ตรึงกางเขน
หลายคนคงเคยเห็นภาพการตรึงกางเขน ที่ฝรั่งเรียกว่า CRUCIFIXION กันดีนะครับ แต่คุณรู้ไหมว่าประวัติของมันมีที่มายังไง
เรื่องราวของการตรึงกางเขนนั้น ผู้คิดค้นวิธีนี้คือพวกฟีนีเซียน(Phoeni Cian) ชนชาตินี้ชอบเดินทางค้าขายทางทะเลในสมัยอาณาจักรไซเรียนอันเกรียงไกรในสมัยนั้น เมื่อราว 1,000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยจุดค้าขายสำคัญของพวกเขาคือ คาร์เธจ ในอาฟริกา
ซึ่งชนชาตินี้เวลาใครทำผิดอะไรก็จะโดนประหารโดยวิธีการตรึงกางเขนนี้แหละครับ และวิธีนี้ดันเป็นที่ถูกออกถูกใจ พวกกรีก อัสซีเรีย อียิปต์ เปอร์เซีย ตลอดจนโรมันอย่างมาก จึงพากันเอาไปใช้เป็นแบบอย่างทั่วหน้า
ในยุคสมัยเดียวกับพระคริสต์ถูกตรึงกางเขนนั้น วิธีประหารแบบนี้ทำให้คนทั้งหลายลงความเห็นว่าเป็นวิธีที่โหดร้าย ต่ำทราม อย่างมากๆ ทำให้มีการออกกฎใหม่คือนักโทษชาวโรมันจะไม่โดนประหารด้วยวิธีนี้ แต่สำครับพวกทาสหรืออาชญากรที่ร้ายสุดๆ ยังโดนประหารด้วยการตรึงกางเขนแบบนี้อยู่
แท็กซิทัส (Tacitus) นักประวัติศาสตร์โรมันบันทึกไว้ว่าที่โรมมีสถานที่สำหรับการตรึงกางเขนโดยเฉพาะอยู่ที่นอกประตูเอสควิลีน (Esquiline Gate) และมีบริเวณเฉพาะสำหรับการประหารชีวิตทาสโดยการตรึงกางเขน สันนิษฐานกันว่าตรงที่ตรึงกางเขนจะมีเสาตรงปักไว้แล้วเป็นการถาวร และเมื่อมีผู้แบกกางเขนมาใหม่ซึ่งร่างอาจจะตรึงไว้กับไม้แล้วก็ได้ก็เอาผู้นั้นหรือไม้นั้นผูกหรือติดไว้กับเสาที่ปักไว้ถาวร
บางครั้งผู้ที่ถูกประหารชีวิตก็อาจจะถูกผูกกับไม้ด้วยเชือกหลังจากที่ถูกตรึงตามที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์โจซีฟัส (Josephus) ซึ่งกล่าวถึงสมัยที่กรุงเยรุซาเล็มถูกล้อมเมื่อ ค.ศ. 70 ถึงการตรึงกางเขนผู้ที่ถูกจับด้วยวิธีต่างๆ ของทหารโรมันและใน จอห์น 20:25 วัตถุที่ใช้ในการตรึงกางเขนเช่นตะปูเป็นสิ่งที่แสวงหากันเพราะถือว่าช่วยกันภัย
โดยวิธีการประหารตรึงกางเขนนี้ เริ่มแรกเขาก็ทำการตรึงนักโทษโดยใช้ไม้เสาโดดๆ ท่อนเดียว นักโทษจะมัดไว้กับเสา แล้วปล่อยให้นักโทษหิวอดตายตากแดดจ้าตายเอง
ต่อมาจึงเริ่มมีการพัฒนาโดยเอาไม้ขวางอีกท่อนหนึ่งมาใช้ประกอบ ซึ่งเป็นรูปแบบสี่แขน สามแขน หรือแบบ X ซึ่งบางครั้งเรียกว่าไม้กางเขน เซนต์แอนดรูว์ เพราะนักบุญท่านนี้ก็เคยเป็นหนึ่งผู้ต้องโทษด้วยไม้กางเขนแบบนี้
