารถโอบอุ้มคนหลายเผ่าพันธุ์ไว้ด้วยกันเพื่อผลักดันสาธารณรัฐตุรกีที่อายุน้อยมากออกจากอิทธิพลของโลกศาสนาไปสู่โลกในเเบบวิถีประชา หรืออีกนัยหนึ่ง ตุรกีพยายามสร้างเอกลักษณ์ใหม่ที่เน้นความเป็นเติร์กมากกว่าความเป็นอิสลาม เเม้ว่าในความเป็นจริง ตุรกีมีประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเป็นมุสลิม ในขณะที่ อียิปต์กลับมองเห็นตนเองในความเป็นอาหรับทั้งในด้านเชื้อชาติเเละภาษาจึงเริ่มสร้างชาติรอบๆ สิ่งเหล่านี้ อียิปต์ อิรัก เเละซีเรียจึงเป็นอีกตัวอย่างที่ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นชาติที่พูดภาษาอาหรับ
การรุกฮือในกรุงไคโรเเละในเมืองต่างๆในอียิปต์ในที่สุดได้นำไปสู่การได้รับเอกราชสมบูรณ์จากอังกฤษในปี 1936 เเละกรุงไคโรได้พยายามรักษาตำเเหน่งของตนเองในฐานะศูนย์กลางเเห่งการเรียนรู้ศาสนาอิสลามของโลกอาหรับ
ในขณะที่ชาติอาหรับอื่นๆ กำลังสร้างชาติ เเต่ในอีกด้านหนึ่งของโลกมุสลิมในเอเชียใต้
เเนวคิดฟื้นฟูความคิดเกี่ยวกับเเก่นเเท้ของศาสนาอิสลามได้ปรากฏตัวขึ้น ดังเห็นในการเกิดขึ้นมาของขบวนการของสำนักคิดตาบลิกี (Tablighi Jamaat) ในทศวรรษที่ 40 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะปลุกชาวมุสลิมในอินเดียให้ตื่นจากความลุ่มหลงในการบูชาหลุมศพหรือบรรพบุรุษ เเละกระตุ้นให้ชาวมุสลิมในอินเดียรู้จักการเเสวงหาสัจธรรมที่เเท้จริงในเเบบอย่างประชาคมมุสลิมที่ดี ซึ่งต่อมาเเนวความคิดนี้ได้เเพร่เข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ปากีสถานในทศวรรษที่ 60 เเม้ว่าเเนวคิดนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง เเต่ทว่าเเนวความคิดนี้ไม่ได้มีนัยทางการเมืองเท่าใดนัก
สงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ.1938-1945) ได้ทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจโลกเเละได้ส่งสัญญาณว่าอังกฤษเเละฝรั่งเศสได้ลดบทบาทลงในเชิงอำนาจทางทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การรุกฮือของประชาชนที่อยู่ใต้ปกครองในอาณานิคมภายใต้พลังชาตินิยม ในที่สุด รัฐบาลอังกฤษเเละฝรั่งเศสจึงต้องตัดสินใจให้เอกราชอย่างสมบูรณ์เเก่ดินเเดนต่างๆ เช่น ซีเรีย (1946) เลบานอน (1946) ลิเบีย (1951) มาเลเซีย (1957) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งรัฐอิสราเอลในปี ค.ศ. 1948 (คือหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลงไม่นานนัก) โดยการสนับสนุนของอังกฤษเเละสหรัฐอเมริกาได้สร้างความไม่พอใจให้เเก่อาหรับ ยิ่งกว่านั้น เหตุการณ์การยึดนครเยรูซาเลมของกองทัพอิสราเอลได้สำเร็จในเวลาต่อมาได้กลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดความตึงเครียดเเละความขัดเเย้งอย่างรุนเเรง เนื่องจากนครเยรูซาเลมเป็นที่ตั้งของมัสยิดอัล อัก ซอร์
