บทความเรื่อง
การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดย สมปอง จันทคง
ความเป็นมาและความสำคัญ
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องพัฒนาคนและประเทศชาติให้พร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องมีปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งด้านข่าวสารและเทคโนโลยี ด้านบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถและวิทยาการต่าง ๆ ที่ทันสมัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
การศึกษาเป็นกระบวนการสร้างเสริมให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข ดำรงไว้ซึ่งสิ่งที่เหมาะสมดีงาม แม้ประเทศไทยเราจะพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่การพัฒนาที่ผ่านมาก็เป็นไปค่อนข้างช้าไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เป็นผลให้คนไทยในสภาวะปัจจุบันและอนาคตถูกกระแสโลกาภิวัตน์ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำให้คนไทยและสังคมไทยเริ่มตื่นตัวเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงระบบการเตรียมคนเข้าสู่สังคมยุคใหม่เพื่อสร้างเสริมศักยภาพคนของประเทศให้สามารถคิดเป็น ทำเป็น มีทักษะการจัดการ มีคุณธรรม มีค่านิยมที่ดีงาม และรักการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาสมบูรณ์และสมดุลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
การศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาประเทศ เพราะการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนา ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการศึกษาคือการพัฒนากำลังคนให้มีประสิทธิภาพเพราะถือว่าการให้การศึกษาเป็นการพัฒนามนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน ในการพัฒนาประเทศไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากปราศจากแนวทางการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนากำลังคนที่มีประสิทธิภาพแล้วการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ย่อมจะประสบความสำเร็จได้ยาก เพื่อให้คนไทยอยู่ในสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมนานาอารยประเทศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่วนที่ 8 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รัฐจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครอง มีผลทำให้เกิดกฎหมายแม่บททางการศึกษาคือพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2545) ตามนโยบายการศึกษาของรัฐบาล (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552) กล่าวคือ
1. ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับปรุงบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง
2. ส่งเสริมภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบโดยมุ่งเน้นใน
ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรภาคเศรษฐกิจ
3. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม
มีคุณภาพ มีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า
4. จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายแสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กชุมชน
5. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความ
เป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา
6. ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอม
และไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
7. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสาระสนเทศ
เชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
8. เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษา
และในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชนโดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา
นอกจากนี้ นโยบายการปฏิรูปการศึกษารอบสองของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2552-2561) ได้มีข้อเสนอกรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 13-40) สรุปได้ดังนี้
จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนไทยยุคใหม่ โดยการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ด้วยการปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ โดยการสร้างครูยุคใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ มีใจรัก มีคุณธรรม จริยธรรม เข้ามาเป็นครู คณาจารย์ และปรับระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการบริหารและจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและ
แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียรติการทุจริตและต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง สามารถก้าวทันโลก มีสุขภาพกายสุขภาพใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ โดยสรุป คือ เป็นคนเก่ง เป็นคนดี เป็นคนมีความสุข และรักประชาธิปไตย
2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้อำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มี
คุณค่า มีระบบ มีกระบวนการผลิต มีมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ได้คนเก่ง คนดี มีใจรักวิชาชีพครูมาเป็นครู อย่างเพียงพอ และมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพ มีขวัญกำลังใจ อยู่ได้อย่างยั่งยืน
3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีคุณภาพ
4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขต
พื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วน มีระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะทำ
ให้การปฏิรูปการศึกษารอบสองประสบผลสำเร็จได้
ในแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (2552-2559) สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มีความมุ่งเน้น พัฒนาคน พัฒนาครู อาจารย์บุคลากรทางการศึกษา พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม พัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ การมีส่วนร่วม และการเตรียมประเทศให้เดินหน้าไปสู่ความพร้อมในการสร้างประชาคมอาเซียน (http://www.moe.go.th/websm/2009/aug/292.html)
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงต้องได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดคุณธรรมนำความรู้อยู่เป็นสุข ปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยในศิลปะวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศชาติ พัฒนาวิชาชีพข้าราชการครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยพัฒนาด้านต่าง ๆ 4 ปัจจัย คือ
1. มนุษย์
1.1 ต้องมุ่งให้การศึกษาและจัดสรรปัจจัยเกื้อหนุนอื่นเพื่อให้ชีวิตเจริญงอกงาม เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
1.2 มนุษย์เป็นทรัพยากร ซึ่งเป็นทุนหรือปัจจัยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พึงพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีสุขภาพดี ขยัน อดทน รับผิดชอบ มีฝีมือ มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญ พร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่จัดสรรให้เกื้อหนุนและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. สังคม
2.1 จัดระบบสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง การบริหาร ตลอดจนกิจการต่าง ๆ ให้ประสมกลมกลืนสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันบนฐานแห่งความรู้ความเป็นจริง
2.2 จากการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นผลสำเร็จของการพัฒนาสังคม มีชีวิตที่ดีงาม มีอิสรภาพ และสันติสุขที่แท้จริง
