Advertisement
วิตามิน Q…วิตามินที่ไม่ใช่วิตามิน |
วงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับโคเอนไซม์ Q10 ว่าสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และช่วยชะลอความชราได้ ด้วยเหตุนี้มันจึงได้ชื่อว่า วิตามิน Q
โคเอนไซม์ Q10 เป็นสารที่อยู่ในเซลล์ร่างกาย ในส่วนที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นแหล่งสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ โคเอนไซม์ Q10 จะทำหน้าที่ร่วมกับเอนไซม์ ช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีของการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ดำเนินไปได้ หากขาดโคเอนไซม์ Q10 พลังงานในร่างกายจะขาดไปถึง 80%
โคเอนไซม์ Q10 พบได้มากในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากจำเป็นมากสำหรับอวัยวะที่ต้องทำงานหนักและต้องใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ เช่น หัวใจ รวมถึง ตับและไต
แม้จะมีการค้นพบว่า โคเอนไซม์ Q10 มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายการทำงานของมันได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามจากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์พบว่า โคเอนไซม์ Q10 ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คล้ายกับวิตามินอี โดยมันจะช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าทำลายโมเลกุลไขมันในเซลล์ จึงช่วยรักษาผนังเซลล์ให้คงสภาพอยู่ได้
วิตามิน Q ป้องกันโรคหัวใจ
การศึกษาเรื่องโคเอนไซม์ Q10 แต่เดิมจะมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพในการรักษาโรคและการกระตุ้นภูมิต้านทานโรค แต่ปัจจุบันสิ่งที่น่าสนใจคือการออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา พบว่า โคเอนไซม์ Q10 จะช่วยยับยั้งไม่ให้คอเลสเตอรอลจับตัวเป็นก้อนแข็งในหลอดเลือด ซึ่งวิตามินอีและเบต้าแคโรทีนไม่สามารถเทียบได้ จึงช่วยลดปัญหาหลอดเลือดแข็งและการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ
นอกจากนี้ยังพบว่า โคเอนไซม์ Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลว ที่เรียกว่า Cardiomyopathy ซึ่งเป็นโรคที่ต่อเนื่องจากหลอดเลือดแดงตีบตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้น จนเกิดภาวะหัวใจโต ขนาดของหัวใจขยายใหญ่ขึ้น แต่ประสิทธิภาพการทำงานกลับลดลง กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง สูบฉีดโลหิตได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิตามิน Q ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์เป็นกลุ่มอาการเสื่อมของสมองที่เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ การแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค แต่คาดว่าเซลล์สมองเกิดอาการเสื่อมถอยเพราะถูกทำลายจากอะไรบางอย่าง
ดร. เดนแฮม ฮาร์แมน แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสกา สหรัฐอเมริกา เชื่อว่าโคเอนไซม์ Q10 มีส่วนช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยจะปกป้องไมโตคอนเดรียให้รอดพ้นจากการโจมตีของอนุมูลอิสระ ซึ่งมีเพียงโคเอนไซม์ Q10 และสารอีกไม่กี่ตัวที่สามารถเข้าไปถึงไมโตคอนเดรีย และคอยปกป้องแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของเซลล์ได้
แหล่งวิตามิน Q
อาหารที่มีโคเอนไซม์ Q10 ได้แก่ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า เครื่องในสัตว์ เฉพาะส่วนหัวใจและตับ ส่วนในพืชจะพบได้บ้างในถั่วลิสง และน้ำมันถั่วเหลือง
นอกจากนี้ ร่างกายยังสามารถสร้างโคเอนไซม์ Q10 ขึ้นมาได้เอง อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปร่างกายจะผลิตโคเอนไซม์ Q10 ได้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อถึงวัยกลางคนจึงมักจะขาดโคเอนไซม์ Q10
การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอีและซีลีเนียม สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโคเอนไซม์ Q10 ได้ อาหารที่มีวิตามินอี เช่น น้ำมันพืชชนิดต่างๆ อาหารที่มีซีลีเนียม ได้แก่ อาหารทะเล ข้าวกล้อง เป็นต้น
ความต้องการวิตามิน Q
วิตามินทั้งหลายที่ร่างกายต้องการนั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วในอาหาร แต่คนจำนวนไม่น้อยที่ขาดวิตามินด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเลือกรับประทานอาหาร ไม่รับประทานผักผลไม้ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ การปรุงอาหารผิดหลักโภชนาการ การดูดซึมผิดปกติเนื่องจากเป็นโรคบางอย่าง หรือการรับประทานยาบางชนิด
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าร่างกายคนเราต้องการโคเอนไซม์ Q10 วันละเท่าใด รู้แต่เพียงว่าถ้าขาดโคเอนไซม์ Q10 จะทำให้แก่เร็วและอายุสั้นลง
ที่มา : manager.co.th |
วันที่ 22 ธ.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,195 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,943 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,215 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,321 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,394 ครั้ง |
เปิดอ่าน 50,687 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,856 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,376 ครั้ง |
|
|