วิชาภาษาไทย
รหัสวิชา ท๓๒๑๐๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
|
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
จำแนกประเภท บอกหลักการเขียนโวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์
|
ใช้เวลา ๑ ชั่วโมง
|
สาระสำคัญ
คำว่า “โวหาร” พจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ “น. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูดถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน.” เช่นอย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร ดังนั้น การใช้โวหาร คือ การแสดงข้อความในทำนองต่าง ๆ เพื่อให้ข้อความนั้นได้เนื้อความ หรือได้ใจความดี มีความหมายชัดเจน เหมาะสม น่าอ่าน
มาตรฐานการเรียนรู้ ท ๔.๑ ข้อ ๕ แต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน และโคลง โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
จำแนกประเภทของโวหารแบบต่าง ๆ บอกหลักการเขียนโวหารและเลือกใช้
คำโวหารเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการแต่งคำประพันธ์
จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง
สามารถจำแนกประเภทของโวหารแบบต่าง ๆ บอกหลักการเขียนโวหาร
และเลือกใช้คำโวหารเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการแต่งคำประพันธ์ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง
๑. จำแนกประเภทของโวหารแบบต่าง ๆ ได้
๒. บอกหลักการเขียนโวหารแบบต่าง ๆได้
คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ต้องการเน้น
คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ต้องการเน้น
|
พฤติกรรมบ่งชี้
|
๑. ความรับผิดชอบ
|
๑. ปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
|
๒. ความซื่อสัตย์
|
๒. ตอบคำถามในบทเรียนด้วยตนเอง ไม่ดูเฉลยก่อนตอบ
|
๓. ใฝ่รู้และสร้างสรรค์
|
๓. มีความกระตือรือร้นในการเรียนบทเรียน
|
สาระการเรียนรู้
๑. ความหมาย ลักษณะของคำสัมผัสคล้องจอง
๒. การจำแนกโวหารแบบต่าง ๆ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
๑. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยขั้นนำเข้าสู่บทเรียน โดยเขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดานดำ ให้นักเรียนอ่านแล้วสนทนากับนักเรียนเรื่อง “โวหาร” ซึ่งคำประพันธ์กาพย์ยานี ๑๑ ที่ยกมานั้นเป็น “อุปมาโวหาร”
“วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่แดนไกล
ต้องยากลำบากไป จึงจะได้สินค้ามา
จงตั้งเอากายเจ้า เป็นสำเภาอันโสภา
ความเพียรเป็นโยธา แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
นิ้วเป็นสายระยาง สองเท้าต่างสมอใหญ่
ปากเป็นนายงานไป อัชฌาศัยคือเสบียง”
แล้วสนทนากับนักเรียนเรื่อง “โวหาร” ซึ่งคำประพันธ์กาพย์ยานี ๑๑ ที่ยกมานั้นเป็น “อุปมาโวหาร”
๒. ครูสรุปให้นักเรียนเข้าใจตรงกันว่า โวหารใช้ในภาษาไทยเราได้ทั้งในเรื่อง
การพูดและการเขียน ในคำประพันธ์ที่แต่งทุกชนิดก็แฝงไว้ด้วยโวหารชนิดต่าง ๆเช่นเดียวกัน
๓. แจกหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดแต่งคำประพันธ์สุขสันต์หรรษา เล่ม ๒ เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์ให้นักเรียนศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง/นำทาง เพื่อทราบแนวทาง ในการเรียน
๔.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์จำนวน ๑๐ ข้อในหนังสืออ่านเพิ่มเติม
ขั้นดำเนินการสอน
๑. ครูแนะนำให้นักเรียนรับทราบขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม
ให้เข้าใจตรงกัน แล้วให้นักเรียนศึกษาคำแนะนำในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนด้วยตนเอง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อความสำเร็จในการเรียน
๒. นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม เล่ม ๒ ชุดแต่งคำประพันธ์
สุขสันต์หรรษา เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์ และเนื้อหาสาระเกี่ยวกับโวหารการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ตามเนื้อหาที่กำหนดไว้ ขณะนักเรียนศึกษา ครูเดินและสังเกตการศึกษาบทเรียน สังเกตคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน
ในเรื่อง ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความกระตือรือร้นในการเรียน
พร้อมให้คำแนะนำเมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยอยากสอบถามเพิ่มเติม
๓. นักเรียนเขียนอธิบายลักษณะของโวหารชนิดต่าง ๆเพิ่มเติม จากการศึกษา
เนื้อหาในบัตรเสริมความรู้ที่ ๑ – ๕ จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม เล่ม ๒
ชุดแต่งคำประพันธ์สุขสันต์หรรษา เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์
ขั้นสรุป
๑. นักเรียนเขียนอธิบายสรุปบอกลักษณะของโวหารชนิดต่าง ๆ จากการศึกษา
หนังสืออ่านเพิ่มเติม เล่ม ๒ ชุด โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์ เมื่อทำเสร็จ
ให้ทำแบบฝึกเสริมทักษะที่ ๑ ให้ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลยแบบฝึกเสริมทักษะ บันทึก
คะแนนเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการเรียน
๒. ครูสรุปสาระสำคัญเรื่อง ลักษณะของโวหารและหลักการเขียนโวหาร
เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนที่ต้องการทราบเพิ่มเติม
๓. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบและประเมินผลงานของนักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. บทร้อยกรองกาพย์ยานี ๑๑ แบบอุปมาโวหาร จำนวน ๓ บท
๒. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เล่ม ๒ ชุดแต่งคำประพันธ์สุขสันต์หรรษา
เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์
การวัดผลประเมินผล
สิ่งที่จะวัด
๑. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง/นำทาง
๒. คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ต้องการเน้น
วิธีการวัด
๑. แบบฝึกเสริมทักษะที่ ๑ จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม เล่ม ๒
เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์
๒. ประเมิน คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ต้องการเน้น ในเรื่อง ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์ และใฝ่รู้ สร้างสรรค์
เครื่องมือวัด
๑. แบบทดสอบก่อนเรียน และแบบฝึกเสริมทักษะที่ ๑ จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม
เล่ม ๒ ชุดแต่งคำประพันธ์สุขสันต์หรรษา เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์
๒. แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ต้องการเน้น
เกณฑ์การวัดผล
นักเรียนได้คะแนนจากแบบฝึกเสริมทักษะที่ ๑ จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม เล่ม ๑ เรื่อง โวหารพื้นฐานการแต่งคำประพันธ์ ดังนี้
ข้อถูกให้ ๑ คะแนน ข้อผิด ให้ ๐ คะแนน
๒. นักเรียนได้คะแนนคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ต้องการเน้น ดังนี้
ดีมาก ให้ ๙-๑๐ คะแนน
ดี ให้ ๗-๘ คะแนน
พอใช้ ให้ ๕-๖ คะแนน
ปรับปรุง ให้ ๐-๔ คะแนน
เกณฑ์การประเมินผล
๑. นักเรียนได้คะแนนจากการทำแบบฝึกเสริมทักษะที่ ๑ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๗๐
๒. นักเรียนได้คะแนนจากการประเมินคุณธรรม จริยธรรม ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ ๘๐