Gramsci: นักคิดแนวทฤษฎีวิพากษ์รุ่นสอง
Antonoi Gramsci 1891 – 1937 เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอีตาลี กรัมซี่สังกัดอยู่ในรุ่นที่สองของกลุ่มนักคิดทฤษฎีวิพากษ์ที่มีประสบการณ์ทางด้านการเมือง อาทิ การมีส่วนร่วมในพรรคสังคมนิยมอิตาลี จนได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยมอิตาลีอยู่ 3 ปี ซึ่งข้าพเจ้าขอชี้แจ้งที่มาของกรัมซี่ดังนี้ หลังจากที่ P.Wexler ได้แบ่งยุคสมัยของพัฒนาการศาสตร์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองออกเป็น 4 ยุคนั้นมันทำให้ที่มาของกรัมซี่มีความโดดเด่นมากขึ้น ยุคแรก เป็นยุคที่ผู้บุกเบิกอย่าง Mark, Engle ,Lenin and Stalin ซึ่งนักคิดเหล่านี้ล้วนมีความสนใจในการวิเคราะห์ลักษณะจิตสำนึกของชนชั้นกรรมชีพ ยุคที่สอง เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ.1939 – 1945 ที่มีสำนัก Frankful มีนักคิดออกมาวิจารณ์สังคมว่าเป็นแบบ Total Administration ที่มีผลต่อการทำลายพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคม ยุคที่สาม เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามกำลังลุกโชน คือในทศวรรษ 1960 เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในนามกลุ่มซ้ายใหม่ (New Left) ที่นำเอาทฤษฎีวิพากษ์นำอุดมการณ์เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมทุนนิยมอย่างถอนรากถอนโคน ยุคที่สี่ Post Marxist ที่มีสองแนวทางคือ แนวทางแรกมุ่งวิเคราะห์โครงสร้างที่เน้นหนักทางด้านทฤษฎี แนวทางที่สอง มุ่งวิเคราะห์มนุษย์ผู้กระทำการ Agency ที่เน้นหนักไปในการปฏิบัติการ โดยแนวทางนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ Birmingham ซึ่งที่นี้กรัมซี่มีบทบาทเป็นนักคิดคนสำคัญ นี่คือเส้นทางลางๆ ของกรัมซี่ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดสาขาวิชาสังคมวิทยาต่อไป
แนวคิดของ Gramsci
1.โครงสร้างทางสังคม นักคิดทฤษฎีวิพากษ์อย่าง Marx Engel ได้เสนอว่า โครงสร้างทางสังคมนั้นมีสองส่วน โดยแบ่งเป็น โครงสร้างส่วนล่าง Infrastructure ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจ และโครงสร้างส่วนบน Superstructure ที่หมายถึง การเมือง วัฒนธรรม อุดมการณ์ โดยนักคิดในยุคแรกนั้นมีความคิดว่า โครงสร้างชั้นล่างจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างชั้นบน แต่แนวคิดของ Gramsci ให้ความสำคัญกับแนวคิดโครงสร้างส่วนบนเป็นหลัก โดยมีงานวิจัยส่วนใหญ่ออกมารองรับ
2. โครงสร้างและมนุษย์ผู้กระทำการ โดยมีแนวคิดดั้งเดิมว่า บรรดาสถาบันทางวัฒนธรรม Dominant Cultural Institution สามารถครอบงำมนุษย์ได้ แต่กรัมซี่ชี้นำว่า มนุษย์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาบันทางวัฒนธรรมได้
3. วิธีคิด ในช่วงชีวิตของกรัมซี่เป็นช่วงที่แนวคิดทฤษฎีวิพากษ์มีบทบาทอย่างสูงในการอธิบายแยกแยะทุกสิ่งทุกอย่างออกเป็นส่วนๆ แต่กรัมซี่กลับเขียนงานเพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ถูกจับแยกออกจากัน
