Advertisement
ความรู้เรื่องการเลี้ยงแคทลียา
แคทลียา ถือกันว่าแคทลียาเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้
แคทลียา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนเหนือ เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงแบบซิมโพเดี้ยม คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูก เหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้น มีรากงอกเจริญจากเหง้า ไม่มีรากที่แขนง เป็นระบบรากกึ่งอากาศ รากจะดูดอาหารจากอากาศและเครื่องปลูก
ลักษณะของกล้วยไม้แคทลียา
จะมีเป็นลำลูกกล้วย บางชนิดลำลูกกล้วยเป็นข้อปล้อง ลำปล้องมีหน้าที่เก็บสะสมอาหาร ส่วนที่เหนือข้อที่โคนลำ จะมีตา 2 ตา คือตาซ้าย และตาขวา ตาที่ลำจะแตกใหม่ง่ายที่สุด บางชนิดที่ลำลูกกล้วยอ้วนป้อม บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรือบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ผิวของลำอาจเกลี้ยงหรือเป็นร่องตามความยาวของลำ
เมื่อเจริญเติบโต ลำที่ 1 หรือเรียกว่าลำหลัง จะแตกตาออกแล้วเจริญเป็นลำที่ 2 หรือเรียกว่าลำหน้า เมื่อลำที่ 2 เจริญดีแล้วก็จะแตกตาออกเป็นลำที่ 3 และที่ 4 ออกไปเรื่อยๆ บางครั้งตาแตกออกเป็น 2 ทาง เรียกว่า ไม้ 2 หน้า จึงทำให้ดูเป็นกอใหญ่ โดยมีเหง้าเป็นส่วนที่เชื่อมโยงของลำลูกกล้วยลำต่อลำ และกลายมาเป็นส่วนของลำที่เจริญออกจากลำเดิม
ใบแคทลียาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือประเภทใบเดี่ยว เป็นแคทลียาประเภทที่ปลายลำลูกกล้วยมีใบเพียงใบเดียวเท่านั้น แคทลียาประเภทนี้มักออกดอกน้อย ช่อหนึ่งอาจมีเพียง 1 หรือ 2 ดอก เท่านั้น ลักษณะดอกใหญ่ ช่อดอกสั้น
ประเภทใบคู่ เป็นแคทลียาประเภทที่ลำลูกกล้วยมี 2 ใบ อาจจะมีใบถึง 3 ใบ ก็ได้ แคทลียาประเภทนี้จะออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ถ้าดอกเล็กช่อยาว
ในการเพราะเลี้ยงแคทลียาทำได้โดยการผสมพันธุ์ คือนำเกสรตัวผู้เขี่ยลงในดอกเกสรตัวเมีย เพราะธรรมดาแล้วกล้วยไม้จะมีสองเพศในดอกเดียวกัน ถ้าต้องการที่จะผสมพันธุ์ใหม่เราก็ควรที่จะดูก่อนว่าดอกนั้นสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าจะให้ดีก็ควรสังเกตการบานของดอก ถ้าจะให้ผสมพันธุ์ติดดอกควรบานภายใน 3 วัน เนื่องจากเกสรยังมีความชุ่มชื้นอยู่ ทำให้ติดฝักง่าย หลังจากที่ติดฝักแล้ว จะใช้เวลาในการรอฝักแก่ประมาณ 5 เดือน จึงจะนำไปห้องแล็บ ตามกรรมวิธีต่างๆ ต่อไป
ใช้เวลาอยู่ในห้องแล็บ ประมาณ 1 ปี กว่าต้นกล้าจะขึ้น พอต้นกล้าได้ขนาดก็จะนำลงกระถางนิ้วในระยะเวลา 3 เดือน แล้วจึงเปลี่ยนใส่กระถาง 3.5 นิ้ว จนกระทั่งออกดอกอีกครั้ง จึงจะทราบว่าที่ผสมพันธุ์ไปนั้นได้ดอกสีสวยแค่ไหน
"ถ้าเราเลือกต้นที่ดีและชอบแล้วก็นำไปปั่นตา หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่คงที่ สวยและสามารถส่งออกได้ราคาที่ค่อนข้างแพง นี่คือรายได้ที่ลุงเย็นได้รับด้วยความสุข เพราะแล้วแต่ผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคาเอง ไม่ใช่แค่การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อเท่านั้น แต่ยังมีการแยกหน่อออก การแยกหน่อทำได้ง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยากอะไร แค่นำหน่อที่แตกออกมาจากข้างลำต้นเดิมมาชำให้แตกรากแล้วก็นำลงกระถางที่เตรียมไว้ก็กลายเป็นต้นใหม่ที่ขายได้" ลุงเย็นอธิบาย
โรงเรือน
ถือเป็นส่วนที่สำคัญ ที่ทำให้กล้วยไม้นั้นมีที่อยู่ที่เหมาะสม ในการสร้างโรงเรือนนั้นสร้างเพื่อพรางแสงแดด อาจสร้างแบบง่ายๆ คือ ลงเสา 4 ต้น แล้วขึงซาแรนที่แสงลอดได้ ในปริมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นหลังคาของโรงเรือนให้มีความสูงที่ 3-4 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดี เพียงเท่านี้ก็ทำให้กล้วยไม้ที่เรารักมีการเจริญเติบโตได้ดีอีกทางหนึ่งแล้ว
วิธีการปลูกกล้วยไม้
