Advertisement
สนเทศน่ารู้ : วันสิทธิมนุษยชน 10 ธันวาคม
|
วันที่ 10 ธันวาคม นอกจากเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทยแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชนของโลกด้วย ซึ่งประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบว่าวันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันสิทธิมนุษยชน ยกเว้นกลุ่มสิทธิมนุษยชนในไทย ซึ่งคงมีการจัดงานภายในของตนเองรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เน้นเรื่องสิทธิและเสรีภาพค่อนข้างมาก และย้ำว่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง โดยไม่คำนึงถึงแหล่งกำเนิด เพศ ศาสนา และมีบทในหมวด 3 ว่าด้วย สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทยถึง 40 มาตรา แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบันได้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนยิ่งกว่าครั้งใด ๆ นอกจากจะมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดูแลอยู่แล้ว ยังมีองค์กรพัฒนาภาคเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายองค์กรทำงานควบคู่กันไป สอดคล้องกับการทำงานของคณะกรรมการว่าด้วย สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชนสององค์กรหลักคือ องค์กรนิรโทษกรรมสากลของอังกฤษและ Human Right Watch ของอเมริกา
สิทธิมนุษยชน(Human Right)นั้น หมายถึง สิทธิในความเป็นมนุษย์ทั่วๆไป อย่างถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมถือว่ามี สิทธิอันติดตัวมาพร้อมกับการที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์อยู่แล้ว อันถือเป็นที่ยอมรักในสากลนานาชาติ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ก็ได้เขียนไว้ในเรื่อง สิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน ในกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ นั่นคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ก็ยังได้บัญญัติถึง หลักสิทธิมนุษยชน ว่าด้วยเรื่องสิทธิและ เสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งบัญญัติถึง สิทธิพื้นฐานของพลเมืองไทย
ความเป็นมาของวันสิทธิมนุษยชน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ตระหนักว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพแลความเจริญก้าวหน้าขึ้นในโลก ดังนั้น จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การโลกที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ และมีมติประกาศให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชน (Human Rights Day)
หลังจากนั้นสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ให้ร่างตราสารสิทธิมนุษยชนขึ้น ๒ ฉบับ โดยให้ใช้ชื่อว่า กติกา (convenant) ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองฉบับหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผ่านการรับรองเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ และวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ตามลำดับ และต่อมาได้มีมติประกาศให้ปี ค.ศ. 1995-2004 เป็นทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนศึกษาของสหประชาชาติ
ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ใช้กันมาในอดีต ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษชนไว้เป็นบางส่วน จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ได้เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เช่น "มาตราที่ ๔ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับ
ความคุ้มครอง" ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑ ที่กล่าวไว้ว่า "มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสรเสรีและเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประ
สิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง" นับได้ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" เพิ่งได้รับการบัญญัตืในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นครั้งแรก ดังนั้น การ
ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังได้บัญญัติองค์กรอิสระ เรียกว่า "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน" เข้าไว้ด้วยในมาตรา ๑๙๙ และ ๒๐๐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีจำนวน ๑๑ คน มาจากการสรรหา อยู่ในวาระ ๖ ปี มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑. ตรวจสอบและรายงานการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
๒. เสนอมาตราการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงาน ต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
๓. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฏหมาย กฏหรือข้อบังคับต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
สหประชาชาติได้แสดงความห่วงใยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะต่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ผู้ไร้ที่อยู่ในประเทศ ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มศาสนา ผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง และสื่อมวลชน ต่อการกระทำทารุณเด็ก การใช้แรงงานเด็ก การเกณฑ์เด็กเป็นทหาร เด็กกำพร้าเด็กเร่ร่อน เด็กข้างถนน โสเภณีเด็ก เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดา การลักลอบค้าอาวุธสงครามขนาดเล็ก กับระเบิด การทำทารุณต่อนักโทษ ความแออัดในเรือนจำ การขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักโทษ
คัดลอก, อ้างอิง
วรนุช อุษณกร.ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก.พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์,๒๕๔๓
http://www.volunteerspirit.org
ข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
สนเทศน่ารู้ ขึ้นด้านบน
|
|
วันที่ 8 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,794 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,801 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,136 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,812 ครั้ง |
เปิดอ่าน 420,520 ครั้ง |
|
|