Advertisement
'บุหรงช้าง-ดอกทู่' พรรณไม้ ใหม่ของโลก
ระบุ บุหรงช้าง พบที่ป่าดิบชื้นที่นราธิวาส เป็นเถาเลื้อยมีดอกผลใหญ่ที่สุดในตระกูลบุหรง ขณะที่ บุหรงดอกทู่ เป็นไม้พุ่มพบที่ จ.เชียงรายเติบโตอยู่บนที่สูง...
เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. นายอนันต์ รุ่งพรทวีวัฒน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห ่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงการค้นพบ "บุหรงช้างและบุหรงดอกทู่...พรรณไม้ในสกุลบุหรงชนิดให ม่ของโลก" ว่า ขณะนี้ เป็นข่าวดีของประเทศไทย ที่ค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก คือ บุหรงช้างและบุหรงดอกทู่ โดยนักวิจัยของสถาบันฯ คือ นายปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษและนักวิจัย ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ
รอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ กล่าวอีกว่า พรรณไม้ทั้ง 2 ชนิด ได้มีการตรวจสอบการตั้งชื่อและนำไปตีพิมพ์รายงานในวา รสาร Systematic Botany ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 หน้า 252-265 ประจำปี 2552 วารสารดังกล่าวเป็นวารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติที่ ออกในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับต้นแบบของตัวอย่างแห้ง (Type specimen) ของทั้งบุหรงช้างและบุหรงดอกทู่ได้มีการเก็บไว้ที่หอ พรรณไม้ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (BKF) นับเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย
ด้าน นายปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษและนักวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า บุหรงช้าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Dasymaschalon grandiflorum Jing Wang, Chalermglin & R.M.K. Saunders สำรวจพบครั้งแรกเมื่อปี 2544 ในป่าดิบชื้นของ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ที่ระดับความสูง 300 - 500 เมตร ลักษณะพิเศษของบุหรงช้าง คือ เป็นบุหรงเพียงชนิดเดียวที่เป็นเถาเลื้อย ขณะที่บุหรงชนิดอื่นทั้งหมดเป็นไม้พุ่ม และมีดอกและผลขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลบุหรง เถาเลื้อยไปได้ไกลถึง 15 เมตร แผ่นใบรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน เนื้อใบหนา เรียบ ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาวเคลือบ ดอกออกตามเถาแก่ สีเหลือง ออกดอกบานช่วงเดือน ก.พ. – เม.ย.ของทุกปี
นักวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า สำหรับ บุหรงดอกทู่ มีการสำรวจพบมานานหลายปี พบในป่าดิบเขาของ อ.แม่ฟ้าหลวง และอ.เมืองเชียงราย ที่ระดับความสูง 800-1,600 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ Dasymaschalon obtusipetalum Jing Wang, Chalermglin and R.M.K. Saunders ลักษณะพิเศษของบุหรงดอกทู่ เป็นไม้พุ่ม สูง 4-6 เมตร ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน เนื้อใบหนา ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาวเคลือบ ดอกออกที่ปลายยอด สีเหลืองอ่อน ออกดอกบานในเดือน พ.ค. – ก.ค.ของทุกปี
นายปิยะ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ กำลังทำงานวิจัยศึกษาเรื่องการขยายพันธุ์บุหรงดอกทู่ โดยวิธีการทาบกิ่ง เสียบกิ่ง และศึกษาวิจัยตรวจสอบหาสารสำคัญในการออกฤทธิ์และโครง สร้างทางเคมีของสารดัง กล่าว สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในทางเภสัชกรรม และเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนต่อไป แต่สำหรับบุหรงช้างนั้นเนื่องจากเป็นพืชที่เติบโตอยู ่ในพื้นที่ที่ยากลำบาก ในการเข้าไปสำรวจ ขณะนี้จึงยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัย
ข้อมูลจากไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 24 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,391 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,132 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,126 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,135 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,288 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,433 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,468 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,039 ครั้ง |
|
|