การอธิบายโครงสร้างทางสังคม Gramsci นำแนวคิดด้านสังคมวิทยาเข้ามาอธิบายโครงสร้าง กระบวนการทำงานของสังคมอย่างเชื่อมโยง ดังนี้ มิติเศรษฐกิจ คือ กลุ่มผลประโยชน์จะเกิดความขัดแย้งกัน ดังนั้นกลุ่มต่างๆ พยายามส่งตัวแทนของตนเข้าไปสังกัดในรัฐ ตามกลไกของสังคม เช่น ส่งผู้แทนเข้าไปในระบบรัฐสภาหรือเลือกใช้วิธีการรัฐประหารผ่านกลุ่มทหาร เป็นต้น มิติการปราบปราม รูปธรรมของกลไกนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพ ตำรวจ กฎหมาย ศาล คุก ซึ่งเน้นการใช้มาตรการรุนแรงใช้กำลังในการปราบปราม มิติการครอบงำ Ideological Apparatus เน้นผ่านสถาบันครอบครัว โรงเรียน ศาสนา มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน สื่อมวลชน ที่ทำงานอยู่ในปริมณฑลของประชาสังคม Civil Society กลไกนี้ใช้มาตรการไม้นวม คือ อบรมบ่มเพาะ ปลูกฝังความคิด ค่านิยม อุดมการณ์ จนเกิดการยอมรับในที่สุด Gramsci คิดว่ากลุ่มคนที่ผลิตโดยตรง เช่น กรรมกร นายทุน เจ้าที่ดิน จะพยายามส่งคนเข้าไปยึดอำนาจพื้นที่ในกลไกของรัฐ เช่นเดียวกันกับกลุ่มกินเงินเดือนซึ่งอธิบายได้จากการรวมตัวของกลุ่มเป็นทุนและส่งผู้แทนเข้าไปเป็นรัฐมนตรีแล้วออกกฎหมายเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มซึ่งเป็นพลวัตวิสัย (ปกติธรรมดา)
การผสมผสานแนวคิดเรื่อง “กลุ่มทางประวัติศาสตร์เข้ากับเรื่องชนชั้น”
นักคิดในทฤษฎีวิพากษ์ เชื่อว่า ชนชั้นนั้นเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งทางสังคม คือ คนในชนชั้นต่างๆ จะต่อสู้กันเนื่องจากความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ (Economic Interest) และนำไปสู่ความขัดแย้งทางชนชั้น (Class Conflict) ในที่สุด Gramsci ยังอธิบายเพิ่มเติมว่าบางช่วงเวลาของประวัติศาสตร์มักจะเกิด “กลุ่มทางประวัติศาสตร์” Historical Block ที่เกิดจากกลุ่มต่างๆ ชนชั้นต่าง มาร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับกลุ่มอื่นๆ อาทิ การวมกลุ่มกัน รวมตัวกันเพื่อเหตุผลทางการเมือง เป็นต้น
พื้นแนวคิดของ Gramsci
Coercion and Consent ประวัติศาสตร์ทำให้เราค้นพบบทเรียนอย่างหนึ่งว่า การใช้เครื่องมือ กลไกทางอุดมการณ์ในการปกครองพลเมืองนั้น เป็นความพยายามอย่างหนักของผู้ปกครองที่มุ่งทำให้พลเมืองยอมรับอำนาจการปกครองอย่างดุษฎี แต่อย่างไรก็ตามกลไกการปราบปรามนั้นก็มีความจำเป็นในบางช่วงเวลาที่กลไกด้านอุดมการณ์ทำงานไม่ได้ หรือถูกท้าทายจนไร้ทางออก ดังนั้นแม้สังคมจะมีความขัดแย้งมากมายเพียงใด มันก็จะปรากฏทางออกมาเองเสมอ
War of Movement and War of Position นักทฤษฎีวิพากษ์ยุคแรกเสนอแนวคิดเรื่องชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้นเป็นหลัก โดยมุ่งยึดอำนาจรัฐ War of Movement เท่านั้น Gramsci เสนอเพิ่มเติมว่า หากพรรคการเมืองใดมุ่งแต่ยึดอำนาจรัฐอย่างเดียวนั้น อำนาจนั้นก็ไม่คงทนถาวร โดยเขาเสนอเพิ่มเติมว่า ก่อนที่จะทำสงครามยึดอำนาจรัฐนั้น ต้องดำเนินการแย่งชิงพื้นที่ทางความคิด พื้นที่ทางวัฒนธรรมของประชาชนเสียก่อน War of Position หรือขยายความได้ว่าเป็นการเอาชนะจิตใจให้ได้ก่อน ตรงนี้ขอยกตัวอย่าง