การที่นครเยรูซาเลมต้องถูกพวกทหารยิวยึดครองได้มีผลทางจิตวิทยาเเก่ชาวอาหรับเป็นอย่างมาก เเละได้กลายเป็นต้นกำเนิดของเเรงบันดานใจให้กับกลุ่มนักคิดมุสลิมทั่วไป องค์การโอไอซีได้เกิดขึ้นมาในบริบทนี้เช่นกัน เเต่น่าสังเกตว่าสำหรับนักคิดที่หัวรุนเเรงที่เกิดขึ้นในยุคต่อมากลับได้ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเหตุผลในการต่อสู้เเบบจิฮัด ดังเห็นว่า กระเเสของอิสลามได้เคลื่อนตัวไปสู่ทิศทางความคิดในเรื่องการต่อสู้ (Jihad) ซึ่งเน้นมิติทางการทหาร (จิฮัดที่เน้นมิติทางศีลธรรมยังคงเป็นกระเเสหลักที่มีอยู่ทั่วไปในชุมชนมุสลิมทั่วโลก) ในขณะเดียวกัน การรักษากฎหมายเเละระเบียบทางศาสนาอิสลาม (Sharia) ได้ถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้นโดยกลุ่มนี้ กระบวนการนี้ได้เกิดขึ้นในบริบททางสังคมเเละวัฒนธรรมที่โลกอาหรับเริ่มเห็นว่าดินเเดนของตนเองได้
ถูกรุกรานจากชนชาติยิวโดยมีชาติตะวันตกให้การสนับสนุน
ในตอนนี้ กระเเสชาตินิยมอาหรับได้ลดบทบาทลง เเต่กระเเสความคิดอิสลามทางการเมือง (Islamism) กลับเพิ่มบทบาทมากขึ้นเเละมีนัยทางการต่อสู้ทางการเมืองที่เน้นลักษณะเชิงรุกมากขึ้นเพื่อที่จะบรรลุผลที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโลกอาหรับได้ย่างก้าวเข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 50 เเละ 60 กระเเสเเนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ที่มาเเรงในโลกมุสลิมจึงเกิดขึ้นมาจากการตีความศาสนาอิสลามของนักคิดมุสลิม อย่างเช่น กัตบ์ (Qutb) เเห่งอียิปต์ โมดูดี(Maududi) เเห่งปากีสถาน เเละโคไมนี (Komeini) เเห่งอิหร่าน นักคิดกลุ่มนี้ได้ประสบความสำเร็จในการเผยเเพร่ความคิดในบ้านตนเองเเละมีความปรารถนาอย่างเเรงกล้าที่จะเเพร่ความคิดของตนไปสู่สังคมมุสลิมอื่นๆ น่าสังเกตว่านักคิดกลุ่มนี้ไม่เพียงเเต่เรียกร้องให้นำกฎปฎิบัติทางศาสนาอิสลาม (Sharia) มาใช้อย่างเคร่งครัด เเต่ยังได้พัฒนากระเเสความคิดอิสลามไปไกลถึงการสร้างประชาคม หรือโลกมุสลิมโดยมีพื้นฐานจากบรรดารัฐมุสลิม (Umma) โดยหวังว่าโลกมุสลิมสักวันหนึ่งจะรวมตัวกันจนมีลักษณะเป็นสากลจักรวาล
นักคิดกลุ่มนี้พัฒนาเเนวคิดไปไกลในทิศทางที่เน้นว่าโลกใบนี้ควรเปลี่ยนเป็นอิสลาม (Islamization) เเละได้ลงมือทดลองความคิดอิสลามในเเบบของตนจริงกับชุมชนมุสลิมในระดับต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ของโลกมุสลิม อย่างไรก็ตาม เเม้ว่าเเนวคิดของนักคิดอิสลามกลุ่มนี้ได้รับการตอบรับในหลายชุมชน เเต่มักจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มเยาวชนในรั่วมหาวิทยาลัยที่เกิดมาหลังยุคได้รับเอกราชเอกราช หรือกลุ่มประชาชนที่มีฐานะยากจนเท่านั้น
