Advertisement
น้ำมะพร้าวชะลอวัยทองป้องกันสมองเสื่อม
นอกจากน้ำมะพร้าวช่วยลดอาการวูบวาบของสตรีวัยหมดประจำเดือนได้แล้ว ยังลดอาการอัลไซเมอร์สได้ด้วยนะ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยืนยันคุณสมบัติน้ำมะพร้าวชะลอโรคอัลไซเมอร์ในกลุ่มหญิงวัยทอง ทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์ หากรับประทานระยะยาวเสี่ยงเกิดมะเร็ง
ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือหญิงวัยทองที่ขาดฮอร์โมนจากรังไข่มากระตุ้นมดลูก เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ กระดูกผุ จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนสังเคราะห์ทดแทน
อย่างไรก็ดี มีผลวิจัยจากต่างประเทศเตือนว่า การรับฮอร์โมนสังเคราะห์ต่อเนื่องนานกว่า 5 ปี มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ทีมวิจัยจึงตั้งเป้าหาสารธรรมชาติทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์ โดยนำน้ำมะพร้าวมาศึกษา เนื่องจากมีเอสโตรเจนสูงไม่ต่างจากถั่วเหลืองและกวาวเครือขาว หลังทดสอบฤทธิ์ของน้ำมะพร้าวในหนูขาวเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ พบว่าหนูที่ได้รับน้ำมะพร้าวมีพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่าหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมะพร้าว
คนสมัยก่อนมักแนะนำให้สตรีวัยทองดื่มน้ำมะพร้าว เพื่อลดอาการวูบวาบจากภาวะหมดประจำเดือน แต่ยังไม่มีงานวิจัยเชิงลึกเพื่อยืนยันคุณสมบัติของน้ำมะพร้าว เพื่อใช้เป็นแหล่งฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน
นักวิจัยนำหนูขาวเพศเมีย อายุ 4 เดือน มาตัดรังไข่ออกและแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้น้ำมะพร้าวปริมาณ 100 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน และอีกกลุ่มไม่ให้น้ำมะพร้าวเป็นเวลา 5 สัปดาห์ จากนั้นนำไปผ่าสมองเพื่อตรวจสอบระดับเซลล์
“น้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงไม่ต่างกับถั่วเหลืองและกวาวเครือขาว ที่หญิงวัยทองส่วนใหญ่บริโภคทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์อยู่ แต่ก็ไม่ควรดื่มมาก อาจเลือกดื่มสลับกับน้ำนมถั่วเหลือง เนื่องจากมีส่วนกระตุ้นให้ไขมันชนิดดี (เอชดีแอล) มีปริมาณสูงขึ้นเกินความจำเป็นด้วย” ดร.นิซาอูดะห์กล่าว
ผลการตรวจสอบพบว่า หนูขาวที่ได้รับน้ำมะพร้าวจะมีอัตราการตายของเซลล์ประสาทน้อยกว่าหนูที่ไม่ได้รับน้ำมะพร้าว แผลที่เกิดจากการผ่าตัดแห้งและหายได้เร็วกว่า มีขนที่นุ่มและผิวขาวใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้ ทีมวิจัยกำลังศึกษาต่อในส่วนของการออกฤทธิ์สมานแผลของน้ำมะพร้าว เพื่อหาข้อสรุปว่า นอกจากการนำน้ำมะพร้าวมาใช้เป็นสารทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์สำหรับหญิงวัยทองได้แล้ว ยังสามารถออกฤทธิ์รักษาบาดแผลได้จริงหรือไม่
ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.thaiza.com
|
วันที่ 24 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,659 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,756 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,992 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,846 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,202 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,641 ครั้ง |
|
|