ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

วิทยาศาสตร์


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,170 ครั้ง
Advertisement

วิทยาศาสตร์

Advertisement

ความหมายของวิทยาศาสตร์
        คำว่า วิทยาศาสตร์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Science" ซึ่งมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า "Scientia" แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้
        ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 1) กล่าวว่า ถ้าจะให้นิยามความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า "ความรู้" ตามความหมายที่แปลมาจากภาษาลาติน ดูเหมือนว่าจะมีความหมายที่สั้นและแคบจนเกินไป เพราะธรรมชาติหรือแก่นสารที่แท้จริงของวิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้หมายถึงความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งหมายความว่าในการเรียนวิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะต้องได้ทั้งตัวความรู้วิทยาศาสตร์ วิธีการ และเจตคติวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน
        พัชราภรณ์ พสุวัต (2522 : 3) อธิบายว่า วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีเนื้อหาสาระซึ่งเป็นเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้รวบรวมความจริง (facts) เหล่านั้นเพื่อนำมาประมวลเป็นความรู้ (knowledge) และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ (principles) ขึ้น
        ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์. (2534 : 5) ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ว่าหมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องเป็นความจริง จัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบและขั้นตอน สรุปได้เป็นกฎเกณฑ์สากล เป็นความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการที่เริ่มต้นด้วยการสังเกต และ/หรือ การจัดที่เป็นระเบียบมีขั้นตอน และปราศจากอคติ ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมายของ The Columbia Encyclopedia (อ้างถึงใน สมจิต สวธนไพบูลย์ 2535 : 93) ซึ่งอธิบายว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการรวบรวมความรู้อย่างมีระบบ ความรู้ที่ได้รวบรวมไว้นี้เป็นความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ ความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นนั้น มิได้หมายถึงเฉพาะการรวบรวมข้อเท็จจริงเพียงสภาพพลวัต หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและตามสภาพการกระตุ้นจากภายในหรือจากสภาพภายนอก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการสังเกตธรรมชาติและการวิเคราะห์วิจัย วิทยาศาสตร์จึงเป็นสากลเพราะเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยหลักการเดียวกัน วิทยาศาสตร์จึงไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม
        อีกท่านหนึ่งที่ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้อย่างละเอียดและชัดเจน คือ มังกร ทองสุขดี (ม.ป.ป. : 1-2) ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งมนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าสะสมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และจะศึกษาต่อไปในอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น มนุษย์ได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่า
        1. สิ่งต่าง ๆ มีความเป็นมาอย่างไร
        2. สิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรบ้าง
        3. พัฒนาการของสิ่งเหล่านั้นมีระเบียบแบบแผน หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร และ
จะบังเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร
        4. มนุษย์จะนำความรู้ทั้งหลายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
ยิ่งกว่านั้นวิทยาศาสตร์ยังเป็นความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ทดสอบได้เป็นความรู้ที่มีขอบเขต มีระเบียบ กฎเกณฑ์ เป็นความรู้ที่มีรากฐาน มาจาการสังกต การจดบันทึก การตั้งสมมุติฐาน โดยใช้หลักฐานทางปรัชญา และตรรกศาสตร์ แล้วพยายามวัดหรือหาค่าออกมาทั้งในด้านคุณค่า (นามธรรม) และปริมาณ (รูปธรรม) ถ้าจะเปรียบวิทยาศาสตร์เสมือนต้นไม้ใหญ่แล้วรากแก้วที่สำคัญ 3 ราก คือ วิชาปรัชญา ตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์
พร้อมกันนี้ สุวัฒก์ นิยมค้า (2531 : 105-107) ได้รวบรวมทัศนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความหมายของวิทยาศาสตร์ จากนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้คือ

        1. แนช (Nash) นักเคมีกล่าวว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิถีทางอย่างหนึ่งของการเข้า
ไปสำรวจโลก ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะกระบวนการ
        2. วิกเนอร์ (Wigner) นักฟิสิกส์กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ของ ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ได้สะสมไว้ ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้
        3. บูเบ้ (Bube) นักฟิสิกส์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ของโลกธรรมชาติ
ซึ่งได้มาโดยผ่านการปะทะสังสรรค์กับประสาทสัมผัส ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้กับกระบวนการ โดยเน้นว่า กระบวนการที่ขาดไม่ได้ คือ การสังเกต
        4. ฟิชเชอร์ (Fischer) คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์
วิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอเนีย กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ องค์ของความรู้ ซึ่งได้มาโดยวิธีการวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐาน
        5. สแตฟฟอร์ด และคณะ (Stafford and others) นักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการ ดังนี้ คือ
                5.1 วิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ตรงกับปรากฎการณ์ของ
ธรรมชาติ (วัตถุและเหตุการณ์ที่แวดล้อมเราอยู่) แล้วมีการรวบรวมรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับวัตถุและเหตุการณ์นั้น ๆ
                5.2 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำข้อมูลและการตีความหมาย
ข้อมูลที่ได้
                5.3 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติเป็นคู่แฝด ด้านหนึ่งนั้นเป็นการสะสมความรู้ที่ได้ผ่านการทดลองแล้ว และอีกด้านหนึ่งจะเป็นวิธีการค้นหาความรู้
                5.4 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์
                5.5 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับความพยายาม ที่จะอธิบายปรากฎการณ์ที่
เกิดขึ้น หรืออธิบายกฎเกณฑ์ที่ได้จากปรากฎการณ์นั้น รวมทั้งการขยายความรู้ให้กว้างออกไปเลยจากประสบการณ์ที่ได้รับ
                5.6 ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับเพิ่มนั้น มีลักษณะสืบต่อจากความรู้เก่าที่มี
คนค้นพบไว้แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนใหม่ จะอาศัยความรู้และความคิดของนักวิทยาศาสตร์คนก่อน ๆ เป็นบันไดก้าวไปหาความรู้ใหม่ต่อไป
        6. จาคอบสันและเบอร์กแมน (Jacobson & Bergman) ได้อธิบายธรรมชาติและ
โครงสร้างของวิทยาศาสตร์ว่า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
                6.1 ส่วนที่เป็นความจริงพื้นฐาน ที่ไม่ต้องพิสูจน์ (assumptions in science)

                6.2 ส่วนที่เป็นวิธีการ และกระบวนการวิทยาศาสตร์ (methods and
processes of science)
                6.3 ส่วนที่เป็นตัวความรู้ (broad generalizations of science)

จากการที่มีผู้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้หลากหลายสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้ คือ
        1. จากความหมายของรากศัพท์ของวิทยาศาสตร์ จากภาษาลาติน หมายถึง
องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน
        2. จากการวิเคราะห์ประวัติการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัวความรู้ของธรรมชาติที่ค้นพบกับส่วนที่เป็นวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นมา
        3. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ จะมี 3 ประเด็น คือ
                3.1 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของ
ธรรมชาติ
                3.2 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ธรรมชาติ
                3.3 มองวิทยาศาสตรเป็นทั้งองค์ความรู้ของธรรมชาติ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ
        4. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้น วิทยา
ศาสตร์มีลักษณะเป็น 2 มิติ ควบคู่กันไป คือ มิติทางด้านองค์ความรู้ของธรรมชาติ และ มิติทางด้านกระบวนการที่ใช้สืบเสาะหาความรู้นั้น

ที่มา : http://www.rmutphysics.com/CHARUD/specialnews/6/science/unit4_1.html

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 10306 วันที่ 22 ธ.ค. 2552


วิทยาศาสตร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ห้องฟังเพลง

ห้องฟังเพลง


เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
ผู้บริหาร..กับหลักธรรมะ

ผู้บริหาร..กับหลักธรรมะ


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
5  อาชีพ..... ที่น่าสนใจ

5 อาชีพ..... ที่น่าสนใจ


เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
ภัยเงียบ!! ในที่ทำงาน

ภัยเงียบ!! ในที่ทำงาน


เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
 13,687 วัน ที่มีค่า

13,687 วัน ที่มีค่า


เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
เวปไซต์ New Zealand curriculum  คืออะไร?

เวปไซต์ New Zealand curriculum คืออะไร?


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
ครูดี "ครูเพื่อศิษย์"

ครูดี "ครูเพื่อศิษย์"


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
ดอกอุเมะ...!!!สวยมากค่ะ

ดอกอุเมะ...!!!สวยมากค่ะ


เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

 วิธีกินแป้ง....แบบไม่อ้วน

วิธีกินแป้ง....แบบไม่อ้วน

เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แข่งอะไร...***?  หาเส้นชัยไม่ยักเจอ
แข่งอะไร...***? หาเส้นชัยไม่ยักเจอ
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ!!
ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ!!
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

  การตัดแต่งต้นไม้
การตัดแต่งต้นไม้
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย

ลูกจ๋าอย่าทิ้งแม่ไป...
ลูกจ๋าอย่าทิ้งแม่ไป...
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย

ลองวัดดูว่าคุณเป็นคนประเภทไหน (มี16แบบ)
ลองวัดดูว่าคุณเป็นคนประเภทไหน (มี16แบบ)
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

English Breakfast   เติมอาหารจานใหญ่ใส่สมอง ทางเลือกในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ
English Breakfast เติมอาหารจานใหญ่ใส่สมอง ทางเลือกในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

จำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะ
เปิดอ่าน 35,018 ครั้ง

รู้ไว้ไม่เสียหาย! ตัวเลข "เฮง-ชง" ประจำปีวอก
รู้ไว้ไม่เสียหาย! ตัวเลข "เฮง-ชง" ประจำปีวอก
เปิดอ่าน 12,614 ครั้ง

ม.44 ดัน "ศึกษาธิการจังหวัด" เดินหน้าหรือถอยหลังปฏิรูปศึกษา
ม.44 ดัน "ศึกษาธิการจังหวัด" เดินหน้าหรือถอยหลังปฏิรูปศึกษา
เปิดอ่าน 10,931 ครั้ง

การเต้นเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "ฮาร์เล็ม เชค Harlem Shake" คืออะไร?
การเต้นเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "ฮาร์เล็ม เชค Harlem Shake" คืออะไร?
เปิดอ่าน 33,562 ครั้ง

วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม
เปิดอ่าน 28,273 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