Advertisement
❝
❞
หลังจากการนำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545ซึ่งถือเป็นแม่บทของการปฏิรูปการศึกษามาใช้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียนและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่ามีการปรับโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาทั้งยุบรวมและมีหน่วยงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก มีการปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปครู ใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่การศึกษาไทยยังไม่ได้เปลี่ยนไปได้ตามฝัน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
อุปสรรคสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินมา 10 ปี คือ ทำอย่างไรจึงจะปรับเปลี่ยนครู ซึ่งมีอยู่กว่า 600,000 คนทั่วประเทศให้ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
ครูเป็นหัวใจของการพัฒนาการศึกษา แม้ในยุคใหม่ที่มีคอมพิวเตอร์ มีระบบสารสนเทศและสื่อการสอนใหม่ ๆ ที่ช่วยครูทำงานได้ดีกว่า ผู้เรียนมีช่องทางการเรียนรู้ที่กว้างขวางและเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า สื่อจะมาทดแทนครูได้ ครูยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
แม้ในโลกยุคใหม่นักเรียนจะต้องมีขีดความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลความรู้ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล มีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากครูที่เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาไม่ได้พัฒนาตนเองและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติในการจัดการเรียนสอนและการบูรณาการการเรียนการสอนให้เข้ากับบริบทใหม่ของสังคมที่เปลี่ยนไป
ครูต้องเปลี่ยนวัฒนธรรม วิธีคิด ปรับกระบวนทัศน์ สร้างสรรค์ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนต่อเนื่องตลอดชีวิตเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนซึ่งเป็นปัจเจกบุคคล มุ่งให้ประสิทธิผลสอดคล้องกับทิศทางการเจริญเติบโตของท้องถิ่น
ครูต้องเป็นนักบูรณาการ รู้จักกลั่นกรองวัฒนธรรมใหม่และประยุกต์เข้ากับพื้นภูมิปัญญาท้องถิ่น หล่อหลอมความหลากหลายวัฒนธรรม บ่มเพาะคุณภาพผู้เรียน มุ่งสนองความต้องการและสร้างความมั่นคงในชุมชน
ครูต้องจัดการเรียนการสอนทันสมัย เรียนรู้แบบแสวงหา และมีการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูยุคใหม่นอกจากต้องมีความรู้ในเนื้อหาเป็นอย่างดี ต้องมีความสามารถในการใช้สื่อการสอนแบบใหม่ได้เกิดประสิทธิภาพ
ครูต้องมีวิธีการสอนที่เปลี่ยนไป โดยเป็นผู้ชี้แนะการเรียน มากกว่าผู้บรรยาย ยืนหน้าชั้นสอนอย่างที่ผ่านมา
ในทศวรรษใหม่ของการปฏิรูปการศึกษา ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาครู
ทั้งกระบวนการ ทำอย่างไรจึงจะสรรหาและดึงดูดคนดีคนเก่งมาสู่ระบบการศึกษา กลไกพัฒนาครูให้ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนาขีดความสามารถและเทคนิควิธีการสอนอย่างกระตือรือร้น
การปฏิรูปครูเพื่อสนองต่อเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 จึงต้องมีทั้งการเสริมสร้างขวัญกำลังใจโดยเฉพาะมีครูจำนวนไม่น้อยที่ได้ทุ่มเทให้สิ่งดีๆ ต่อการศึกษาอย่างหมดใจและทั้งชีวิต ครูเหล่านี้ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอ อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี
ทำอย่างจึงจะมีกระบวนการพัฒนาอาชีพครูอย่างเข้าใจ มีความเป็นธรรม เป็นระบบใช้กระบวนการที่ตั้งบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจ ใช้สิ่งดีที่มีอยู่ รู้จักแยกแยะ ทำด้วยความมีเมตตา มีความเป็นธรรม และการดึงสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
ขณะเดียวกันควรมีกระบวนการปล่อยถ่ายครูหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับงานออกจากระบบ ซึ่งต้องยอมรับว่าในระบบราชการได้เก็บคนไม่มีประสิทธิภาพไว้เป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นตัวถ่วงสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา
จึงถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะทบทวนการใช้วิทยฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อส่งเสริมให้ครูดีโดยเนื้อหาสาระ มากกว่าการติดยึดในรูปแบบเอกสาร กระบวนการพิจารณาซึ่งมีคำตอบเพียงกระดาษ ไม่ใช่ตัวตนของคุณภาพครูอย่างแท้จริง
วันที่ 20 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,310 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,216 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 61,853 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,400 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,649 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,829 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,265 ครั้ง |
|
|