Advertisement
สมัยสุโขทัย
ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันปรากฎชื่อมาเนิ่นนานจากคำเรียกขานของชาว อินเดียและชาวตะวันตกว่า สุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งทองและความมั่งคั่ง สำหรับ คนไทยทั่วปไแล้วเมื่อตั้งคำถามว่าใครอยู่ที่สุวรรณภูมิมาก่อน? และคนไทยมา จากไหนจึงมาตั้งรกรากอยู่ที่สุวรรณภูมินี้ได้ เรามักนึกถึงผู้คนที่สร้างบ้านแปลง เมืองขึ้นมาในยุคสุโขทัยเป็นอันดับแรก และเราก็มักลืมนึกถีงผู้คนที่อพยพลงมา จากทางเทือกเขาอันไต ผานทะเลทรายโกบีอันร้อนแรงและเหน็บหนาวอย่าง ที่สุดในฤดูหนาว ผ่านลงมาถึงน่านเจ้า หยุดพักสร้างอาณาจักรขึ้นที่นั่น แต่ก็ต้อง ถูกตีจนถอยร่นลงมาตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นและเราก็อาจนึกถึงบทเพลงปลุกใจ ที่เคยร้องกันว่า...เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่... แต่ปัจจุบันความคิดดังกล่าวนี้ กำลังถูกสั่นคลอนอย่างหนัจากวงวิชาการว่า คน ไทยมิได้อพยพมาจากเทือกกเขาอันไต และราชธานีสุโขทัยก็มิได้เป็นอาณาจักร อิสระแห่งแรกของคนไทย เพราะก่อนหน้าที่สุโขทัยจะเกิดขึ้นนั้นมีอาณาจักรอื่น ตั้งเป็นแว่นแคว้นขึ้นมาก่อนแล้ว
ถิ่นกำเนิดของคนไทย : ความพยายามที่จะค้นคว้าคำตอบว่าคนไทยมาจากไหน ทำให้ช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมามีการตื่นตัวถกเถียงและเสนอความคิดเกี่ยว กับถิ่นกำเนิดของคนไทยอย่างกว้างขวาง กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าไทยมีต้นกำเนิดอยู่ บริเวณมณฑลเสฉวนแล้สค่อยๆออพยพลงสู่ยูนานและแหลมอินโดจีนเพราะถูกรุก ราน ความเชื่อนี้สอดคล้องกับกลุ่มที่เชื่อว่าคนไทยอพยพลงมาจากเทือกเขาอัลไต ทำให้เกิดเส้นทางอพยพอัลไต-เสฉวน-น่านเจ้า และสุโขทัยขึ้น
อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณทางตอนใต้ของจีน และทางตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าถิ่นเดิมของคนไทยอยู่ยริเวณเนื้อที่ประเทศไทยปัจจุบัน
กลุ่มสุดท้ายเชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอาจจะอยู่ในคาบสมุทรมาลายู เนื่องจาก พบว่าความถี่ของยีนและหมู่เลือดของคนไทยคล้ายคลึงกับชาวชวามากกว่าจีน
ถึงวันนี้ทฤษฎีอัลไต-เสฉวน-น่านเจ้าจะดูน่าเชื่อถือน้อยที่สุด เพราะเหตุที่ว่าเทือก เขาอัลไตอยู่ในเขตหนาวจัดไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ทะเลทรายโกบีก็ร้อนและ หนาวจัดเกินกว่าจะอพยพผ่านเส้นทางทุรกันดานลงมาได้ รวมทั้งหลักฐานหลาย อย่างที่ชี้ว่าออาณาจักรน่านเจ้ามิได้เป็นหลักฐานเดิมของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท
ขณะที่ทฤษฎีอัลไตเป็นไปได้น้อยที่สุดแนวคิดที่ว่าคนไทยอยู่ที่นี่รวมทั้งกระจายตัวอยู่ เป็นวงกว้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับมีความเป็นไปได้มากที่สุด หลักฐาน สำคัญที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีใน ปีพ.ศ. 2510 โดยขุดค้นหลายชั้นดิน พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณปนอยู่กับโลหะ สำริดในชั้นดินแรก ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 6000 ปี ชั้นดินถัดมาพบโครงกระ ดูกมนุษย์ฝังปนกับเครื่องปั้นดินเผาลูกปัดต่าง ประมาณว่ามีอายุระหว่าง 2000-4000 ปี และในชั้นดินส่วนบนสุดก็ยังพบโบราณวัตถุมีลูกปัดหินลูกปัดแก้วสี รวมทั้งเสมาหิน สมัยทวารวดีและลพบุรีปะปนอยู่ด้วยหลักฐานต่างๆที่ขุดพบนี้แสดงให้เห็นว่าภาคอีสาน ของไทยมีมนุษย์อยู่เป็นเวลานานมาแล้ว และยังอยู่อาศัยหลายยุคอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
