ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ตาเหล่! ใครว่ารักษาไม่ได้


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,411 ครั้ง
ตาเหล่! ใครว่ารักษาไม่ได้

Advertisement

 

ตาเหล่สำหรับคนทั่วไป อาจคิดว่าเป็นโรคที่รักษายาก แต่สำหรับจักษุแพทย์แล้วมีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยตาเหล่อยู่หลายวิธี

โรคตาเหล่เป็นภาวะที่ตาสองข้างไม่อยู่ในแนวแกนเดียวกัน เป็นผลให้ไม่สามารถมองวัตถุเดียวกันพร้อมกันด้วยตาทั้งสองข้าง โดยทั่วไปผู้ป่วยจะใช้ตาข้างที่ปกติจ้องวัตถุ ส่วนตาข้างที่เหล่อาจเบนเข้าด้านใน หรือเบนออกด้านนอก หรือขึ้นบนลงล่าง ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นตาเหล่ประเภทใด ผู้ป่วยบางรายอาจมีตาเหล่สลับ หมายถึงในบางเวลาผู้ป่วยจะใช้ตาขวามองวัตถุส่วนตาซ้ายจะเหล่หรือกลับกัน และในบางรายอาจตาเหล่ตลอดเวลา (constant) หรือเป็นครั้งคราว (intermittent) ก็มี

เมื่อเริ่มเป็นโรคนี้ สำหรับเด็กอาจแสดงอาการหยีตาบ่อย โดยเฉพาะเวลาอยู่ในที่มีแสงจ้า การหยีตาข้างหนึ่งช่วยให้การมองเห็นภาพซ้อนหายไป ผู้ป่วยโรคตาเหล่บางประเภทอาจมีอาการปวดศีรษะเวลาใช้สายตามองใกล้เป็นเวลานาน เนื่องจากมีการเกร็งกล้ามเนื้อลูกตาเพื่อแก้ไขภาวะตาเหล่

จากการศึกษาพบว่า

ประมาณร้อยละ 5 ของเด็กทั้งหมด จะตรวจพบโรคตาเหล่ซึ่งอาจเป็นน้อยหรือมาก และเป็นประเภทต่างๆ กันไป ในระยะแรกเด็กอาจมองเห็นภาพซ้อน
เนื่องจากตาสองข้างมองไปยังจุดที่ต่างกัน แต่ในระยะต่อมาสมองจะปรับตัวโดยไม่สนใจภาพที่เห็นจากตาข้างหนึ่ง (suppression) ช่วยให้ภาวะเห็นภาพซ้อนหายไปได้

สาเหตุสำคัญของโรคตาเหล่ ในเด็กมักไม่ทราบสาเหตุ และมากกว่าครึ่งหนึ่งจะตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 6 เดือน ผู้ป่วยบางราย เมื่อซักถามถึงประวัติครอบครัว พบว่ามีผู้เป็นโรคตาเหล่ อยู่ แสดงถึงโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
ในกรณีที่สมองไม่สนใจภาพที่เห็นจากตาข้างที่เหล่เป็นระยะเวลานานๆ อีกทั้งไม่ได้รับการรักษาภายในช่วงอายุที่เหมาะสม เด็กอาจเกิดภาวะสายตาขี้เกียจ (amblyopia) ซึ่งเป็นผลให้ตาข้างที่ไม่ได้ใช้งานมองภาพไม่ชัดอย่างถาวร

สำหรับโรคตาเหล่ในผู้ใหญ่อาจเกิดจากอุบัติเหตุทางตาและสมอง หรือเกิดจากโรคเบาหวานทำให้มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลูกตาลดลง เป็นผลให้กล้ามเนื้อลูกตาเป็นอัมพาตและตาเหล่ตามมา ไม่ว่าจะสูญเสียสายตาข้างหนึ่งจากสาเหตุใดก็ตาม มักพบว่าตาข้างนั้นค่อยๆ เหล่ออกด้านนอก ผู้ป่วยอาจมีอาการเห็นภาพซ้อนเวลามองด้วยตาสองข้าง เมื่อปิดตาข้างหนึ่งภาพซ้อนจะหายไป สำหรับภาวะสายตาขี้เกียจจะไม่พบในผู้ซึ่งภาวะตาเหล่เริ่มภายหลังอายุ 9 ปี เนื่องจากสมองได้พัฒนาการมองเห็นจนสมบูรณ์แล้ว

แนวทางการรักษา

ก่อนจะให้การรักษาโรคตาเหล่ ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจตาโดยละเอียดรวมถึงการตรวจจอตา เพื่อหาความผิดปกติภายในลูกตาซึ่งอาจเป็นสาเหตุของตาเหล่ และให้การรักษาตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งจอตา (retinoblastoma) ตาข้างที่เป็นโรคอาจมีระดับสายตาลดลงมากเนื่องจากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่บังจุดภาพชัด (macula) เป็นผลให้เกิดภาวะตาเหล่ตามมา ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ชักช้า เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายออกไปนอกลูกตา

การรักษาโรคตาเหล่ในเด็กควรกระทำตั้งแต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
 