2.3 สร้างบรรยากาศแห่งความไม่เบียดเบียน บรรยากาศแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูล พิทักษ์ปกป้องคนที่อยู่ในสถานะต่าง ๆ ซึ่งมีโอกาส มีความสามารถต่างกัน
3. ธรรมชาติ
3.1 มองตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องมีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์คือการทำให้โลกน่าอยู่
3.2 คุ้มครองสังคมให้อยู่ในสันติสุข ธรรมชาติเป็นตัวหล่อเลี้ยง มนุษย์ที่เข้าสู่วิถี การพัฒนาจะได้รับคุณค่าจากธรรมชาติ
4. เทคโนโลยี
4.1 การประดิษฐ์ การผลิต การใช้เทคโนโลยี เพื่อใช้แก้ปัญหาและอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากมาย ต้องเกื้อกูล ไม่ทำลายธรรมชาติ นำของเสียมาผลิตเวียนใช้ประโยชน์ใหม่ วางมาตรการบังคับ ควบคุม ต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงอีกมาก
4.2 สังคมไทยบางสังคมขาดภูมิหลังในการพัฒนาเทคโนโลยี
4.3 เทคโนโลยีเป็นเครื่องขยายวิสัยแห่งอินทรีย์ของมนุษย์ ต้องพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการพัฒนาตนเอง
4.4 เทคโนโลยีเป็นส่วนประดิษฐ์เสกสรรของมนุษย์ เป็นสิ่งแวดล้อมเทียม ต้องใช้อย่างไม่ประมาท
4.5 การใช้เทคโนโลยี มี 2 แบบ คือ แบบสนองตัณหา และเพื่อเกื้อหนุนให้ตนเองมีชีวิตดีงาม สมบูรณ์ มีอิสรภาพ และสันติสุข มนุษย์จึงควรเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ พร้อมพัฒนาความสามารถที่จะใช้ความรู้เพื่อให้โลกดีขึ้น ใช้ความรู้อย่างถูกต้อง อย่างเป็นบัณฑิตชน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพื้นฐานอันสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเป็นเครื่องชี้นำสังคมเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงคือการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ที่จะให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน คุ้มครองสิทธิ สร้างความเสมอภาค และให้โอกาสคนทุกคนได้รับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงกำหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ในการบริหารจัดการศึกษามากขึ้น การกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐและองกรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องรับฟังความเห็นของเอกชนและประชาชน และที่สำคัญ คือ ให้การศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบริหารการศึกษาอย่างมีอิสระอยู่ภายใต้การกำกับติดตาม การประเมินผลและมาตรฐานจากรัฐ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 5 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มุ่งกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษาไปยังสถานศึกษาให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 : 21-22)
กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาและการจัดการศึกษาตามกรอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงได้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 10 (2550-2554) โดยมี การกำหนดแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา และสถาบันอื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐที่จ้องการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานจึงน่าจะเป็นรูปแบบวิธีการที่มี แนวทางตรงเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการศึกษาชาติฉบับปัจจุบัน คือส่งเสริมให้สถานศึกษามีอิสระทั้งในด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และบริหารทั่วไป โดยมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน
การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการสร้างบทบาทภาระหน้าที่ใหม่ให้กับชุมชน โดยมีหลักแนวคิดในการดำเนินการ ดังนี้
1. ชุมชนมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรสถานศึกษา
2. ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ไม่วาจะเป็นผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรูปแบของคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองประจำคณะสี คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองประจำหมู่บ้าน
3. การจัดการศึกษาต้องตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
ผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด
4. โรงเรียนต้องจัดการศึกษาในระบบ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ
ต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม มีการบริการแก่ชุมชน ตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โรงเรียนมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นคณะกรรมการที่ได้มาโดย การสรรหา ที่ชุมชนมีบทบาทหลักมากที่สุด การจัดการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือถูกขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนซึ่งถือว่าทั้งสองฝ่ายมีบทบาทภาระหน้าที่ที่สำคัญยิ่ง หากสามารถพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้ว การศึกษาของชุมชนท้องถิ่นจะเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชนนั้น ๆ ให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อไป
การจัดการศึกษาตามแนวคิดเดิม ๆ มักมองว่าเป็นภาระหน้าที่ของรัฐเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชุมชน ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะได้ ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนดนโยบาย การร่วมวางแผน มีกลไกทางสังคมเข้ามาตรวจสอบคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการะดมทรัพยากร การจัดสรรงบประมาณ ไปยังผู้เรียนให้มากที่สุด
การปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพ จำเป็นต้องปฏิรูปครู บุคลากร นักเรียน หลักสูตรและการเรียนการสอน การจัดทำนโยบายและแผนดำเนินงาน การประเมินผล ระบบข้อมูล สารสนเทศ การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (วันชัย นัยตโมนท และไกร เกษทัน. 2543 : 2-3) ซึ่งการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Community-Based Management : CBM) จึงเป็นแนวคิดใหม่ของการปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9 มาตรา 39 และมาตรา 40 โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด (Plan) ร่วมตัดสินใจ (Decision-Making) ร่วมทำ (Implementation) ร่วมประเมิน (Evaluation) และการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Management) โดยใช้ชุมชนเป็นฐานด้วยการมีส่วนร่วมในการการควบคุม การตัดสินใจ การวางแผน และการปฏิบัติในระดับโรงเรียน
เป้าหมายของการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาแก่ชุมชน เพื่อชุมชน โดยชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่นชุมชนนั้น ๆ ให้เป็นผู้มีความรู้ ทักษะกระบวนการและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครู พ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน และร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาชุมชนของตนเองให้ยั่งยืน โดยมีส่วนร่วมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ประชุมวางแผนในการพัฒนาโรงเรียน
2. ส่งเสริมการระดมทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนา
3. ส่งเสริมวิธีการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน พ่อแม่
ผู้ปกครอง และชุมชน
4. ส่งเสริมภาระหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
การศึกษา
แนวคิดในการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,551 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง