Advertisement
การปฏิรูปการศึกษาได้ถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยที่ทุกคนในชาติต้องร่วมกัน
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ทุกคนต้องรู้และเข้าใจเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อน นั่นคือ ต้องปฏิรูปเพื่อพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ หมายถึง ต้องมีความรู้ มีความสามารถ เป็นคนดีของชุมชน (เก่ง ดี มีสุข) เป็นพลเมือง ที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพลโลกที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมปรับตัวเข้ากับสถานการของโลกที่เปลี่ยนแปลง
ในปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาครัฐ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการที่นักเรียนยังต้องเรียนพิเศษ ผู้ปกครองต้องการให้ลูกเข้าเรียนโรงเรียนดีๆ ที่มีชื่อเสียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเอกชนแม้ค่าใช้จ่ายจะสูงก็ตาม จะเห็นได้จากตอนเช้าจะมีรถมารับนักเรียนที่บ้านไปโรงเรียนในที่ไกล ๆ ผ่านหน้าโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ไปอย่างเฉย ๆ ผู้บริหาร และครูที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน ต้องวิเคราะห์ร่วมกันว่าทำไม โรงเรียนของเราจึงไม่เป็นที่นิยมของผู้ปกครอง จะต้องมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ปกครองไม่ต้องรับภาระในการส่งบุตรหลานไปเรียนที่อื่น ปัญหาอาจจะมาจากผู้บริหารสถานศึกษาไม่สามารถบริหารจัดการศึกษาในส่วนที่ตนต้องรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ครูยังต้องได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถอีกมาก ภาคประชาชนไม่มีความเข้มแข็ง ไม่รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนทำให้ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในความรับผิดชอบต่อการบริหาร จัดการศึกษาในชุมชนของตนเอง
การปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้ ภาครัฐต้องมุ่งเน้นการปฏิรูปใน 4 ด้าน คือ
1) ปฏิรูปด้านสถานศึกษา
2) ปฏิรูปครู
3) ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน
4) ปฏิรูประบบการบริหารการจัดการศึกษา
ซึ่งการที่จะปฏิรูปทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าวนั้น ต้องอาศัยการบริหารจัดการศึกษาที่เน้นการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีอิสระในการบริหารจัดการตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM) ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานและความเข้มแข็ง
ให้กับสถานศึกษา ได้อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้มุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการศึกษาโดยสถานศึกษา กระจายอำนาจการตัดสินใจไปให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดการศึกษา ทำให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และบริหารทั่วไป พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในรูปคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนครู และผู้แทนชุมชน
จากหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งได้นำมาใช้ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ของการปฏิรูปการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำพาอนาคตของการศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา ในฐานะที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จึงต้องมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการปฏิรูปการศึกษา และได้นำกระบวนการในการบริหาร 7 ประการ (POSDCoRB) ของ Gulick และ Urwick มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ดังนี้
1. การวางแผน (Planning) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถวางแผนและกำหนดเป้าหมายของการศึกษา / ผลผลิตทางการศึกษา ซึ่งเป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายของระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยเน้นคุณภาพผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมทั้ง ต้องมีการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการนำระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันตัดสินใจดำเนินงาน
2. การจัดองค์การ (Organization) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างแบบของการพัฒนาองค์การในโรงเรียนขึ้นเอง โดยต้องมุ่งพัฒนาทั้งองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
3. การจัดกำลังคน (Staffing) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีเทคนิคในการบริหารจัดการบุคลากรและการใช้ทรัพยากรบุคคล และรู้จักระดมทรัพยากรทางการศึกษาภายนอก เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น มาร่วมกันจัดการศึกษาอย่างชาญฉลาด เน้นการทำงานเป็นทีม ให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน มีการพัฒนาศักยภาพของครูอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการให้รางวัลกับผู้ที่มีผลงาน เสริมสร้างระบบคุณธรรม เพื่อเสริมแรงจูงใจให้สมาชิกองค์กรได้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
4. การอำนวยการ (Directing) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีคุณลักษณะของผู้นำทางวิชาการอย่างแท้จริง สามารถให้ความช่วยเหลือทางวิชาการได้ นิเทศได้ และเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถจูงใจให้ครูทุกคนอยากทำงานและมุ่งไปที่ความสำเร็จของงาน มีเทคนิคการบริหารที่ทันสมัย ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็น
ของทุกคน ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมมากที่สุด ในทุกกิจกรรม
5. การประสานงาน (Co-ordinating) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้ประสานงานที่ดี สามารถสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ มียุทธศาสตร์การสร้างเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน เครือข่ายศิษย์เก่า ให้เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการศึกษา สนับสนุนโรงเรียน และเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพของสถานศึกษาร่วมกัน
6. การรายงาน (Reporting) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรายงานผลการปฏิบัติการบริหารการศึกษาให้แก่ผู้บังคับบัญชา และเผยแพร่ผลของการดำเนินการต่อสาธารณะ ซึ่งอาจแสดงในรูปของการประกันคุณภาพการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
7. การงบประมาณ (Budgeting) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการจัดการงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งต้องมีความสามารถในการระดมทรัพยากรจากภายนอกสถานศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา
จากบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า นั่นคือ คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในการบริหารสถานศึกษา หากผู้บริหารสถานศึกษาทุกท่าน สามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับตนเองได้ อนาคตการศึกษาไทยคงจะก้าวไปสู่เป้าหมายได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน
วันที่ 20 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,243 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 63,163 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,953 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,016 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,604 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,366 ครั้ง |
|
|