Advertisement
|
หนักถึงขั้นชาปลายมือ แขนขา อ่อนแรงถึงขั้นเดินไม่ได้ โชคดีที่รุดไปหาหมอทันจึงเจอต้นเหตุตัวจริงและได้รับการเยียวยาผ่าตัดรอดพ้นวิกฤตได้อย่างทันท่วงทีหลังไปตรวจพบต้นเหตุที่ รพ.รามคำแหง และต้องเชื่อมกระดูกต้นคอด้วย
คุณศิริ สัจจะสกุลวงศ์ อายุ 44 ปี ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดรักษาอาการเส้นประสาทถูกหมอนรองกระดูกต้นคอแตกกดทับ เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยระบุว่า
ตนเกือบต้องเป็นอัมพาตตลอดชีวิตจากหมอนรองกระดูกต้นคอกดทับเส้นประสาทโดยมีเหตุจากการไปยกของหนักเกินกำลัง โดยเล่าว่า “ผมไปยกท่อน้ำมาครับ ตอนแรกจะรู้สึกว่ามือเริ่มชา ชาตามปลายมือ แล้วจากนั้นก็อ่อนแรงแขนขา จนลุกเดินไม่ได้เลย โชคดีที่รีบไปหาหมอทันเวลาจึงมีโอกาสฟื้นตัวมาเริ่มฝึกเดินแล้วครับ”
ก่อนที่คุณศิริจะถูกส่งเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง ได้ทำการตรวจวินิจฉัยโดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI และพบความผิดปกติโดยหมอนรองกระดูกต้นคอแตกไปกดทับเส้นประสาทถึงขั้นรุนแรงไม่อาจปล่อยไว้ได้
นพ.สุรศักดิ์ อินทชื่น ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง เปิดเผยถึงวิธีการรักษาผู้ป่วยรายนี้ว่า
“เราพบว่าหมอนรองกระดูกต้นคอข้อที่ 3 ที่ 4 แตกมากจนกดทับไขสันหลังแบนเลยนะครับ เพียงแค่ภายในระยะเวลาไม่กี่วันผู้ป่วยก็เกือบเป็นอัมพาตทั้งตัวเลย ซึ่งถือเป็นความเร่งด่วนที่จะต้องรีบทำการผ่าตัดนะครับ ส่วนการรักษาทำได้สองวิธีคือ เอาหมอนรองกระดูกต้นคอส่วนนั้นออกแล้ว ก็ต้องเชื่อมโดยการใช้กระดูกเทียมหรืออาจจะเปลี่ยนหมอนรองกระดูกต้นคอก็ได้ครับ”
หลังผ่านการผ่าตัดประมาณ 5 วัน ผู้ป่วยรายนี้เปิดเผยว่า
“ตอนแรกผมก็ไม่กล้าตัดสินใจที่จะผ่าตัด ยังกังวลอยู่เพราะเห็นเขาบอกว่าผ่าตัดแล้วบางคนถึงกับต้องนอนไปเลย ลุกขึ้นทำอะไรก็ไม่ได้ แต่อย่างของผมหมอนรองกระดูกที่แตกไปกดทับเส้นประสาท จนทำให้เส้นประสาทตรงช่วงนั้นถึงกับซีดไปเลย ซึ่งรุนแรงมาก คุณหมอจึงพิจารณาเลือกวิธีรักษาด้วยการเชื่อมกระดูกต้นคอให้ครับ” คุณศิริ กล่าว
นอกจากนี้ ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง ยังได้กล่าวเสริมถึงวิธีการรักษาว่า
การรักษาด้วยวิธีการเชื่อมกระดูกต้นคอนี้มี 2 วิธีคือ นำกระดูกเชิงกรานจากตัวผู้ป่วยมาใช้แทนหมอนรองกระดูกที่เสียไปหรือการใช้กระดูกเทียมที่เป็นกระดูกสังเคราะห์เข้ามาใส่แทน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวจากการตัดกระดูกเชิงกรานได้ ทั้งนี้วิธีการเชื่อมกระดูกต้นคอผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนไหวต้นคอได้ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนหมอนรองกระดูกต้นคอเทียมได้ ซึ่งจะใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดประมาณ 3-6 สัปดาห์
ในตอนท้าย คุณศิริ เปิดเผยความรู้สึกภายหลังการผ่าตัดพร้อมทั้งฝากคำแนะนำทิ้งท้ายว่า
“ก่อนผ่าตัดจะกำมือไม่ได้ หนังสือก็เขียนไม่ได้ แต่หลังจากผ่าตัดแล้วเพียงวันเดียว มือผมกำได้ ยกได้เรียกว่าดีขึ้นเลยครับ ก็อยากจะแนะนำคนที่อาจมีอาการอย่างผม อย่าไปกลัว อย่าไปวิตกกังวลว่าจะเป็นอะไร มาให้หมอวินิจฉัย ดีกว่าที่จะทิ้งไว้นานๆ แล้วอาจจะเดินไม่ได้เลยก็ได้ครับ”
|
|
|
วันที่ 20 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,409 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 27,612 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,446 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,738 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,881 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,313 ครั้ง |
|
|