Advertisement
11 สุดยอดอุกกาบาตถล่มโลกกันค่ะ....อยู่ที่ไหนบ้าง ตามไปดูกัน
อันดับ 11
เริ่มกันด้วยอันดับ 11 ที่ต้องเอามารวมด้วยเพราะว่าเป็นหลุมที่เรารู้จักกันมากที่สุดนั่นเอง ถ้าไม่รวมหลุมนี้ก็กระไรอยู่ แล้วอันดับของมันก็จัดว่าเป็นอันดับที่ 11 พอดีครับ แห่ะๆ หลุมที่ว่านี้ก็คือ Barringer Creter, Arizona, US นี่เอง สำหรับหลุมนี้ เกิดเกิดเมื่อ 49,000 ปีที่แล้ว จาก อุกกาบาต nikel-iron ขนาด 150 ft นำหนักประมาณ 1000 ตัน (บ้างก็ประมาณว่า 300,000 ตัน) พุ่งด้วยความเร็ว 40,000 ไมล์ต่อชั่วโมง แรงกระแทก ทำให้เกิดหลุมกว้าง 1.2 กิโลเมตร ลึก 175 เมตร ว่ากันว่า แรงระเบิดของมันนั้น เทียบเท่ากับระเบิด TNT 20 ล้านตันเลยทีเดียว แรงระเบิดนั้นส่งผลกระทบให้พื้นที่โดยรอบ 55 กิโลเมตร ได้รับความเสียหายทันที
หลุมที่ 10 Bosumtwi, Ghana
Reduced: 80% of original size [ 640 x 413 ] - Click to view full image
ประมาณ 30 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ Kumasi, Ghana มีหลุมอุกาบาต ขนาด 10.5 กิโลเมตรอยู่ หลุมนี้เกิดเมื่อประมาณ 1.3 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบัน หลุมนี้กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยป่าฝ่น ถ้าไม่ได้ภาพทางอากาศ ก็ไม่รู้ว่าเป็นหลุมอุกกาบาตเลยนะ อาจจะนึกว่าเป็นบึงน้ำไปซะ
หลุมที่ 9 Deep Bay, Canada
หลุมขนาด 13 km หลุมนี้ เกิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคนาดา หลุมนี้ น่าทึ่งเนื่องจากว่า เป็นหลุมที่ไม่กลมเหมือนหลุมทั่วไป อีกทั้งยังมีขนาดไม่ลึกมากนักอีกด้วย คาดการกันว่า หลุมนี้ น่าจะเกิดเมื่อ 100-140 ล้านปีก่อน
หลุมที่ 8 Aorounga impact crater, Chad
หลุมนี้ เกิดที่ ทะเลทรายซาฮาร่า เมื่อประมาณ 2-300 ล้านปีที่แล้ว จากอุกาบาตขนาด 1.6 กิโลเมตร ตัวหลุมเองนั้น ครั้งแรกมีขนาด 17 กิโลเมตร แต่เมื่อเทคโนโลยีสูงขึ้น เรดาร์จากกระสวยอวกาศทำให้ค้นพบว่า ขนาดของมันนั้น มากถึง 36กิโลเมตร (สังเกตุจากรอยแถบหนาๆด้านขวา) ซึ่งสันนิษฐานกันว่า อาจจะเกิดจากการกระแทกครั้งที่สอง (second impact)
หลุมที่ 7 Gosses Bluff, Australia
Reduced: 94% of original size [ 540 x 405 ] - Click to view full image
เมื่อประมาณ 142 ล้านปีมาแล้ว สะเก็ดดาว (บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นดาวหาง) ขนาด 22 กิโลเมตร พุ่งด้ยความเร็ว 40km/sec เข้าชนผิวโลก แรงกระแทกขนาด TNT 22 000 เมกะตัน ทำให้เกิดหลุม กว้างถึง 24km ลึกถึง 5000m ด้วยรูปร่างที่เห็นได้ชัดเจน และขนาดหลุมที่ใหญ่ ทำให้เราๆท่านๆ นึกถึงภาพที่เกิดขึ้นเมื่อ 142 ล้านปีออกกันนะ
หลุมที่ 6 Mistastin Lake, Canada
กลับมาที่แคนาดาอีกแล้ว คราวนี้อยู่ที่ Labrador ครับ หลุมนี้นั้น เกิดจากอุกกาบาตขนาด 28km ตกลงสู่ผิวโลก เมือ 38 ล้านปีที่แล้ว และจากการเลื่อนของผิวน้ำแข็ง ทำให้น้ำเข้าไปยังปากหลุม เกิดเป็นแหล่งน้ำขึ้นมา สันนิษฐานว่า เกาะที่อยู่ตรงกลางนั้น น่าจะเป็นส่วน central uplift ของหลุมนั่นเอง (ความกว้างของหลุมไม่ทราบแน่ชัด แต่สังเกตจากรอยโดยรอบๆแอ่งน้ำ คาดว่าน่าจะกว้างมากทีเดียว)
หลุมที่ 5 Clearwater lakes, Canada
Reduced: 86% of original size [ 595 x 600 ] - Click to view full image