แต่เราก็มิอาจสรุปได้ว่ากลุ่มคนที่ใช้วัฒนธรรมบ้านเชียงเหล่านี้คือคนไทย "พวกเขา" อาจเป็นคนกลุ่มเดียวกันที่พัฒนาต่อเนื่องกันมา หรืออาจเป็นคนต่างกลุ่มที่เข้ามาอยู่ อาศัยในเวลาที่ต่างกันก็ได้ อีกทั้งคนกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับคนไทยในปัจจุบันหรือไม่? ก็ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้
หากในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาความตื่นตัวที่จะค้นหาคำตอบว่าคนไทยมาจาก ไหนกันแน่? ทำให้นักวิชาการออกเดินทางไปในที่ต่างๆ และได้ค้นพบหลักฐานข้อมูล ใหม่ๆมากมาย ที่ล้วนแต่สนับสนุนทฤษฎีคนไทยอยู่ที่นี่และกระจายตัวอยู่ในแถบอุษาคเน นี้เองมิได้อพยพมาจากดินแดนอันไกลโพ้นที่ใดเลย
แว่นแคว้นก่อนอาณาจักรสุโขทัย: ราวปีพ.ศ.800-1400 ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนต่างๆและการติดต่อคค้าขายระหว่างกันได้ทำให้เกิดแว่น แคว้นต่างขึ้นตามเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ
หลายร้อยปีก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเกิดขึ้นดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันประกอบ ไปด้วยแว่นแคว้นใหญ่น้อยจำนวนหนึ่ง
ทางใต้มีแคว้นศรีวิชัยซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1500 มีบทบาทสำคัญในฐานะเส้นทาง การค้าทางทะเลระหว่างจีนกับอินเดีย แต่ในทุกวันนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าศูนย์กลางของ อาณาจักรศรีวิชัยตั้งอยู่ที่ใดแน่
หลังศรีวิชัยเสื่อมลง ตามพรลิงค์ซึ่งอยู่บริเวณนครศรีธรรมราชได้ก้าวเข้ามามีบทบาท ควคุมเส้นทางการค้าแทน ตามพรลิงค์รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพ.ศ.1500-1800 เฟื่องฟู ทั้งทางการค้าและวัฒนธรรมประเพณี จนสมัยพ่อขุนรามคำแหงถึงกับอาราธนาพระสงฆ์ จากที่นี่ขึ้ไปตั้งสังฆมณฑลที่สุโขทัย
ทางเหนือตั้งแต่ราวพ.ศ.1000 เป็นต้นมา มีการรวมตัวกันเป็นแคว้นหริภุญชัย โยนก- เชียงแสนและเงินยางเชียงแสนซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นล้านนารุ่งเรืองร่วมสมัยกับ สุโขทัยและอยุธยา
ภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีแว่นแคว้นทวารวดีที่เติบโตขึ้นมาในช่วง พ.ศ.1100-1500 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐมหรือนครชัยศรีเมืองต่างๆที่เข้ามารวม เป็นแคว้นได้แก่ เมืองอู่ทอง(สุพรรณบุรี) เมืองคูบัว(ราชบุรี) เมืองจันเสน(นครสวรรค์) เมืองฟ้าแดดสงยาง(กาฬสินธุ์) และเมืองศรีเทพ(เพชบูรณ์) ทวารวดีสิ้นสุดการเป็นรัฐ ลงด้วยเหตุผล 2 อย่างคือ การเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำและอิทธิพลขอมที่แผ่ขยายเข้ามา ตั้งเมืองละโว้ขึ้นเป็นศูนย์กลางแทน
ละโว้รุ่งเรืองขึ้นมาหลังปี พ.ศ.1500 แทนที่รัฐเดิมของทวารวดีอย่างนครชัยศรีและศรี เทพ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำลพบุรีเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการเกิดของสุโขทัย ละโว้ก็ลดบทบาทลงไปด้วย แต่ก่มิได้เสื่อมสลายไปทีเดียว หากยังคงรักษารูปแบบความเจริญทางด้านศิลปวิทยาการไว้ และพัฒนาต่อเนื่องขึ้นมา เป็นกรุงศรีอยุธยาในภายหลัง
ราชธานีสุโขทัย