กระบวนการที่ทำให้กองทัพมาเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่คนกลุ่มหนึ่งทำให้ความคิด อุดมการณ์ จริยธรรม วัฒนธรรมของตนเอง กลายเป็นความคิดและวัฒนธรรมหลักของสังคมได้นั้นเรียกว่า “การครอบครองความเป็นเจ้าทางอุดมการณ์” Hegemony ทั้งๆ ที่อุดมการณ์ความคิดดังกล่าวตอบสนองผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นซึ่งสามารถเทียบเคียงได้จากการรัฐประหารในสยามจากกองทัพได้ทุกคราวไป
Hegemony การครอบครองความเป็นเจ้าของ หมายถึงการแย่งชิง ช่วงชิง จนเกิดการสถาปนาระบบการเมืองหนึ่งการเมืองใดขึ้นในสังคม อาทิ ในสังคมไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ทำให้เงื่อนไขใหม่ทางการเมืองกำหนดให้ทุกอย่างมาจากระบบตัวแทน เลือกตั้ง จนเกิดการยอมรับขึ้นอย่างทั่วถ้วน แต่ครั้นมีกลุ่มคนที่ได้รับความเดือดร้อนจากระบบตัวแทน เกิดการรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิๆต่างให้กับกลุ่มและตัวเอง Political Hegemony กลับกดให้การรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องนั้นไม่มีความหมายจนกลายเป็น Mob ที่สร้างความวุ่นวายในสังคม ไม่เคารพกฎ กติกา มารยาท แต่หารู้ไม่ว่า Mob นั้นเกิดจากความบกพร่องของ Political Hegemony นั้นเอง ส่วน Cultural Hegemony นั้นก็มีความหมายในชุดเดียวกับ Political Hegemony โดยแนวคิดนี้ต้องมีกลไกดังต่อไปนี้
· มีบทบาทในการสร้าง “กลุ่มทางประวัติศาสตร์” Historical Block เพราะกลุ่มเหล่านี้จักต้อง
ควบคุม ประสาน กับกลุ่มอื่นๆได
· เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำสงครามแย่งชิง พื้นที่ทางความคิด และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่
ต้องมี เศรษฐกิจ การเมือง จริยธรรม และวัฒนธรรมล้อมกรอบอยู่เสมอ
· มีกลุ่มที่ประสบความสำเร็จจากการทำให้กลุ่มเป็นที่ยอมรับแบบสมัครใจสำหรับปฏิบัติการ
Hegemony นั้นมีปฏิบัติการทางวาทกรรม Discursive Practice เช่น การให้คำอธิบาย การอบรม สั่งสอน การเผยแพร่แนวคิดผ่านสื่อต่างๆ การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ และปฏิบัติการกระทำ เช่น การทำบุญกุศล การทำกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
ปัญญาชน
ปัญญาชนแบบดั้งเดิม Traditional Intellectual คือ ปัญญาชนกระแสหลักที่อิงกับอำนาจจารีตที่มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้จากสังคมชั้นสูงสู้สังคมชั้นล่าง อาทิ จากราชสำนัก จากวัด โดยปัญญาชนกลุ่มนี้ ประกอบด้วย นักคิดของชนชั้นสูง ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์ ปราชญ์ผู้รู้ ที่มีความถนัดในการถ่ายทอดความรู้สู่สังคม มวลชน เป็นต้น
ปัญญาชนก้าวหน้า Progressive Intellectual คือนักคิดที่นำเสนอแนวคิดใหม่ ที่ก้าวหน้ากว่าสังคมขณะนั้น ปัญญาชนก้าวหน้านี้จะมาจากทุกสังคม ความคิด ค่านิยม ก็จะมีความหลากหลาย
Organic intellectual ปัญญาชนซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้น ของกลุ่มผลประโยชน์ อาทิ นักทฤษฎีของพรรคการเมือง นักวิชาการของสหภาพแรงงาน เป็นต้น