แม้รูปร่างของกางเขนจะแตกต่างกันออกไป แต่การประหารจะคล้ายๆ กันครับ เริ่มจากเอาแส้โบยนักโทษ แล้วใช้หามไม้ขวางเดินไปตามถนนในชุมชนเพื่อเป็นการประจาน การจะให้แบกไปทั้งกางเขนนั้นส่วนมากนักโทษจะทนไม่ไหว เนื่องจากมันหนักมากเกินไป
ก่อนจะตรึงนักโทษ ผู้คุมจะเปลื้องเสื้อผ้าผู้เคราะห์ร้ายออกจนเหลือผ้าเตี่ยวคาดไว้กันอุจาด จากนั้นถ้าไม่ใช้วิธีตอกประตูตัวใหญ่ตรึงฝ่ามือกับหลังเท้าไว้ ก็อาจใช้เชือกมัดแทนก็ได้ โดยปกติจะใช้ไม้ลิ่มให้นักโทษยันฝ่าเท้าไว้ ไม่เช่นนั้นน้ำหนักตัวนักโทษจะถ่วงลงจนตกมาได้ พอตรึงเสร็จก็ตั้งไม้กางเขนปักลงในหลุมที่เตรียมไว้แล้ว
ถ้าหากนักโทษมีร่างกายแข็งแรงกว่าจะตายทรมานมากๆ บางทีจึงต้องมีการหักแขนขาเสียก่อนเพื่อให้ตายไวขึ้น นักโทษจะถูกแสงแดดแผดเผาตลอดกลางวันเพราะร่างกายเกือบเปลือยเปล่า เหล่าแมลงจะมารุมตอมกินเหงื่อและเลือดที่เกิดจากการโบย นอกจากนั้นพวกเขายังอาจไอจมจากฝุ่นละอองที่ลมพัดมาจากทะเลทรายอันแห้งแล้งแต่ถ้านักโทษยังมีลมหายใจอยู่ได้หลังพระอาทิตย์ตกดิน เขาอาจได้รับการปล่อยตัวไป โดยถือว่าพระเจ้าทรงกรุณาไว้ชีวิต
ส่วนใหญ่การตรึงกางเขนมักทำในนักโทษที่เป็นหมู่มากกว่านักโทษคนเดียว บางทีอาจมากถึงหกเจ็ดคน เมื่อตายแล้วมักจะคาทิ้งเพื่อประจานก่อน เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง หลังจากนั้นก็ฝังพร้อมกับไม้กางเขนลงไปด้วยกัน
บางแห่งมีการปรับปรุงการตรึงกางเขนให้โหดน้อยลง เช่นตรึงนักโทษแบบเอาหัวลง แม้จะดูสยอดสยองยิ่งขึ้นแต่นักโทษจะหมดสติสัมปชัญญะไปในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ไม่ทุกข์ทรมานมากนัก
ด้วยเหตุที่ว่าการตรึงกางเขนทำให้นักโทษเจ็บปวดสาหัสกว่าจะตาย จักรรดิคอนสแตนตินแห่งโรมันในศตวรรษที่ 4 จึงทรงประกาศยกเลิกการประหารนี้ แต่กระนั้นวิธีการประหารนี้ยังมีอยู่เนื่องๆ เช่นในฝรั่งเศสก็ใช้ไปถึง ค.ศ. 1127 เพราะในปีนี้พระเจ้าหลุยส์อ้วน(Louis the Bullky)ได้ทรงมีพระราชโองการให้เอาตัว นายแบร์โธลเดอ ซึ่งเป็นผู้ปลงพระชนม์ ชาร์ลส์แห่งยุติธรรม ให้ไปประหารเสียด้วยการตรึงการเขน
ว่ากันว่านักโทษที่ฝรั่งเศสที่จับตรึงกางเขนส่วนใหญ่จะเป็นยิวครับ
ส่วนรายงานล่าสุดผมเห็นสารคดีหนึ่งช่วงสงครามโลกครั้งที่สองฝ่ายเยอรมันกับญี่ปุ่นก็ใช้วิธีนี้ลงโทษเชลยสงครามเช่นกัน
|