ทั่วไปนั้นสามารถทำได้โดยการเตรียมอุปกรณ์ปลูก ก็จะมีกาบมะพร้าว ถ่าน ลวด กระถางพลาสติค หรือกระถางดิน แล้วนำต้นกล้ามาล้างเมือกที่รากให้สะอาด จึงนำกาบมะพร้าวที่เตรียมไว้มาห่อที่ราก ใช้ลวดมัดที่กาบมะพร้าวเพื่อทำให้ต้นกล้าตั้งตรง และระบบรากจะได้เจริญได้ดี แล้วจึงนำไปแขวนหรือวางไว้ที่โรงเรือน
น้ำที่ใช้
ควรเป็นน้ำสะอาด และที่หาได้ง่ายที่สุดก็คือ น้ำประปา แต่ระวังอย่าใช้น้ำประปาอุ่นๆ หรือร้อนๆ เพราะจะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตช้าได้ ทางที่ดีเมื่อจำเป็นต้องใช้น้ำประปาควรพักไว้นานๆ ก่อน
น้ำที่ใช้ได้ดีรองลงมาคือ น้ำจากคลอง หรือแม่น้ำ แต่ก็ควรทำให้ตกตะกอนเสียก่อน จะต้องใช้น้ำจืดเท่านั้น ถ้าเป็นน้ำเค็ม หรือน้ำกร่อยใช้ไม่ได้ เพราะเป็นพิษต่อกล้วยไม้
วิธีการรดน้ำที่ดี
ถ้าปลูกไม่มากนัก ใช้บัวรดน้ำ หรือจะใช้สายยางพ่นให้เป็นฝอยๆ ก็ได้ ควรระวังอย่าฉีดแรง เพราะทำให้ทั้งต้นและเครื่องปลูกเสียหายได้ ควรรดน้ำให้เปียกชุ่มทั้งใบ ต้น ราก และเครื่องปลูก ถ้ารดน้ำในช่วงเช้าๆ ก่อน 10 โมง จะเป็นช่วงที่ดีที่สุด เพราะพืชจะได้อาศัยความชุ่มชื้นในการปรุงอาหารได้เลย ถ้าจะรดช่วงเย็นควรรดก่อน 6 โมงเย็น เพื่อเครื่องปลูกจะได้แห้งก่อนช่วงกลางคืน โรคราจะได้ไม่ถามหา ถ้าในช่วงที่อากาศร้อนจัดๆ อาจรดเพิ่มในช่วงบ่ายได้อีกครั้ง แต่ถ้าในฤดูฝน หากเครื่องปลูกยังเปียกชื้นอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน
การให้ปุ๋ย
ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.bloggang.com/viewdiary.php?id...month...
ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.bloggang.com/viewdiary.php?id...month...
ควรให้ปุ๋ยทุกๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอก หรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง ไม่ควรฉีดพ่นปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็ว ทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ทัน และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้ ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออก
โรค
นอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจให้พร้อมๆ กับการรดน้ำให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้นๆ วิธีการดูโรคง่ายๆ ตามอาการของกล้วยไม้มีดังนี้
โรคเน่าดำ หรือโรคยอดเน่า สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน เข้าทำลายรากทำให้รากแห้ง มีผลทำให้ใบเหลืองและร่วง ถ้าเป็นที่ยอด ยอดจะเน่าเป็นสีน้ำตาล หากเป็นรุนแรงเชื้อจะลามเข้าไปในลำต้น ซึ่งเมื่อผ่าดูจะเห็นในลำต้นมีสีดำเป็นแนวยาว ส่วนอาการที่ดอกบริเวณปากดอกและก้านดอก เหี่ยวสีน้ำตาล ถ้าเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อ โรคนี้มักแพร่ระบาดมากในฤดูฝนหรือในสภาพอากาศมีความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกิน เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้แยกออกไปเผาทำลายทิ้ง ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่โตควรตัดส่วนที่เป็นโรคออก แล้วใช้สารเคมีป้าย เช่น ริโดมิลสลับกับได เทนเอ็ม 45
โรคดอกสนิม หรือจุดสนิม เป็นปัญหามากเพราะกล้วยไม้อาจแสดงอาการระหว่างการขนส่งได้ เกิดจากเชื้อรา พบที่กลีบดอกกล้วยไม้ โดยเริ่มแรกเป็นจุด ขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลือง จุดที่ขยายใหญ่จะมีสีเขียวเข้มคล้ายสนิม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนหรือสภาพที่มีน้ำค้างลงจัด
การป้องกันกำจัด รักษาความสะอาดแปลง อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เก็บดอกที่เป็นโรคนี้ออกให้หมด และเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคและฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทไดเทนเอ็ม 45
ในช่วงฤดูฝน หากตรวจพบมีการระบาด ควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น
