Advertisement
ทำอย่างไร "บิลค่าไฟ" ไม่เพิ่ม
ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันมาตื่นตัวเรื่องการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ กันอย่าง เต็มที่ ซะที ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวในยุคค่าไฟแพง ยูนิตละกว่า 2 บาท และทำ ท่าจะมีการปรับราคาสูง กว่านี้ในอีก 4 เดือนข้างหน้า หากมีการปรับ "ค่าเอฟที" หรือต้นทุน อัตโนมัติขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณ เตือนว่า ทุกคนควรจะหันมาระมัดระวังการใช้ไฟฟ้ากัน มากขึ้น เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนนี้ กระทบกับค่าครองชีพจนเกิดความเดือดร้อน
ที่ผ่านมา ในบ้านเรายังไม่มีความตื่นตัวมากนัก ในเรื่องการหาแนวทางปฏิบัติและการใช้ ไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพคนส่วนใหญ่รู้หลักการใช้เครื่องไฟฟ้าเพียงการ "ปิด-เปิด" เท่านั้น แต่ไม่รู้ถึงวิธีการใช้ งานอย่างถูกต้องเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีอายุยืนนาน และที่สำคัญที่สุด คือ สามารถประหยัดไฟได้
กลวิธีในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้ คือ
แสงสว่าง
ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่นิยมเรียกว่าหลอดนีออนแทนหลอดไส้ เนื่องจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ แสงสว่างมากกว่าถึง 4 เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่า 8 เท่า นอกจากนั้น ควรหมั่นทำความสะอาด หลอดไฟและโคมไฟอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ได้แสงสว่างเต็มที่
วิทยุ โทรทัศน์
ปิดสวิทช์ที่เครื่องและถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่มีคนดู เนื่องจากวิทยุ โทรทัศน์ในปัจจุบันมักจะเป็นระบบมี รีโมตคอนโทรล ซึ่งระบบนี้แม้ปิดสวิทช์แล้ว ยังคงมีกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งมาเลี้ยงที่ระบบเครื่องอยู่ตลอด เวลา
ตู้เย็น
ควรเลือกซื้อที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แม้มีราคาสูงขึ้นนิดหน่อย แต่ในระยะยาวแล้วจะคุ้มกว่า เนื่องจากใช้ไฟน้อยกว่าตู้เย็นที่ได้รับฉลากเบอร์ต่ำกว่า นอกจากนี้ ตำแหน่งที่วางตู้เย็นต้องห่างจากผนัง อย่างน้อย 30 ซม. เพื่อให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้สะดวก
ตู้เย็นที่มีการใช้งานต้องตรวจสอบระบบยางขอบตู้อยู่เป็นประจำว่า ระบบแม่เหล็กนั้นยังทำงานสมบูรณ์ หรือไม่ ซึ่งการทดสอบทำได้ง่ายๆ โดยการทำความสะอาดขอบยางตู้เย็นด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้แห้ง หลัง จากนั้นนำแผ่นกระดาษมาสอดระหว่างขอบยางกับขอบตู้เย็นแล้วปิดประตู้เย็น หากกระดาษหล่น หรือ สามารถดึงกระดาษออกได้ง่ายดาย แสดงว่าขอบยางตู้เย็นเสื่อมสภาพ สมควรเปลี่ยนขอบยางใหม่
เครื่องปรับอากาศ
ให้เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 การใช้ไฟของเครื่องปรับอากาศจะไม่เท่า กันในแต่ละวัน แม้ว่าผู้ใช้ไฟฟ้าจะตั้งอุณหภูมิและเปิดใช้เท่าเดิมก็ตาม เช่น ในฤดูร้อน อุณหภูมิภายใน ห้องสูง 34 องศา เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศโดยตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศา จะเห็นว่ามีส่วนต่างของอุณหภูมิอยู่ 9 องศา ขณะที่ฤดูฝนหรือฤดูหนาวอุณหภูมิภายในห้องอยู่ที่ 27 องศา เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศโดยตั้ง อุณหภูมิที่ 25 องศา จะมีส่วนต่างของอุณหภูมิแค่ 2 องศา
ประเมินแล้ว อุณหภูมิ 1 องศาที่เปลี่ยนไป จะใช้ไฟเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% และในฤดูร้อนเครื่องปรับ อากาศจะทำงานเกือบตลอดเวลา ทำให้การใช้ไฟเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีหลายวิธี เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อบังแสงแดดไม่ให้กระทบตัวบ้าน โดยตรง การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาและผนังบ้าน การติดตั้งหลังคาหรือม่านบังแสง การ เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ได้รับฉลากประหยัดไฟ การหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ, หลีก เลี่ยงการตั้งอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา หรือการติดตั้งฉากกั้นชนิดชั่วคราวเพื่อจำกัดพื้นที่ที่ต้องการความ เย็น เช่น ในห้องนอน ติดตั้งฉากกั้นให้ความเย็นเฉพาะบริเวณเตียงนอนเท่านั้น วิธีการเหล่านี้ จะช่วย ลดการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศลงได้
เตาไฟฟ้า
เตาไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาก หากจำเป็นต้องซื้อใช้ ให้เลือกชนิดที่เป็นแผ่นความร้อนมองไม่ เห็นขดลวด เพราะจะสูญเสียความร้อนน้อยกว่า และเวลาใช้งานควรใช้งานอย่างต่อเนื่อง ไม่เปิดๆ ปิดๆ
เครื่องซักผ้า
ไม่ควรซักผ้าน้อยชิ้น ควรรวบรวมผ้าตามน้ำหนักคู่มือที่กำหนดไว้ หากไม่สามารถกำหนดน้ำหนักได้ อาจใช้วิธีประมาณโดยใส่ผ้าเข้าเครื่อง และให้เหลือช่องว่างภายในเครื่องขนาดเท่าฝ่ามือหนุนพลิกได้ และสังเกตว่า ระหว่างซัก หากเครื่องสั่นผิดปกติแสดงว่าน้ำหนักผ้าเกิน เครื่องจะทำงานหนัก และหากไม่ จำเป็นไม่ควรใช้ระบบซักน้ำร้อน
หม้อหุงข้าว กาต้มน้ำร้อน
หม้อหุงข้าว เมื่อข้าวสุกแล้วให้ดึงปลั๊กออก ความร้อนจะยังคงอยู่ได้หลายชั่วโมง ส่วนกาต้มน้ำร้อน เมื่อน้ำ ร้อนเดือดแล้ว ให้ถอดปลั๊กและถ่ายน้ำร้อนใส่กระติกน้ำร้อนโดยเฉพาะจะเก็บความร้อนได้ดีกว่าและ นานกว่า
เครื่องทำน้ำอุ่น
เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด เวลาใช้งาน ควรปรับระดับความร้อนให้พอดี และปิดทันทีเมื่อเลิก ใช้งาน หากสามารถติดตั้งระบบน้ำอุ่นด้วยแสงอาทิตย์จะดีมาก
ข้อมูล: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และการไฟฟ้านครหลวง
วันที่ 19 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,576 ครั้ง |
เปิดอ่าน 80,453 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,193 ครั้ง |
เปิดอ่าน 134,787 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,588 ครั้ง |
|
|