สุโขทัยถือกำเนิดขึ้นอย่างเรียบง่ายจากการพัฒนาของหมู่บ้านเล็กๆ ที่เติบโตขึ้นเป็นเมือง กระจายตัวอยู่ตามแนวลุ่มน้ำยมและน่านครั้นก่อน พ.ศ. 1700 การคมนาคมและการค้าต่างๆได้ขยายตัวมากขึ้นเมืองที่อยู่ ตามลุ่มน้ำยมและน่านที่เป็นเส้นทางผ่านการค้าระหว่างรัฐต่างๆก็เริ่มรวม ตัวกันมากขึ้น สุโขทัยเริ่มมีฐานะเป็นแว่นแคว้นขึ้นมาป็นครั้งแรกโดยมี พ่อขุนศรีนาวถมเป็นพ่อเมือง และเป็นช่วงที่อิทธิพลขอมเริ่มเสื่อมลงด้วย ทำให้สุโขทัยเป็นปึกแผ่นมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น โดยมีขอมพวกหนึ่งชื่อว่า "ขอมสบาดโขลงลำพง" ได้เข้ายึดเมืองและ เป็นไปได้ว่า พ่อขุนศรีนาวถมได้เสียชีวิตไปแล้วในช่วงนี้ พ่อขุนผาเมือง ซึ่งครองเมืองราดอยู่จึงร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวรวมกำลังไปชิง เมืองสุโขทัยคืนมาได้สำเร็จ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองให้พ่อขุนบาง กลางหาวพร้อมทั้งมอบนาม "ศรีอินทราบดินทราทิตย์" ให้ด้วย อันเป็น ช่วง พ.ศ.1778
หลังจากนั้นการขยายอาณาเขตของสุโขทัยก็เริ่มขึ้นถือเป็นช่วงเวลาของ การกวาดต้อนผู้คนและรวมบ้านรวมเมืองให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร หลังจากพ่อขุนศรีอิทราทิตย์สิ้นพระชนม์ พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้ปกครองต่อ แต่ก็นับเป็นช่วงสมัยที่สั้นมาก เพียง 44 ปีนับตั้งแต่พ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาของการรวมแว่นแคว้นให้เป็นปึกแผ่น
พ่อขุนรามคำแหง : กษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดของกรุงสุโขทัย คือโอรสองค์ ที่ 2 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะผู้สร้างกรุงสุโขทัย ให้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์อักษรไทยและสร้างศิลาจารึก ในยุคนี้ขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัยได้แผ่ขยายออกไปมากที่สุด โดยในเรื่อง ของระบบเศรษฐกิจนั้นก็เป็นระบบแบบเปิดเสรี คือ ไม่มีการเก็บภาษีทำให้สุโขทัย เติบโตขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ และเป็นแหล่งรวมวัมนธรรมอันหลาก หลายแห่งแว่นแคว้นนี้
เมื่อสิ้นแผ่นดินพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยเริ่มอ่อนกำลังลง พระมหาธรรมราชาที่1 หรือ พระยาลิไทย ผู้ปกครองสุโขทัยอยู่ในช่วงประมาณปีพ.ศ.1890-1913 จึงได้นำ พระพุทธศาสนาเข้ามาฟื้นฟูการปกครอง และทรงขยายอำนาจด้วยการทำสงครามพร้อมๆ กับการเผยแพร่ศาสนา แต่หลังจากสิ้นสมัยของพระองค์แล้ว อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มอ่อน แอลงอย่างแท้จริง พร้อมๆกับที่แว่นแคว้นอื่นเข้มแข็งขึ้น ล้านนาขยายอำนาจลงมาจนถึง ลุ่มแม่น้ำยม-น่าน แคว้นละโว้-อยุธยาเข้มแข็งขึ้นจากการรวมตัวกับสุพรรณบุรีที่ครอง อำนาจอยู่เหนือลุ่มแม่น้ำท่าจีน จนในที่สุดก็ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นได้สำเร็จในปี พ.ศ.1893 หลังจากนั้นไม่นานอาณาจักรสุโขทัยก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
ที่มา:http://www.baanjomyut.com/library/history_thai/sukhothai.html
: ชื่อของเมืองที่แปลว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" และคำกล่าวที่รู้จัก กันดีว่า...เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว ทำให้ภาพของสุโขทัยเป็นดั่งเมือง แห่งความฝัน นครแห่งความสุขและอดีตที่มิอาจหวนคืน
วันที่ 20 ธ.ค. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,215 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,261 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,285 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,822 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,340 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,118 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,852 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,196 ครั้ง |
|
|