คือเด็กมีระดับสายตาปกติทั้งสองตาและสามารถมองเห็นภาพสามมิติได้ แนวทางการรักษาโรคตาเหล่ในเด็กประกอบด้วยการรักษาภาวะสายตาขี้เกียจ โดยการปิดตาข้างที่สายตาดี เพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ตาข้างที่มีสายตาขี้เกียจบ่อยขึ้น ระยะเวลาในการปิดตาขึ้นกับความรุนแรงของภาวะสายตาขี้เกียจและอายุของเด็ก หากเป็นเด็กเล็กการปิดตาข้างที่ดีในแต่ละวันไม่ควรปิดติดต่อกันนานหลายชั่วโมง เพราะอาจทำให้ระดับสายตาข้างที่เคยปกติลดลง เรียกภาวะนี้ว่า occlusion amblyopia เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่มักไม่ให้ความร่วมมือในการปิดตาข้างที่ดี การรักษาจึงต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองและครู โดยต้องเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการรักษาภาวะสายตาขี้เกียจในระยะที่เหมาะสม ในกรณีที่ไม่สามารถปิดตาได้แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาหยอดขยายรูม่านตาในตาข้างที่ปกติเพื่อทำให้ตานั้นมัวลง ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยหันมาใช้ตาข้างที่มีสายตาขี้เกียจบ่อยขึ้น สำหรับการให้แว่นสายตาหรือการฝึกกล้ามเนื้อลูกตาอาจช่วยรักษาโรคตาเหล่บางประเภทได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อลูกตา โดยทั่วไปการผ่าตัดจะกระทำภายใต้การให้ยาดมสลบ ในรายที่ยังมีลักษณะตาเหล่เหลืออยู่
แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติม สำหรับการรักษาโรคตาเหล่ในผู้ใหญ่อาจช่วยแก้ไขปัญหาการเห็นภาพซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและมีบุคลิกภาพดีขึ้นได้


ทั้งหมดที่เล่ามานี้ การรักษาตาเหล่จะหายหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย คนในครอบครัว แพทย์ หรือสิ่งแวดล้อม แต่ที่สำคัญต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย


โรงพยาบาลศิริราช

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 7202 วันที่ 20 ธ.ค. 2552


ตาเหล่! ใครว่ารักษาไม่ได้ ตาเหล่!ใครว่ารักษาไม่ได้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

วันเฉลิมพระชนมพรรษา


เปิดอ่าน 6,410 ครั้ง
ชุดการสอน

ชุดการสอน


เปิดอ่าน 6,522 ครั้ง
มิตรภาพหมาหมา

มิตรภาพหมาหมา


เปิดอ่าน 6,413 ครั้ง
บารมี ๑๐ ประการ

บารมี ๑๐ ประการ


เปิดอ่าน 6,515 ครั้ง
ค่าเท่ากัน

ค่าเท่ากัน


เปิดอ่าน 6,403 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

- - - - - ->>> ขอตังค์แม่!!!

- - - - - ->>> ขอตังค์แม่!!!

เปิดอ่าน 6,417 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คัมภีร์อัล ? กุรอาน
คัมภีร์อัล ? กุรอาน
เปิดอ่าน 6,410 ☕ คลิกอ่านเลย

จองที่พัก
จองที่พัก
เปิดอ่าน 6,399 ☕ คลิกอ่านเลย

^-^...ถอดรหัสดาว ปี 2010...^-^(ตรวจดูดวงชะตาปี 2553 ทุกราศี)
^-^...ถอดรหัสดาว ปี 2010...^-^(ตรวจดูดวงชะตาปี 2553 ทุกราศี)
เปิดอ่าน 6,425 ☕ คลิกอ่านเลย

ปณิธานปีใหม่ที่จะทำให้คุณมีความสุข
ปณิธานปีใหม่ที่จะทำให้คุณมีความสุข
เปิดอ่าน 6,406 ☕ คลิกอ่านเลย

  ฝาก .. เพลงรักเพื่อนนักกลอน......อ้อนตามสายลม แทนผ้าห่ม มาห่มใจ...ให้เพื่อนเรา
ฝาก .. เพลงรักเพื่อนนักกลอน......อ้อนตามสายลม แทนผ้าห่ม มาห่มใจ...ให้เพื่อนเรา
เปิดอ่าน 6,420 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีการทำน้ำข้าวกล้องงอก ตอนที่ 2 การเตรียมข้าวกล้อง
วิธีการทำน้ำข้าวกล้องงอก ตอนที่ 2 การเตรียมข้าวกล้อง
เปิดอ่าน 6,418 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีลดลอยแผลขรุขระบนใบหน้า
วิธีลดลอยแผลขรุขระบนใบหน้า
เปิดอ่าน 10,769 ครั้ง

มช.เจ๋งพบสารเซซมิน"งาดำ" รักษามะเร็งครั้งแรกของโลก
มช.เจ๋งพบสารเซซมิน"งาดำ" รักษามะเร็งครั้งแรกของโลก
เปิดอ่าน 92,193 ครั้ง

สัญญาณ WiFi มีอันตรายต่อสมองหรือไม่
สัญญาณ WiFi มีอันตรายต่อสมองหรือไม่
เปิดอ่าน 18,819 ครั้ง

เผยเคล็ดลับ อ่านหนังสือแล้วทำอย่างไร ให้จำได้ดี
เผยเคล็ดลับ อ่านหนังสือแล้วทำอย่างไร ให้จำได้ดี
เปิดอ่าน 25,654 ครั้ง

ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 13 การเตะโทษ
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 13 การเตะโทษ
เปิดอ่าน 53,423 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