โรคใบปื้นเหลือง มักเกิดกับใบที่อยู่โคนต้น โดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นกลุ่มผงสีดำ และใบจะเป็นสีน้ำตาลหลุดร่วงจากต้น โรคนี้ระบาดมากในช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว
การป้องกันและกำจัดได้โดยเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์เบนดาซิม
โรคใบจุด เกิดได้ตลอดปี ลักษณะอาการจะแตกต่างกันไป เช่น แวนด้า แผลจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวยตรงกลาง แผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาล เกษตรกรมักเรียกว่าโรคขี้กลาก ในสกุลหวายแผลจะมีจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน เกิดได้ทั้งใบบนและใบล่าง การป้องกันกำจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์เบนดาซิม
โรคสุดท้ายคือ โรคแอนแทรกโนส หรือโรคใบไหม้ พบได้ที่ปลายใบและกลางใบ ลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นวงเรียงซ้อนกันหลายๆ ชั้น และมีกลุ่มของเชื้อราเป็นสีดำเกิดขึ้นบนวง การป้องกันกำจัด คือการรวบรวมใบที่เป็นโรคทิ้ง และฉีดพ่นด้วยไดเทนเอ็ม 45
ไม่เพียงแต่โรคเท่านั้นที่เข้ามารบกวนกล้วยไม้ ยังมีอีก คือแมลงที่ชาวสวนเรียกว่า ไอ้โฮบ และลูกหอยเชอรี่ ก็ใช้ยาฆ่ากำจัดพวกมันออกไป
แสง
แคทลียา ต้องการแสงประมาณ 70% ถึงจะให้ดอกได้ดี การที่แขวนไว้ชายคาจะได้แสงไม่เพียงพอ คืดยังไงก็ได้แค่ครึ่งวันเท่านั้น แต่ก็ยังพอที่จะให้ดอกได้
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดด้วย บางตัว 1 ปีให้ดอกแค่ครั้งเดียว บางตัวได้ถึง 3-4 ครั้งต่อปี
การให้ปุ๋ย
กล้วยไม้ ต้องให้ปุ๋ยครบทุกตัว เพราะกล้วยไม้เป็นรากอากาศ แต่ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ จะมีสูตรปุ๋ยหลักๆก็คือ N-P-K
สูตรต่างๆที่มีตามท้องตลาด
สูตรตัวหน้าสูง ใช้กับกล้วยไม้ขนาดเล็ก ช่วยบำรุงต้น ให้ต้นโตเร็ว เช่นสูตร 30-20-10
สูตรตัวกลางสูง ช่วยสะสมตาดอก เร่งดอก เช่นสูตร 10-52-17
สูตรตัวหลังสูง ช่วยเรื่องความสมบูรณ์ของดอก และช่วยให้พืชแข็งแรง
สูตรเสมอ เช่น 20-20-20
และอาหารเสริมต่างๆ ที่เป็นธาตุอาหารรอง
การให้ปุ๋ยแต่ละตัวต้องดูจังหวะ เช่น เมื่อกล้วยไม้หมดดอก จะต้องเลี้ยงหน่อใหม่ก็ให้สูตรตัวหน้าสูงเป็นหลัก แถมด้วยสูตรตัวกลางสูง อย่างเช่นให้ปุ๋ยสูตร ตัวหน้าสูง 2 ครั้ง และให้ตัวกลางสูง 1 ครั้ง
เมื่อกล้วยไม้แทงหน่อตั้งลำมาได้ระยะหนึ่งก็ให้สูตรตัวกลางสูงเป็นหลัก เพื่อให้สะสมตาดอก
เมื่อกล้วยไม้เริ่มจะแทงซองดอก (แคท) ก็ให้สูตรตัวหลังสูง
เมื่อกล้วยไม้เริ่มแทงดอกก็หยุดให้ปุ๋ยได้เลย และอาหารเสริมก็ควรให้ไปเรื่อยๆ ตลอดระยะการเลี้ยงการให้ปุ๋ย โดยปกติ ให้กัน อาทิตย์ละครั้ง แต่ผมมันไม่ปกติให้ ทุกวันเลย
อัตราส่วนที่ใช้ๆกันก็คือ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร ให้ ทุกๆ 7 วัน
ที่ให้ก็คือ 1/4 ช้อนชา ต่อน้ำ 3 ลิตร ให้ทุกวัน คือให้ไปกับน้ำที่รด
โพคอน ของฮอลแลนด์ ทวินเฟอร์ตี้ ของ US ที่ลองใช้ โพคอนดีกว่า เลือกสูตรเอาเอง สำหรับโพคอน มีไว้ 2 กระป๋อง คือ สูตรเสมอ NPK เท่ากันหมด และสูตรเร่งดอก P k สูงกว่า N ที่สำคัญคือแสงแดด ถ้าน้อยไม่ออกดอก สังเกตุว่าที่ลำต้นมีอาการ ลำอ่อนด้วยเหลือไม่ ถ้าลำอ่อนแสดงว่าแดดน้อยไป
วันที่ 20 ธ.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,233 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,959 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,356 ครั้ง เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 57,221 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,256 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,211 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,879 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,468 ครั้ง |
|
|