แคนาดาอีกแล้ว รอบนี้เกิดที่เดียวสองหลุมเลย โดยสองหลุมนี้ เกิดพร้อมๆกันเมื่อ 290ล้านปีที่แล้ว ลูกใหญ่นั้น(ไม่บอกว่าขนาดเท่าไร) ทำให้เกิดหลุมกว้างถึง 32 กิโลเมตร และลูกเล็ก ก็ทำให้เกิดหลุมขนาด 22กิโลเมตร ปัจจุบันนั้น สถานที่นี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำเงินของที่นี่เลยทีเดียว เนืองจากจุดเด่นของหลุมนี้คือ ทำให้เกิดเกาะเล็กเกาะน้อย กระจายโดยรอบ และแหล่งน้ำของที่นี้ จัดว่าเป็น clear water อีกด้วย
หลุมที่ 4 Kara-Kul, Tajkistan
Reduced: 99% of original size [ 513 x 599 ] - Click to view full image
ที่ความสูง 3900m เหนือระดับน้ำทะเล มีแอ่งน้ำขนาด 25km ตั้งอยู่ ผู้คนต่างก็ไม่สนใจหรือใส่ใจอะไรจนกระทั่งมีการค้นพบ(เมื่อเร็วๆนี้ จากภาพถ่ายดาวเทียม) ทำให้รู้ว่า นี่คือหลุมอุกกาบาต ขนาด 45 กิโลเมตร สันนิษฐานว่า หลุมนี้เกิดเมื่อ 5 ล้านปีที่แล้ว ขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษา เนื่องจากเป็นหลุมที่พึ่งค้นพบใหม่นั่นเอง
หลุมที่ 3 Manicouagan, Canada
สามอันดับสุดท้ายแล้ว สำหรับอันดับสามนี้ เป็นของแคนาดาอีกแล้ว หลุมนี้ เกิดจากอุกกาบาตขนาด 5km ตกลงเมื่อ 212 ล้านปีที่แล้ว ขนาดอุกกาบาตแค่ 5km เท่านั้น แต่ทำให้เกิดหลุมกว้างถึง 100km ทีเดียว น่ากลัวไม่น้อยเลย( ลูกเล็ก แต่สงสัยความหนาแน่นกับความเร็วน่าจะสูงน่าดู)
อันดับ 2 Chicxulub, Mexico
Reduced: 51% of original size [ 1000 x 453 ] - Click to view full image
เนื่อง จากมันฝังอยู่ภายใต้ผิว ทำให้สังเกตกันยากหน่อย สำหรับหลุมนี้นั้น อยู่ที่ Yucatan Peninsua Mexico นั่นเอง เนื่องจากหลุมนั้นอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน Chicxulub ทำให้ชื่อของมัน กลายเป็นชื่อของหลุมนี้โดยปริยาย หลุมนี้มีขนาดความกว้างถึง 170 กิโลเมตร เกิดเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ด้วยขนาดของอุกกาบาต(บ้างก็ว่าดาวหาง)ขนาดเทากับเมืองเล็กๆ คาดการกันว่าแรงระเบิดของมันนั้น มากถึงระเบิด TNT 100tetratons เลยทีเดียว และแรงกระแทกนั้น ทำให้กันคลืนยักษ์สึนามื แผ่นดินไหว และการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรงทั่วโลก
ผลกระทบจากการก ระแทก ที่ Chicxulub นี่แหล่ะ ที่ทำให้สันนิษฐานว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจาก global firestrom, greenhouse effect และการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมของโลกระยะยาว
อันดับ 1 Vredefort Crater
สุดยอดของเราอยู่ที่แอฟริกาใต้ กับหลุมที่ชื่อว่า Vredefort นั่นเอง หลุมนี้มีอายุมากถึง 2พันล้านปีทีเดียว กับขนาดที่กว้างถึง250km นึกไม่ออกเลยว่าแรงกระแทกจะมากขนาดไหน ผลกระทบทำให้พื้นที่ 500km โดยรอบ เสียหายทันที น่ากลัวไม่น้อย สำหรับข้อมูลของหลุมนี้นั้นมีน้อย น่าจะเพราะอายุที่มากด้วย คิดๆแล้ว โลกของเราวันที่โดนลูกนี้ชน คงน่ากลัวพิลึกนล่ะ ดีนะ ที่เกิดตั้งสองพันล้านปีที่แล้ว
Credit : http://www.huanolive.com/live/index.php?ac...age;topic=409.0
วันที่ 17 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,263 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 55,506 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,332 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,616 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,064 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,688 ครั้ง |
|
|