สมัยก่อนเราอาจจะเล่นเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์ ที่วันๆ ไม่ต้องทำอะไร ดีแต่นั่งจ้องมองมัน (แทนลูกหลานที่เอาไปโรงเรียนไม่ได้) ในโลกความเป็นจริง แต่ทุกวันนี้สัตว์เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์มันกลับเข้าไปอยู่ในหน้าจอสี่เหลี่ยม แล้วเชื้อเชิญให้เรากระโจนเข้าไปเล่นด้วยกันกับมัน มันคือโลกเสมือนที่เกือบเหมือนจะเป็นโลกจริงๆ ของเราแล้ว ก็แล้วแต่ว่า "เรา" จะสร้างตัวเราให้เป็น avatar ตัวอะไร และตัวเราก็ทำหน้าที่กำกับตัวเราในนั้นไป และก็กระโดดกลับออกมาอยู่ในโลกจริงเสีย(บ้าง)
เล่นเกม ได้อะไร ได้คลายเครียด ได้ใช้สมองข้างขวาบ่อยๆ ได้ฝึกเรียนรู้ศัพท์ภาษา ได้เห็นธรรมชาติได้เห็นความสัมพันธ์ของ avatar ในสังคมโลกเสมือน และได้รู้จักสังคมใหม่ๆ ของผู้คนที่หลังไหลมาร่วมเล่น...
กลับมาถามคำถามเดิมๆ ค่ะ ว่า คุณมีวิธีการเรียนรู้โดยหลักสามัญสำนึกอยู่แล้ว และชอบแบบไหนกันบ้างคะ
(ติดตามอ่านบทความตามลิงค์ที่ชื่อเรื่องค่ะ "การเรียนรู้โดยหลักสามัญสำนึก (Common-Sense Learning)" ของ อาจารย์อำนาจ วัดจินดา)
อย่างฉัน ที่ผ่านมาใช้หลักการข้อ 4 บ่อย ปล่อยให้ภาพช่วยเล่าเรื่อง เหมือนได้สร้างสรรค์จินตนาการและบูรณาการความคิดกับรูปภาพ และตัวอักษรเพียงไม่กี่ประโยค แต่ระยะหลังมานี้จะชอบทำในเรื่องการเล่นเกมค่ะ วันหนึ่งๆ ฉันอาจจะผลุบโผล่เข้าออกตามหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเกมสนุกๆ กราฟิกโดนๆ แล้วก็จมจ่อมอยู่ในนั้น
บางคนคิดว่า เสียเวลา ไร้สาระ แต่ฉันว่ามันมีอะไรให้มากมาย ในสิ่งที่เราชอบ ฉันชอบดูภาพสวยๆ งาม ๆ ประหลาดๆ ดูวิธีคิดสร้างเกมและกิจกรรมในเกมของเขา ดูและเล่นตามที่เขาสร้างสรรค์มาให้เล่น อาจจะติดงอมแงมไปบ้าง ก็เหมือนการอยากรู้แพ้แล้วก็อยากรู้ชนะบ้าง และเทคนิค กลวิธีการไปให้ถึงเป้าหมายในเกมนั้น เป็นอย่างไร ก็เก็บกลับมาคิดต่อว่าทำไมล่ะ.
การเล่าเรื่อง (Tell Stories)
การเล่นเกม (Play Games)
การสำรวจและการทดลอง (Explore and Experiment)
การใช้รูปภาพ (Use Picture)
การใช้ผู้ฝึกสอน (Coach)
การเรียนรู้จากผู้อื่น (Learn from others)
การใช้มนุษยสัมพันธ์ (Human relationship
.-ขอบคุณบางตอนของบทความจาก.ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี .....www.aa-hr.com ค่ะ