กระเเสเเนวคิดอิสลามในหลายเเห่งในยุค 60 เเละ 70 เป็นต้นมาจึงมีความเเตกต่างไปจากเเนวคิดอิสลามเเบบเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมเเละการเมืองในเเต่ละประเทศ หรือเเม้เเต่ในเเต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 70 นี้ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญมากมายที่ส่งผลทางจิตวิทยาให้เเก่การก่อตัวของขบวนการอิสลามเเบบใหม่ โดยเฉพาะในอิหร่าน มาเลเซีย ปากีสถาน อียิปต์ เป็นต้น
กระเเสเเนวคิดของนักคิดกลุ่มนี้ยังไม่สามารถรับการสนับสนุนจากประเทศส่วนใหญ่มากนัก เพราะผู้นำเผด็จการของหลายประเทศมุสลิมในขณะนั้นได้ใช้เเนวคิดสังคมนิยมในการบริหารประเทศจึงยังเเสดงท่าทีไม่สนับสนุนความคิดดังกล่าวอย่างเต็มที่ เเละในบางครั้งพยายามปราบปราม ดังเช่นในกรณี กัดดาฟี (Gaddafi) เเห่งลิเบีย ประธานาธิบดีบูเมอดีน (Boumedienne) เเห่งอัลจีเรีย ประธานาธิบดีนาเซอร์ (Nasser) เเห่งอียิปต์ พรรคนีโอเดสตู (Neo-Destour) เเห่งตูนิเซีย พรรคสาธารณรัฐอาหรับเยเมน (Yemen Arab Republic) ในเยเมน พรรคบาท์ (Ba-ath) หลังจากที่ได้ขึ้นสู่อำนาจในซีเรียในปี ค.ศ. 1963 น่าสังเกตว่า ในช่วงนี้ ผู้นำเผด็จการในอียิปต์เเละซีเรียยังได้เเสดง
ความปรารถนาที่จะเห็นประเทศอาหรับรวมตัวกันภายใต้ระบอบสังคมนิยม เเละพยายามตีความว่า
ลัทธิสังคมนิยมเป็นส่วนหนึ่งของเเนวคิดเเบบอิสลาม
จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1967 เมื่อกองทัพอิสราเอลได้กรีฑาทัพเเละยึดนครเยรูซาเลมได้สำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นชนวนสำคัญที่นำไปสู่สงครามใหญ่ระหว่างรัฐอิสราเอลกับรัฐอาหรับในปี ค.ศ. 1973 เเนวคิดอิสลามสายใหม่จึงปรากฏขึ้นเเละเริ่มกลายเป็นพลังมวลชนขนาดใหญ่ ในขณะที่อุดมการณ์สังคมนิยมที่เคยเฟื่องฟูในรัฐบาลของหลายประเทศมุสลิมกลับเริ่มลดบทบาทลงอย่างรวดเร็ว
(หัวข้ออื่นๆ ภายในบทความ ประกอบด้วย :
...การขึ้นมาของอิทธิพลสหรัฐอเมริกาเเละสหภาพโซเวียตในโลกอาหรับ...
...การระเบิดตัวของกระเเสความคิดอิสลามเชิงการเมืองเเนวใหม่...
...การเริ่มต้นของการเเข่งขันทางอุดมการณ์ระหว่างซาอุดิอาระเบียเเละอิหร่าน...
...อิหร่านเจอศึกสองด้าน...
...ชัยชนะของอัฟกานิสถาน...
...สงครามจิฮัดจึงกลายเป็นคำตอบที่ดีที่สุด…
...จุดอ่อนของผู้นำอิรัก...
...กระเเสต่อต้านสหรัฐอเมริกา…
...บริบทสังคมที่นำไปสู่การกำเนิดขึ้นของอุดมการณ์เเห่งนักรบจิฮัด...
บทส่งท้าย : โลกตะวันตกกับโลกมุสลิม
อันที่จริง ผู้นำอเมริกันเพิ่งเริ่มสนใจในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างจริงจัง เมื่อได้เกิดการ
ปฏิวัติในอิหร่าน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มของความกังวลใจอย่างมากเกี่ยวกับการขึ้นมาของอิทธิพลทางอุดมการณ์ของอิหร่าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในด้านความรุนเเรงเเละยังสร้างภาวะความไม่เเน่นอนในการกำหนดนโยบายของผู้นำสหรัฐอเมริกา เเต่ในขณะเดียวกัน นักวิชาการอังกฤษเเละฝรั่งเศสได้รับรู้เเละสนใจเรื่องราวของโลกมุสลิมมาเป็นเวลานาน เนื่องจากตนเองเคยเป็นเจ้าอาณานิคม หลายคนได้ผลิตงานเขียนมากมายเกี่ยวกับภูมิภาคเเห่งนี้ เเต่ทว่างานส่วนมากได้สื่อความเป็นตะวันออก (Orientalism) ที่มักสะท้อนความเหนือกว่าของอารยธรรมตะวันตกเเละพรรณนาดินเเดนตะวันออกกลางในลักษณะที่เเปลกประหลาด (exoticism) ดังเช่น ศาสตราจารย์เอิร์นเนส เกลเนอร์ (Ernest Gellner) ปรมาจารย์ทางสาขามานุษยวิทยาเเละสังคมวิทยาเเห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้เขียนหนังสือเรื่อง “Nation and Nationalism” ซึ่งเป็นหนังสือที่ทรงอิทธิพลในการอธิบายการปรากฏตัวขึ้นของปรากฏการณ์ความเป็นรัฐชาติ (nation-state) ในความหมายสมัยใหม่ ซึ่งเขาอ้างว่าอังกฤษเป็นชาติเเรกในโลกที่มีลักษณะความเป็นชาติอย่างเเท้จริงโดยผ่านระบบการศึกษาเเละกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เเละหลายตอนในหนังสือนี้ได้เเสดงความเย้ยหยันเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมเเละสังคมมุสลิมในหลายเเห่งของโลก โดยเฉพาะในดินเเดนอาหรับ
นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการตะวันตกจำนวนมากมักมองว่าพัฒนาการของสังคมเเละ
อารยธรรมของชาวมุสลิมล้วนมีลักษณะที่อาจเป็นภัยต่อโลก ซึ่งคำว่า “โลก” ในที่นี้คงหมายถึงโลกตะวันตกเป็นสำคัญ ดังปรากฏในงานเขียนทางวิชาการที่มีอิทธิพล ดังเช่น The Clash of Civilizations โดย Samuel P. Huntington หรืองานเขียนเรื่อง The Rise and Fall of the Great Powers ของ Paul Kennedy เป็นต้น
งานวิชาการหรืองานเขียนของสื่อมวลชนที่ปรากฏในโลกตะวันตกล้วนเป็นกระจกที่สะท้อนว่าคนในอีกฝากหนึ่งของโลกนั้นคิดอย่างไรจึงมีอิทธิพลอย่างมากในการเข้าใจความคิดที่อยู่
ในตัวอักษรอันเเสนธรรมดา ภาพการ์ตูนจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ เเต่เป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มที่ของกลุ่มคนที่รู้จักสันดานซึ่งกันเเละกันเป็นเวลายาวนาน
เเละในโอกาสหน้า ผู้เขียนจะเล่าถึงกระเเสดาวะ (dawa) หรือการเผยเเพร่ศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ เรามักประสบพบเจอการอ้างศาสนาอิสลามโดยกลุ่มที่นิยมความรุนเเรงอยู่เป็นประจำ การกระทำของกลุ่มดังกล่าวนอกจากสร้าง
ความทุกข์ยากให้เเก่ผู้อื่นเเล้วยังทำลายภาพลักษณ์ของศาสนาอิสลามที่มุ่งสอนให้มนุษย์เข้าใจเเละซาบซึ้งในคุณค่าของการดำรงชีวิตเเบบเรียบง่าย เเต่ทว่ามีความสุขโดยที่ตนไม่จำเป็นต้องเบียดเบียนคนที่ด้อยกว่า หรือห้ามคิดเเม้เเต่อิจฉาคนที่โชคดีกว่า
สำหรับท่านผู้ใดที่สนใจที่จะเเลกเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับโลกมุสลิมกับผู้เขียน
ท่านสามารถส่งข้อความเพื่อเเสดงความคิดเห็นได้ที่ worldwidemuseum@yahoo.co.uk
-------------------------